วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

ความเป็นมาของสถานีบริการน้ำมัน ม.ุอุบลฯ

      เนื่องจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีห่างจากตัวอำเภอวารินชำราบกว่า ๙ กิโลเมตร (ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร) ทำให้ที่ผ่านมาในอดีตบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเวลาที่จะต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจำเป็นอย่างยิ่งในการเดินทางไปกลับเกือบ ๒๐ กิโลเมตร  ทั้งนี้ เมื่อการประชุมสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ ๗/๒๕๓๔ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ ระเบียบวาระที่ ๕.๑ ได้เห็นชอบโครงการจัดตั้งธนาคาร ปั้มน้ำมัน ร้านอาหาร ในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (อ้างอิงที่ http://www.lib.ubu.ac.th/archive_ubu/data/sp2534-7.pdf)



    อย่างไรก็ตาม ในช่วงเริ่มต้นดำเนินงานของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอาจจะยังมีจำนวนบุคลากรและนักศึกษาจำนวนไม่มากนัก ทำให้การลงทุนจัดตั้งธนาคาร ปั้มน้ำมัน ร้านอาหาร ภาคเอกชนอาจจะยังไม่มีความพร้อมในเรื่องประเด็นความุคุ้มค่าในการลงทุน จวบจนต่อมาเมื่อได้มีการประกาศใช้ "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ.๒๕๔๗"  ทำให้ส่วนราชการต่างๆ เริ่มมีการดำเนินการจัดตั้งสถานีบริการน้ำมันในหน่วยงานราชการ  ตัวอย่างเช่น พ.ศ.๒๕๕๐  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (ที่มี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นในฐานะสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพรชบุรี) ได้ดำเนินโครงการสร้างสถานีบริการน้ำมัน (อ้างอิงที่ http://www.thaipr.net/general/139991 ) 


     กล่าวสำหรับ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เมื่อการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ ๗/๒๕๕๐ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ระเบียบวาระที่ ๕.๘ ได้เห็นชอบให้จัดตั้งสถานีบริการน้ำมัน (อ้างอิงที่ http://www.ubu.ac.th/~councilubu/report/120080626150041.pdf )     






และต่อมาที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ ๕/๒๕๕๒ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ (หน้า ๓) ได้กำหนดแนวทางแผนการจัดหารายได้ เกี่ยวกับประเด็นการใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด



   จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าการดำเนินงานในส่วนของการจัดสร้างสถานีบริการน้ำมัน (เพื่อสวัสดิการ ม.อุบลฯ) นั้น เป็นการดำเนินงานที่สอดรับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ (พ.ศ.๒๕๔๗) เป็นการดำเนินงานตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (พ.ศ.๒๕๓๔) และมีมติสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (พ.ศ.๒๕๕๐) รองรับในการดำเนินงาน  นอกจากนั้น เป็นการก่อเกิดรายได้ตามที่สภามหาวิทยาลัย (พ.ศ.๒๕๕๒) ได้ให้นโยบายไว้ ทั้งนี้ รายได้ที่เกิดขึ้นจะเป็นงบประมาณสำหรับการจัดสวัสดิการให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอันเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ.๒๕๔๗ และที่สำคัญ คือ ทำให้นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้รับประโยชน์จากการใช้บริการที่ไม่ต้องเสียเวลาและงบประมาณในการเดินทางไปกลับระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกับอำเภอวารินชำราบในการใช้บริการสถานีน้ำมัน ก่อให้เกิดความปลอดภัยและประหยัด นอกจากนั้น ประชาชนทั่วไปใกล้กับบริเวณมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก็ได้รับประโยชน์จากสถานีบริการน้ำมันดังกล่าว

มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
ผู้บันทึกเรื่องราว
อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๕)


2 ความคิดเห็น: