วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เจ้าฟ้าไอที ทรงพระเจริญ

     สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีความสนพระราชหฤทยในด้านวิชาการโดยเฉพาะด้านประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลในอันที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของประชาชน ทรงเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหลายรูปแบบในโครงการพัฒนา เพื่อนำความร่มเย็นเป็นสุขให้เกิดแก่ประชาชนชาวไทย    
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการและการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริมและพัฒนาคุณภาพ และศักยภาพของเด็กไทยในชนบท เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เพื่อการเรียนรู้ และการประกอบอาชีพ ทรงมีพระราชดำริ ที่จะให้งานทั้งหลายที่เกิดในโครงการนี้เป็นงานนำร่อง เพื่อให้เป็นตัวอย่างในการ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการศึกษาของนักเรียนในชนบท ส่งเสริมสมรรถภาพของผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสในสังคม รวมทั้งการเผยแพร่วัฒนธรรมของไทยแก่ชาวไทยและชาวโลก   
      โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับในด้านการศึกษาทรงบรรยายหัวข้อ แนวโน้มการจัดการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้ในทศวรรษหน้า ในการสัมมนาวิชาการ เรื่อง เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ในทศวรรษหน้า ณ โรงแรม บีพี สมิหลา สงขลา เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๒ โดยมีความตอนหนึ่งว่า ความรู้ทาง internet ครูจึงน่าจะไปตรวจดูก่อนว่า เรื่องที่จะกำหนดในแผนให้พูดในชั้นเรียนนั้นจะมี websites อะไรบ้างที่จะส่งเสริมการสนทนาในชั่วโมงนั้น ต้องตั้งข้อสังเกตได้ว่า  websites นั้นเป็นอย่างไร เพราะในเรื่องเดียวกันจะมีหลาย websites จะมีข้อเด่นข้อด้อยต่างกันออกไป  

>>>>>>>>> เจ้าฟ้าไอที <<<<<<<<<
เจ้าฟ้าสิรินธร กราบอวยพรเทิดพระเกียรติ
พระองค์ทรงละเอียด รายละเอียดการทรงงาน

เจ้าฟ้าเทพรัตน์ ทรงเจนจัดวิชาการ
ทุกด้านทรงเชี่ยวชาญ เกิดผลงานแก่ชาวไทย

เจ้าฟ้าทรงงานหนัก ไม่เคยพักเพื่อคนไทย
ทรงทำนำสิ่งใหม่ ให้คนไทยได้สิ่งดี

เจ้าฟ้าผู้สูงศักดิ์ ร่วมใจภักดิ์ในความดี
เจ้าฟ้าด้านไอที ขอภักดีเทิดทูนเอย

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๗









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น