วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562

ความเป็นมาของพิธีวันแห่งความดี อุบลราชธานี 11 พฤศจิกายน เวลา 11.11 น.

ความเป็นมาของพิธี "วันแห่งความดี อุบลราชธานี 11 พฤศจิกายน เวลา 11.11 น."

โดย นายสุรพล สายพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี


"...ผมย้ายมารับตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ เดือนตุลาคม พ.ศ.2549 และได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี(ขณะนั้น คือ ท่านสุธี มากบุญ )ให้เตรียมการจัดงานที่ระลึกวันสถาปนาเมืองอุบลราชธานี 10 พฤศจิกายน และรับทราบจากผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานการท่องเที่ยวอุบลราชธานี(ขณะนั้นคือคุณ ธนภร พูลเพิ่ม (ปัจจุบันเป็นหัวหน้าสำนักงานการท่องเที่ยวอุบลราชธานี) ว่า ทุกปี ในวันที่ 11 พฤศจิกายน จะมีชาวต่างชาติ (ยุโรปและอเมริกัน) กลุ่มหนึ่ง มาวางดอกไม้ที่อนุสาวรีย์ความดี (ตรงมุมทุ่งศรีเมืองทางโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี) เพื่อเป็นรำลึกถึงญาติที่ตกเป็นเชลยศึกในค่ายกักกันที่อุบลราชธานี เลยนำเรื่องนี้ยกหารือในที่ประชุมเพื่อยกเป็นกิจกรรมของจังหวัดอย่างเป็นทางการ

   โดยได้นำรูปแบบที่ผมเคยจัดที่จังหวัดตราดในงาน "ยุทธนาวีเกาะช้าง"เพื่อรำลึกถึงวีระชนเป็นแนวทาง อาทิ การวางพวงมาลา การกล่าวสดุดี การจุดโคมไฟ (จากที่เคยเห็นในพิธีที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและที่ประตูชัยในนครปารีสเพื่อไว้อาลัยกับวีระชน)  การเป่าแตรเดี่ยว การขับร้องเพลงรำลึก แต่ให้เพิ่มบทภาษาอังกฤษ (แทรกอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่การแปล) โดยได้เขียนบทสดุดี พร้อมกับประสานหน่วยงานต่างๆและให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีเป็นผู้อ่านบทสดุดี แต่เมื่อถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2549 ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ท่านสุธี มากบุญ ติดภารกิจ ได้มอบผม เป็นประธานกล่าวแทน มีคนแปลกใจว่า ผมกล่าวเหมือนพูดสดๆ เหมือนไม่ได้อ่าน ผมเลยบอกว่า ผมเขียนบทตั้งใจให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอ่าน เมื่อท่านให้ผมมาอ่านแทน ผมก็จำบทได้อยู่แล้วเลยพูดได้เลยไม่ต้องอ่านมาก

 ทั้งนี้ได้ประสานวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานีจัดทำตะเกียงคบไฟ (แบบใช้แก๊สแต่ปรับวาวให้ใช้ออกซิเจนน้อย จะได้เห็นเปลวไฟ (ปัจจุบันตะเกียงนี้ใช้เป็นกระถางคบไฟสำหรับการแข่งขันกีฬาของวิทยาลัยเทคนิคเอง) ประสานวงดนตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีพร้อมตัวบุคคลที่ขับร้องเพลง  (กำหนดเพลงในพิธีคือ"ไร้รักไร้ผล" ส่วนเพลงบรรเลงทั่วไปให้ทางวงกำหนดเอง (ปัจจุบันผมได้เสนอให้ใช้เพลงสามัคคีชุมนุมซึ่งมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ Auld Lang Syne แทน) พร้อมกับประสานนักศึกษาวิชาทหารโรงเรียนต่างๆมาร่วมพิธีร่วมกับหน่วยงานต่างๆ (เนื่องจากจัดเป็นครั้งแรก)..."

