อนาคตอุบลราชธานีในศตวรรษที่
3
(ปัจจุบัน- พ.ศ.2635)
จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่มีความพิเศษในหลายๆ
ด้าน กล่าวคือ
เป็นจังหวัดที่พระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในสยาม
เป็นจังหวัดชายแดนที่มีพื้นที่ติดต่อกับต่างประเทศ 2 ประเทศ คือ
สปป.ลาว และ กัมพูชา
เป็นจังหวัดที่มีแม่น้ำ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และ
แม่น้ำโขง
เป็นจังหวัดที่มีพระอริยสงฆ์จำนวนมาก เช่น พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันทโท)
หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ชา สุภัทโท เป็นต้น
เป็นจังหวัดที่มีคำว่า “ราชธานี” แห่งเดียวในประเทศไทย
เป็นจังหวัดที่มี ...
จากข้อมูลการสำมะโนประชากรเมื่อ
พ.ศ. 2553 จังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวนประชากร 1,746,793 [1] โดยที่ในปี
พ.ศ.2555 เป็นปีเนื่องในโอกาส 220 ปีแห่งการสถาปนาจังหวัดอุบลราชธานีได้มีการจัดทำ
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “อนาคต ... อุบลราชธานี” [2] และจัดทำเอกสารหนังสือ
“อุบลศึกษา” [3] เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานีตามช่วงระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) อย่างไรก็ตาม การพัฒนาอุบลราชธานีในระยะเวลาศตวรรษที่ 3 (ปัจจุบัน-พ.ศ.2635) จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์จำนวนประชากรของอุบลราชธานี ซึ่งแนวโน้มจะมีผู้สูงอายุจำนวนเพิ่มมากขึ้นโดยอาจจะมีผู้สูงอายุถึง
1 ใน 4 ของประชากร [4] ดังนั้น เนื่องด้วยเทคโนโลยีด้านต่างๆ
ที่ มีความเจริญก้าวหน้าควบคู่ไปพร้อมกันกับคุณภาพชีวิตอาจจะเป็นไปได้ที่จำนวนประชากรของจังหวัดอุบลราชธานีในช่วงศตวรรษที่
3 จะมีจำนวนถึง 2 ล้านคน เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มจำนวนสูงขึ้นสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันตามมา
คือ
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติจะหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้ง ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ
และผลจากการดำรงชีวิตการประกอบอาชีพของมนุษย์สร้างมลภาวะเพิ่มขึ้น เช่น เพิ่มปริมาณขยะ สร้างมลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางดิน มลพิษของเสีย
และภาวะโลกร้อน [5] จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นแค่ดิน
น้ำ ลม และไฟ มาประชุมรวมกันชั่วคราวตามเหตุตามปัจจัย [6]
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นใครก็หลีกหนีทั้ง 4 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ กันไม่พ้น
เช่นเดียวกันกับเรื่องของอนาคตอุบลราชธานีในศตวรรษที่ 3 ย่อมจะหลีกหนีไม่พ้นอันเกี่ยวกับเรื่องของ
ดิน น้ำ ลม ไฟ อย่างแน่นอน หากว่าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคตต่างมีปัญหาเกี่ยวกับดินน้ำลมไฟแทบทั้งสิ้น
โดยที่ปัญหาดังกล่าวอาจจะถูกเรียกว่า Earth Crisis, Water Crisis, Wind
Crisis และ Fire Crisis ตามลำดับ [7] [8]
[9] ซึ่งแน่นอนในระยะเวลาอันใกล้ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) [10] ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศไว้เช่นกันแต่อาจจะไม่ครอบคลุมปัญหาเกี่ยวกับดิน
น้ำ ลม ไฟ นอกจากนั้น แผนพัฒนาฯ ดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาถึงปี พ.ศ.2559 เท่านั้น
ด้วยเหตุดังกล่าว การพัฒนาอุบลราชธานีในศตวรรษที่ 3 จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมองปัญหาของ
ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้ครบทุกด้านและให้ความสัมพันธ์ในทุกมิติ โดยในเบื้องต้นวิกฤตผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในศตวรรษที่
3 ของอุบลราชธานี ตามรูปภาพที่ 1
