วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การศึกษาดูงาน USA 2009 (2552)

เจอแผ่น CD บันทึกรูปภาพ The 2nd SEAMEO RIHED-AGB Educational Visit to the USA: Universitty Governance for Members of University Council and University Administratiors 17-26 April 2009 (2552), San Diego and Los Angeles เลยต้องมาจัดเก็บบันทึกเอาไว้เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อไป 

และที่สำคัญคือ หลังจากการศึกษาดูงานแล้ว ได้ทำบันทึกรายงานอธิการบดี ดังนี้ 



ตามที่กระผม ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนูญ ศรีวิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ ในฐานะ กรรมการและเลขานุการสภามหาวิทยาลัยได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมประชุมสัมมนาวิชาการ “The Second SEAMEO-RIHED-AGB Educational Visit to the USA : University Governance for Members of University Council and University Administrators” โดยการประชุมร่วมกับ AGB (the Association of Governing Boards of Universities and Colleges) และศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยใน Los Angeles (Claremont University, California State University) และ San Diego (University of San Diego, University of California San Diego, University of Southern California) ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 17-26  เมษายน 2552 ซึ่งคณะเดินทางประกอบด้วยนายกสภามหาวิทยาลัย (ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รศ.ดร.นรนิติ เศรษฐบุตร ศ.นพ.กระแส ชนะวงศ์ ท่านประจวบ ไชยสาส์น  ศ.ดร.สมชัย ฤชุพันธุ์ รศ.ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์) อธิการบดี (เช่น ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ รศ.ดร.ปราณี สังขะตะวรรธน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น) กรรมการสภามหาวิทยาลัย รองอธิการบดี และ เลขานุการสภามหาวิทยาลัย กระผมใคร่ขออนุญาตสรุปย่อในประเด็นที่อาจจะสามารถนำมาพัฒนามหาวิทยาลัยโดยผ่านการพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้
1.             การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและศิษย์เก่าในการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนามหาวิทยาลัยผ่านการบริจาค ซึ่งโดยส่วนมากมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาจะมีสมาคมศิษย์เก่าที่เข้มแข็ง  โดยในส่วนของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่ก่อตั้งมาเกือบระยะเวลา 20 ปี มีศิษย์เก่าจำนวนประมาณ 6000 คน ควรจะต้องมีการจัดตั้งเป็นสมาคมศิษย์เก่าอย่างเป็นทางการและจัดตั้งมูลนิธิเพื่อให้สามารถระดมทุนเพื่อส่งเสริมทุนการศึกษาให้กับรุ่นน้อง นอกจากนั้น ยังเป็นช่องทางให้รุ่นพี่รุ่นน้องได้สื่อสารกันในการทำงานและการประสานงานเรื่องการได้งานทำ  อีกทั้ง ตัวแทนสมาคมศิษย์เก่าสามารถให้ข้อเสนอแนะแก่มหาวิทยาลัยและสภามหาวิทยาลัยในการพัฒนามหาวิทยาลัยในการต่างๆ เช่น การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาสังคม เป็นต้น   ดังนั้น เห็นควรพิจารณาให้มีจัดตั้งสมาคมศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย โดยสภามหาวิทยาลัยอาจจะรับฟังข้อคิดเห็นของตัวแทนสมาคมศิษย์เก่าปีละ 2 ครั้ง ซึ่งอาจจะผ่านคณะกรรมการส่งเสริมกิจการของมหาวิทยาลัยที่ข้อบังคับกำหนดให้มีกรรมการจากตัวแทนสมาคมศิษย์เก่า
2.             การกำหนดทิศทางของมหาวิทยาลัยผ่านบทบาทของสภามหาวิทยาลัย ซึ่งมีคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายๆ ภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของสภามหาวิทยาลัยในสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยของสหรัฐอเมริกาที่จำเป็นจะต้องพิจารณาจัดหางบประมาณสนับสนุนกิจการของมหาวิทยาลัยเนื่องจากโดยส่วนมากมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาเป็นระบบเอกชนที่สามารถเปิดสอนระดับปริญญาตรี โท และเอก  แต่ University of State ที่จะเปิดสอนในระดับปริญญาตรีและโท โดยสามารถได้รับงบประมาณบางส่วนจากรัฐ  ทั้งนี้ ในส่วนบทบาทนายกสภามหาวิทยาลัยที่ได้จากเอกสาร The board chair’s responsibilities เขียนโดย Richard T. Ingram , the president of AGB (เอกสารแนบ 1) ซึ่งได้สรุป The five primary board chair responsibilities
(1)       Be knowledge about the institution or system in all of its complexity.
(2)       Be the board’s most effective advocate for the organization’s needs and deeds.
(3)       Be clear about, and adhere to, expectations.
(4)       Conduct good board meetings.
(5)       Develop ways to strengthen the board’s effectiveness.
นอกจากนั้น บทบาทของกรรมการสภามหาวิทยาลัย The president emeritus of the Association of American Colleges and Universities (Paula Brownlee) ได้กล่าวเกี่ยวกับ The board’s role in Academic affairs คือ “Board members must take responsibility for understanding the shape of the curriculum, the faculty’s role in teaching, research and creative work, and the expectations of their own particular student body.  จะเห็นว่าบทบาทของกรรมการสภามหาวิทยาลัยมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนามหาวิทาลัย  ซึ่งอาจจะต้องให้ความสำคัญกับการตรวจสอบ ควบคุม ติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทายลัยในทุกๆ ด้าน ดังนั้น มหาวิทยาลัยควรจะต้องจัดเตรียมข้อมูลสารสนเทศด้านต่างๆ ให้เป็นปัจจุบันเพื่อรองรับการตรวจสอบและรับคำแนะนำเพื่อการพัฒนา ตัวอย่างเช่น ด้านการเงิน ถ้าหากมีการรายงานรายรับเหนือรายจ่ายก็อาจจะนำไปสะสมในบางส่วนเพื่อใช้สำหรับกรณีพิเศษหรือฉุกเฉิน ส่วนที่เหลือนำไปพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3.             การสร้างความเข้าใจร่วมกันในข้อมูลข่าวสารทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยที่เกิดจากการกำหนดนโยบายของสภามหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจของนักเรียนและผู้ปกครองในการเลือกศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ภายใต้หัวข้อ Higher Education in a Changed Marketplace” Despite stiff resistance from some, the terms “markets,” “marketing,” and “market forces” are increasingly applied in the decision-making of higher education, particularly as for-profit and other providers vie for enrollments. The host of American Public Media’s “Marketplace” will speak on how higher education has moved in new and sometimes contradictory directions. โดยในส่วนของมหาวิทาลัยอุบลราชธานีเห็นควรให้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่จะมีผลต่อการตัดสินใจในการศึกษาต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เช่น ผลการประเมินจาก สมศ. การได้รางวัลงานวิจัย การได้รางวัลของนักศึกษา เป็นต้น โดยอาจจะมีการเผยแพร่ผ่านวิทยุของมหาวิทยาลัย Website สื่อโทรทัศน์ โดยสื่อโทรทัศน์อาจจะเป็นการดำเนินรายการของมหาวิทยาลัยผ่านช่อง 11 ทุกๆ เดือน โดยมีการคัดเลือกโครงการที่เด่นๆ ของแต่ละคณะ สำนัก หน่วยงาน ทั้งนี้ จะได้เป็นการสื่อสารสองทางระหว่างผู้ปกครอง นักเรียน อาจารย์ กับ มหาวิทยาลัย อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ รวมทั้งสามารถทำให้มีนักเรียนในพื้นที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ตัดสินใจในการเข้าศึกษาต่อ  อันจะทำให้มหาวิทาลัยอุบลราชธานีบรรลุเป้าหมายของแผนการรับนักศึกษา  ดังนั้น เห็นควรพิจารณาให้มีคณะกรรมการดำเนินการในวาระที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจะครบรอบ 20 ปี ในปี พ.ศ. 2553  เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากชุมชนในทุกภาคส่วนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
4.             การกำหนดทิศทางของมหาวิทยาลัยในลักษณะ Green & Clean ซึ่งโดยส่วนมากมหาวิทาลัยใน Los Angeles และ San Diego ได้มีนโยบายให้มหาวิทยาลัย Green & Clean  ดังนั้น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอาจจะต้องมีการกำหนดนโยบายและแผนผังแม่บทด้าน Green & Clean ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ทั้งระดับมหาวิทยาลัย ระดับคณะ ระดับสำนัก และระดับหน่วยงาน เพื่อจะได้สามารถทำให้เป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นทางเลือกสำหรับผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา ที่จะตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในมหาวิทาลัยอุบลราชธานี
5.             การเตรียมการรับมือกับสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยของสหรัฐอเมริกา  โดย The Claremont University, Los Angeles  ได้มีนโยบายในการใช้งบประมาณโดยมีการใช้ทรัพยากรร่วมกันในหลายๆ ด้าน ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยสามารถประหยัดงบประมาณและนำงบประมาณที่ประหยัดได้นั้นไปพัฒนาในส่วนที่จำเป็นที่สุดและเร่งด่วนที่สุด  ดังนั้น ในส่วนของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีควรจะมีการกำหนดนโยบายที่จะรับมือกับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศที่ถดถอย มีอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น อันหมายถึงผู้ปกครองของนักศึกษาจะต้องเผชิญกับภาวะที่จะต้องใช้จ่ายมากขึ้นแต่รายรับลดลง รวมทั้ง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีควรจะมีนโยบายการประหยัดงบประมาณในด้านต่างๆ


จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

                                                      
   (ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนูญ ศรีวิรัตน์)
  รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ
  กรรมการและเลขานุการสภามหาวิทยาลัย























































































































































































































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น