จากรูปภาพที่
1 เมื่อจำนวนประชากรของจังหวัดอุบลราชธานีมีจำนวนมากสูงขึ้น
(อันรวมถึงจำนวนประชากรแฝงซึ่งประกอบด้วยจำนวนนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
จำนวนแรงงานเนื่องจากการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน)
ปัญหาด้านปริมาณขยะที่มีมากขึ้น ปัญหามลพิษทางดินและของเสีย นำไปสู่ “Earth Crisis” ปัญหาด้านมลพิษทางน้ำ นำไปสู่ “Water Crisis”
ปัญหามลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ภาวะโลกร้อน นำไปสู่ “ Energy Crisis” [11] และ ปัญหามลพิษทางดินและมลพิษทางน้ำ คือ “Food Crisis” ตามลำดับ ซึ่งวิกฤติด้านดิน อาหาร
น้ำ และ พลังงาน ต่างส่งผลสัมพันธ์ต่อ “ปัญหาสิ่งแวดล้อม (Environment
Problems)” ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 3
อุบลราชธานีจะต้องตระหนักและจัดหาตัวแบบ (Model) สำหรับจัดการปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อให้เกิดความสมดุล
(Balance) อย่างยั่งยืน เพื่อจะทำให้เกิดความสุขต่อทุกๆ
สิ่งไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ พืชและอื่นๆ ในระบบนิเวศน์ของจังหวัดอุบลราชธานี โดยตัวแบบดังกล่าว คือ
“ตัวแบบสีเขียวสำหรับอุบราชธานี” (GREEN model for UBON) ซึ่งตัวแบบดังกล่าว คือ “GREEN”
เมื่อ
G
= Good ใน 3 ธ.
อุบลราชธานีจะต้องทำให้ดีในเรื่อง ธรรมะ
(เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองแห่งธรรมะที่มีบูรพาจารย์พระอริยสงฆ์จำนวนมาก
เช่น พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์
สิริจันทโท) หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ชา สุภัทโท เป็นต้น) ธรรมชาติ (เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองที่มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก
เช่น อุทยานผาแต้ม อุทยานผาชัน น้ำตกแสงจันทร์ เป็นต้น ) โดยเน้นเรื่อง ธรรมดา
ที่ให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
R
= Recycle จังหวัดอุบลราชธานีจะต้องให้ความสำคัญของการนำวัสดุสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์
E
= Energy จังหวัดอุบลราชธานีจะต้องใส่ใจเรื่องของพลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานทางเลือกไม่ว่าจะมาจากพลังงานแสงอาทิตย์
หรือ พืชพลังงาน เช่น มันสำปะหลัง ปาล์ม เป็นต้น
หรือแม้กระทั่งพลังงานจากน้ำเนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานีมีเขื่อนจำนวน 2 เขื่อน
คือ เขื่อนสิรินธร และ เขื่อนปากมูล
E
= Environment จังหวัดอุบลราชธานีจะต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเมื่อจำนวนประชากรมีมากขึ้นย่อมกระทบต่อปัญหามูลพิษด้านต่างๆ
เช่น ขยะ น้ำเสีย อากาศ อันจะส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของประชาชน
N
= Natural จังหวัดอุบลราชธานีจะต้องดูแลธรรมชาติให้เป็นแบบ 3 ส. คือ
(1) สวยงาม (2) สดชื่น และ (3) สมบูรณ์
ดังนั้น
GREEN จะเป็นตัวแบบที่ “จะต้องดี (ในธรรมะ ธรรมชาติแบบธรรดา) มีการกลับมาใช้ของวัสดุต่างๆ
เพื่อทำให้ก่อเกิดการได้มาซึ่งพลังงานหรือการใช้พลังงานทดแทนอันจะทำให้สิ่งแวดล้อมน่าอยู่และก่อประโยชน์ต่อธรรมชาติอย่างยิ่งยืน”
ทั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่จังหวัดอุบลราชธานีควรจะต้องเตรียมการและดำเนินการเพิ่มสีเขียวให้
GREEN model นั่นก็คือ การใช้ต้นยางนา เนื่องจากต้นยางนาเป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานกล้าไม้ยางนาให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
นำไปปลูกเป็นสิริมงคล เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 [12]
ดังนั้น
หากว่าโรงเรียนระดับประถมศึกษาในระดับประถมและมัธยมศึกษาของจังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 1,288
แห่ง หน่วยงานเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(อบต.) กว่า 238 แห่ง [13] ร่วมมือร่วมใจปลูกต้นยางนาให้มีจำนวนมากยิ่งขึ้นให้ได้จำนวนอย่างน้อย
800,000 ต้นหรือมากกว่า ภายในปี พ.ศ.2635 จะทำให้จังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่สีเขียวจำนวนมากขึ้น
อันจะส่งผลทำให้ E = Environment สิ่งแวดล้อมดียิ่งขึ้น
และทำให้ N = Natural ดียิ่งขึ้นตามไปด้วย อันส่งผลต่อ GREEN
model อีกทั้งเป็นการน้อมนำทำตามที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ได้พระราชทานไว้
ดังนั้น
เพื่อให้การพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานีในศตวรรษที่ 3 โดยใช้ GREEN model มีความสมบูรณ์ครบถ้วนในทุกด้านทุกมิติจะต้องมีความสมดุล “BALANCE” ใน 3 ธ. ธรรมะ ธรรมชาติ ธรรมดา
(ความธรรมดาที่เป็นความพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ฯ) อันมีความสัมพันธ์กับด้านอาหาร น้ำ
พลังงาน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านการเกษตร ด้านการท่องเที่ยว
ด้านคุณภาพชีวิตสุขภาพ (ด้านสาธารณสุข
ด้านการอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น การคมนาคม) โดยมีเป้าหมายพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานีในศตวรรษที่
3 ไปสู่การเป็น “มหานครการท่องเที่ยวแห่งอาเซียน” ซึ่งประกอบด้วย 4
นคร กล่าวคือ นครแห่งธรรม นครแห่งเทียน นครแห่งการพัฒนา และ นครแห่งความฮักแพง โดยการพัฒนาในทุกๆ
ด้านที่เกี่ยวข้องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยการศึกษาในทุกระดับโดยใช้ “UBON
EDUCATION” ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ในศตวรรษที่ 3
ของอุบลราชธานีอาจจะเกิด “สภาการศึกษาอุบลราชธานี” [14] ซึ่งความสัมพันธ์ของการเป็น “มหานครการท่องเที่ยวแห่งอาเซียน”
ถูกแสดงตามรูปภาพที่ 2 ดังนี้
รูปภาพที่ 2
การพัฒนาอุบลราชธานีในศตวรรษที่ 3 “มหานครการท่องเที่ยวแห่งอาเซียน”
สรุป อนาคตอุบลราชธานีในศตวรรษที่ 3 (ปัจจุบัน- พ.ศ.2635) ซึ่งจะมีความเจริญความก้าวหน้าในทุกๆ
ด้าน ซึ่งแน่นอนว่าเมื่ออุบลราชธานีมีจุดเด่นในด้านการเป็นจังหวัดชายแดนที่มีพื้นที่ติดต่อกับต่างประเทศ
2 ประเทศ คือ สปป.ลาว และ กัมพูชา อันสามารถเชื่อมต่อกับประเทศอาเซียนและประเทศในบริเวณทะเลจีนใต้ทั้งจีน
เกาหลี และญี่ปุ่น มีแหล่งธรรมชาติที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม
มีประเพณีอันดีงดงาม มีแม่น้ำ 3
สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และ แม่น้ำโขงมล มีสถานที่แหล่งธรรมะของพระอริยสงฆ์ ดังนั้น การเป็นเมือง
“มหานครการท่องเที่ยวแห่งอาเซียน” ในศตวรรษที่ 3 เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง โดยการพัฒนาอุบลราชธานีให้เป็นมหานครการท่องเที่ยวแห่งอาเซียนเริ่มจากการมองปัญหาเรื่องดิน
น้ำ ลม ไฟ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แล้วนำ GREEN
model มาใช้ในการพัฒนา UBON (U= Unity สามัคคี นครแห่งความฮักแพง, B = Beauty สวยงาม นครแห่งเทียน,
O = Optimal เหมาะสมที่สุด นครแห่งการพัฒนา, N = Normal ธรรมดา
นครแห่งธรรม) ให้เกิด BALANCE (B
= Best เป็นสิ่งดีที่สุดเพื่ออุบลราชธานี, A = Acknowledge เป็นที่ยอมรับของอุบลราชธานี, L = Link เป็นที่ชื่นชอบของอุบลราชธานี, A = Advantage เป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์ต่ออุบลราชธานี, N = Need เป็นสิ่งที่ต้องการจำเป็นของอุบลราชธานี, C = Center เป็นสิ่งศูนย์กลางของอุบลราชธานี, E = Excellence เป็นเลิศเพื่ออุบลราชธานี) อย่างยั่งยืน (ตามรูปภาพที่ 3) การใช้
GREEN model ดังกล่าวจะทำให้อุบลราชธานีเป็น “มหานครการท่องเที่ยวแห่งอาเซียน”
ในแบบฉบับของราชธานีหนึ่งเดียวที่มีความภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เน้น 3 ธ.
และ 4 นคร โดยมีการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร น้ำ พลังงาน สิ่งแวดล้อม ที่มีสัมพันธ์กับการพัฒนาด้านการเกษตร
ด้านการท่องเที่ยว ด้านคุณภาพสุขภาพชีวิต ด้านการคมนาคมสัญจร
(ทั้งทางบกที่มีถนนหนทางที่รองรับการเชื่อมต่อในพื้นที่ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
รวมทั้งทางอากาศที่มีสนามบินนานาชาติรองรับการให้บริการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ)
โดยอาศัยระบบการพัฒนาการศึกษาในทุกระดับเพื่อทำให้เกิดความสมดุลมีความสุขอย่างยั่งยืน
ภายใต้เงื่อนไขความร่วมมือร่วมใจสามัคคีของคนอุบลราชธานีทุกภาคส่วน
รูปภาพที่ 3 การใช้ GREEN model ในการพัฒนา UBON ให้เกิด BALANCE อย่างยั่งยืน
ผศ.ดร.มณูญพงศ์
ศรีวิรัตน์
อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
อดีตรองอธิการบดี
ม.อุบลฯ (พ.ศ.2545-2555)
กรรมการสภาวิชาการ
(ผู้ทรงคุณวุฒิ) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (พ.ศ.2557-ปัจจุบัน)
ผู้เขียน
3 มิถุนายน 2557
เอกสารอ้างอิง
[1]
การสำมะโนประชากรประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2553. เข้าถึงได้ที่
URL; http://webhost.nso.go.th/nso/project/search_cen/result_by_department.jsp
[2]
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “อนาคต ... อุบลราชธานี”. เข้าถึงได้ที่
URL; http://ubumanoon.blogspot.com/2012/06/blog-post.html
[3]
เอกสารหนังสือ “อุบลศึกษา” เข้าถึงได้ที่
URL; http://manoonpong.blogspot.com/2014/06/blog-post.html
[4]
สรุปสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มด้านประชากร.
เข้าถึงได้ที่
URL; http://www.hitap.net/healthyresearch/downloads/Handouts%20factors/Hpopulation.pdf
[5]
ประชากรกับการใช้ทรัพยากร การเพิ่ม และการกระจายของประชากร.
เข้าถึงได้ที่
URL; http://life.cpru.ac.th/E%20leaning/07%20Humans%20and%20the%20environment/-%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%883.doc-.htm
[6]
อานิสงค์ ของการสร้างบุญบารมี ( ทาน, ศีล,
ภาวนา )โดย สมเด็จพระญาณสังวร
[7]
Global water crisis and future food security in an era of climate change. เข้าถึงได้ที่
[8]
Global Trends 2030: Alternative Worlds. เข้าถึงได้ที่
[9]
THE ENVIRONMENTAL FOOD CRISIS. เข้าถึงได้ที่
[10]
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11. เข้าถึงได้ที่
[11]
Global Change and the Energy Crisis. เข้าถึงได้ที่
[12]
ต้นไม้ประจำจังหวัด. เข้าถึงได้ที่ URL; http://www4.eduzones.com/tee18592/8065
[13]
ข้อมูลจำนวนโรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานี สำนักสถิติอุบลราชธานี.
เข้าถึงได้ที่
URL; http://123.242.156.42/ubon/component/viewpage.php?id=81§ion_id=3&catagory_id=1
[14]
สภาการศึกษาอุบลราชธานี. เข้าถึงได้ที่ URL; http://ubumanoon.blogspot.com/2013/07/blog-post.html
อนาคตอุบลราชธานีในศตวรรษที่
3
(ปัจจุบัน- พ.ศ.2635)
ศตวรรษที่สาม ต้องติดตามเมืองอุบลฯ
อุบลฯ ทุกผู้คน จะต้องสนสร้างแปงเมือง
เรื่องดินน้ำลมไฟ ต้องใส่ใจให้ปราดเปรื่อง
สีเขียวป่ารุ่งเรือง ให้ลือเลื่องท่องเที่ยวไทย
นครแห่งอาเซียน ต้องพากเพียรคิดการใหญ่
3 ธ. ต้องก้าวไป เป็นหัวใจ 4 นคร
ทุกอย่างต้องสมดุล พร้อมเกื้อหนุนไม่หยุดหย่อน
ร่วมสร้างอย่าตัดรอน เป็นนครท่องเที่ยวเอย
มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น