    ตั้งแต่นั้นมา ทราบว่างานที่ยอมรับจัดเป็นทางการทุกปี มีการแก้ไข รวมทั้งหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์เชื่อมโยง จนปัจจุบัน

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ความเป็นมาของอุทยานธรณีผาชัน-สามพันโบก (อุบลราชธานี)

ความเป็นมาของอุทยานธรณีผาชัน-สามพันโบก (อุบลราชธานี)

โดย นายสุรพล สายพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี


2524 ประกาศจัดตั้ง "อุทยานแก่งตะนะ" บริเวณอำเภอโขงเจียมและอำเภอสิรินทร

2532 วิ่งนานาชาติ "ผาแต้มมาราธอนครั้งที่ 1 เป็นจุดเริ่มที่ชาวต่างประเทศสนใจสภาพทางธรณีและวิถีชีวิตชาวบ้านริมแม่น้ำโขง โดยเฉพาะบ้านผาชัน

2533 วิ่ง "ผาแต้มมาราธอนครั้งที่ 2

2534 ประกาศพื้นที่บางส่วนเป็น"อุทยานแห่งชาติผาแต้ม"(และกันพื้นที่มีบริเวณภาพเขียนโบราณ ให้อยู่ในการดูแลของกรมศิลปากรและ ปี 2538 ประกาศพื้นที่บางส่วนเป็น "วนอุทยานผาหลวงในเขตอำเภอศรีเมืองใหม่

2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยี่ยมหมู่บ้านกันดาร (ต้องเดินทางโดยทางเรืออย่างเดียว ไม่มีไฟฟ้าใช้) คือบ้านดงนา อำเภอศรีเมืองใหม่ และบ้านปากลา อำเภอโขงเจียม โดยประทับเรือพระที่นั่งPB boatที่กองทัพเรือ( หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงจัดถวาย) เส้นทางเสด็จจาก บ้านสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร ผ่าน ผาชัน ไปบ้านดงนาและปากลา และรับโรงเรียนทั้งสองแห่งเป็นโรงเรียนในพระราชานุเคราะห์พร้อมให้จัดตั้งสถานีอนามัยเป็นพิเศษ ทรงรับสั่งให้ชาวบ้านรักษาป่าและสภาพแวดล้อม
ช่วงผ่านผาชัน ทรงทอดพระเนตร ชาวบ้านยืนบนหน้าผา และแง่หิน ตกปลา ทรงรับสั่งกับข้าราชบริพาร ว่า "นี่ไง มนุษย์ตัวจริง มีความสามารถยืนตกปลาได้" ท่านตรัสว่า ถ้าเป็นพระองค์ท่าน ตกน้ำไปนานแล้ว 

2536 เสด็จเยี่ยมหมู่บ้านโหง่นขาม (โดยเสด็จโดยพระบาท 3 ชั่วโมง จากบ้านหุ่งหลวง ไปบ้านโหง่นขาม อำเภอศรีเมืองใหม่เป็นหมู่บ้านกันดาร ต้องเดินเท้า ไม่มีไฟฟ้าใช้) จากนั้นเสด็จโดย เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งไปบ้านดงนา แล้วประทับเรือที่กองทัพเรือจัดถวายไป บ้านปากลา

2536 ผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์ของไทยและฝรั่งเศส ได้มาขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ที่สาธารณะ ในเขตอำเภอศรีเมืองใหม่ ภายหลัง พิสูจน์พบว่า เป็นไดโนเสาร์ที่อายุน้อยสุดของประเทศไทย

2537 -2557 เสด็จทรงงานที่หมู่บ้าน รวม 6 ครั้ง ทรงรับสั่งเรื่องพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของเยาวชน การช่วยกันดูแลป่า แหล่งน้ำ และสภาพแวดล้อม (ปัจจุบัน บ้านปากลา มีสะพานข้าม ถนนเข้าถึงหมู่บ้าน มีไฟฟ้าใช้ แต่บ้านดวนา และบ้านโหง่นขาม มีทางลำลองขึ้นถึงหมู่บ้าน ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ อยู่ระหว่างการขอใช้ร่วมกับหน่วยงานอุทยานผาแต้ม)

 2550 จัดแข่ง "พารามอเตอร์ ระยะไกลโขง ชี มูล ครั้งที่ 2 จากตัวเมืองอุบลราชธานี ไปบริเวณผาแต้ม เส้นทาง สนามฝึก ทุ่งหนองหญ้าม้า อำเภอวารินชำราบ ผ่าน อำเภอสว่างวีระวงค์ อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอโขงเจียม สิ้นสุดที่ ผาแต้ม

2553 จัดแข่งพารามอเตอร์ ถ่ายภาพทางอากาศ บริเวณผาแต้ม ผาชัน และสามพันโบก ได้พบแหล่งแร่ และมุมมองธรรมชาติที่บางจุดไม่เคยสำรวจถึง

2554 คณะเจ้าหน้าที่ กรมทรัพยากรธรณีและคณะเจ้าหน้าที่จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกันสำรวจ เพื่อจัดตั้งอุทยานธรณีบริเวณพื้นที่ 4 อำเภอ พบสิ่งที่มีคุณค่าทางธรณีวิทยา เช่น เสาเฉลียงยักษ์ ถ้ำหินทราย หินสีละลาย

2555 ประกาศเป็น "อุทยานธรณี ผาชัน-สามพันโบก" ระดับจังหวัด
20 กค 2555 นำเสนอขอมติครม สัญจร ที่จังหวัดสุรินทร์ รับหลักการจัดตั้งอุทยานธรณีระดับประเทศ พร้อมกับได้นำเสนอผลงานในเวทีนานาชาติหลายครั้ง  
       จากนั้น กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้มาวางผังแม่บทเฉพาะให้ พร้อมกับ กรมทรัพยากรธรณี ได้ออกแบบอาคารศูนย์เรียนรู้ไดโนเสาร์ที่ โคกผาส้วม อำเภอศรีเมืองใหม่ และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ออกแบบอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บริเวณตำบลนาโพธิ์กลาง (จุดที่จะไปผาชะนะได ตะวันออกสุดของสยาม)

2555 จัดแสดง แสง สี เสียง "ตำนาน ผาชัน สามพันโบก"ที่บริเวณหน้าผา บ้านผาชัน
   จุดบริเวณนี้มีความสวยงามเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวและนักวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศ จนได้รับการขนานนามว่า แกรนด์แคนยอน ประเทศไทย"

2556-ปัจจุบัน ได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้างศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ศูนย์เรียนรู้ ศูนย์อำนวยการ จุดจำหน่ายสินค้าและกิจกรรมการฝึกอบรมต่างๆ เป็นระยะ ระหว่างรอการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีระดับประเทศเพื่อนำเสนอเป็นอุทยานระดับโลก

2556-ปัจจุบัน มีการส่งเสริมกิจกรรม อาทิ การพัฒนาสถานที่ การพัฒนามัคคุเทศก์และยุวมัคคุเทศก์ พัฒนาสินค้าพื้นเมือง(ผ้า อาหาร ของที่ระลึก) พัฒนาระบบบริการนักท่องเที่ยว ระบบส่งกลับทางการแพทย์ ระบบการเดินเรือและท่าน้ำที่พัก ระบบสื่อสารและวิทยุสมัครเล่น การดูแลความปลอดภัย

2557-2559 จัดนิทรรศการและบรรยายทางวิชาการ ในงานสัปดาห์หนังสือจังหวัดอุบลราชธานีหน่วยงานต่างๆเข้าไปสนับสนุนทั้งหน่วยงานระดับท้องถิ่น/ระดับปฏิบัติการ/หน่วยงานทางวิชาการ

2562 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ฯ เสด็จทรงงานถ่ายแบบโดยใช้สถานที่ผาชัน สามพันโบก  HRH Princess Sirivannavari Nariratana


วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560

มหกรรมรวมพลังเยาวชนเพื่อสันติภาพรักบริสุทธิ์ หยุดปัญหา พัฒนาสังคม


มหกรรมรวมพลังเยาวชนเพื่อสันติภาพรักบริสุทธิ์ หยุดปัญหา พัฒนาสังคม 
Inauguration of the network of Youth and Student for peace for Asia and the Pacific
13 มิถุนายน 2560 ณ Impact Arena
♡♡♡♡
มีการแสดงศิลปะป้องกันตัวของประเทศเกาหลีใต้ โดยนักศึกษาแสดงจากประเทศไทย

ตามด้วยการพูดเพื่อสร้างพลังให้กับเยาวชน โดยตัวแทนนักศึกษาจากมหาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ซึ่งการพูดดังกล่าวเป็นการให้ความสำคัญกับปัญหาโลกร้อน ให้ความสำคัญเรื่องของการเพิ่มออกซิเจนให้กับโลกใบนี้ เพิ่มสีเขียวให้กับโลกใบนี้ เพื่อให้ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความมีความสุข โดยอยากขอเชิญชวนให้ทุกคนสื่อสารส่งข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องปัญหาโลกร้อนให้กับบุคคลรอบข้าง ถึงเวลาแล้วที่เยาวชนจะให้ความแสงสว่างกับโลกเพื่อสิ่งแวดล้อมของโลกที่ดีขึ้น อย่างยั่งยืน
♡♡♡♡♡♡
นักศึกษามหาวิทยาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่นอีกท่านหนึ่ง ได้ออกมาพูดในการสร้างพลังแรงบันดาลใจให้เยาวชน โดยเกี่ยวกับการสร้างโลกเชื่อมต่อกันด้วยไฮเวย์ ให้เป็นโลกใบเดียวกัน ซึ่งมนุษย์ในโลกนี้สามารถที่จะมีโครงการร่วมกันคืออินเตอร์เนชั่นแนลไฮเวย์โปรเจค ซึ่งความคิดดังกล่าวเป็นการสร้างถนนเชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่น สามารถใช้เชื่อมต่อกันด้วยอุโมงค์ ซึ่งทำให้ทั้งสองประเทศที่จะมีความสัมพันธ์โดยปราศจากในเรื่องของเขตแดน วัฒนธรรม ภายใต้ชื่อโครงการ "KJ project" โดยในปี ค. ศ. 2020 น่าจะเห็นโครงการดังกล่าวเป็นความจริง

♡♡♡♡
มีการนำเสนอ ประเด็นสำคัญของโครงการ Pure. Love

เพื่อให้เด็ก เยาวชน และคนโสด
1.เชื่อฟังและกตัญญูต่อ คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง และครูอาจารย์
2.ดำเนินชีวิตตามหลักศีลธรรมอันดีงาม ละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน
3.อุทิศตนและเสียสละเพื่อความสุขความเจริญของครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และโลก โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ และศาสนา

♡♡♡♡♡
สำหรับตัวแทนประเทศไทยได้มีการ พูดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในเกี่ยวกับเรื่องของเพียวเลิฟ Pure Love โดยพื้นฐานนั้นต้องมาจากความไม่เห็นแก่ตัว ความรักปราศจากการครอบครอง แต่เป็นความรักที่เกิดจากการให้ อย่างแท้จริง
♡♡♡
มีการแสดง ของ ตัวแทนเยาวชนจาก ประเทศญี่ปุ่น โดยเลขาธิการเยาวชนประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการแสดงร้องเพลง เกี่ยวกับเรื่องของสันติภาพในทุกหมู่ชน

♡♡♡♡
มีการแสดงร้องเพลงประสานเสียงของตัวแทนเด็กเยาวชนจากประเทศเกาหลีใต้ซึ่งมีการร้องเพลงเกี่ยวกับเทอดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

♡♡♡♡♡
โดยพิธีเปิดได้ดำเนินการโดยตัวแทนของนายกรัฐมนตรีประเทศไทย คือ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายดูแลการศึกษาและสังคม ทั้งนี้ ผู้ที่กล่าวรายงาน ได้แก่ ราชองครักษ์ พลเอกเทอดศักดิ์ มารมย์ ซึ่งเป็นประธานมูลนิธิฯ ที่จัดงานในครั้งนี้

พร้อมทั้ง มีพิธีลงนามการจัดตั้งสถาปนาความร่วมมือการสร้าง สันติภาพของเยาวชนเอเชียแปซิฟิก ซึ่ง มีตัวแทนจากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ กัมพูชา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย พร้อมทั้งมีการมอบรางวัล สำหรับกิจกรรมที่ส่งเสริมในเรื่องของสันติภาพและส่งเสริมเกี่ยวกับเรื่องของ รักบริสุทธิ์หยุดปัญหา พัฒนาสังคม โดยประธานมูลนิธิผู้ก่อตั้งมูลนิธิ YSP (The Youth and Students for Peace) Dr Hak ja Han Moon 

พร้อมด้วยการแสดงดนตรีของวง Apple Heaven

การแสดงศิลปะวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพโดยคณะเยาวชนนาฏศิลป์พื้นบ้านเกาหลีคณะ The Little Angel

สรุป
ได้เห็น ความร่วมมือของเยาวชนจากประเทศต่างๆ ในการที่จะนำมาซึ่งสันติภาพผ่านกิจกรรมหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวเรื่องของการแสดงออกในการรักษ์โลก การใส่ใจโลก รวมถึงกิจกรรมที่ เกี่ยวกับเรื่องของรักบริสุทธิ์ที่เกิดจากภายในครอบครัวเป็นเบื้องต้น พร้อมทั้ง การนำเสนอ ผ่านบทเพลงต่างๆ การแสดงต่างๆ 





















Inauguration of the network of Youth and Student for peace for Asia and the Pacific การริเริ่มเครือข่ายเยาวชนและนักศึกษาเพื่อสันติภาพในเอเชียและแปซิฟิก


Inauguration of the network of Youth and Student for peace for Asia and the Pacific (การริเริ่มเครือข่ายเยาวชนและนักศึกษาเพื่อสันติภาพในเอเชียและแปซิฟิก)
“The Role of Youth and Students in Creating a Culture of Sustainable Peace” (“บทบาทของเยาวชนและนักเรียนในการสร้างวัฒนธรรมแห่งสันติภาพที่ยั่งยืน”)
United Nation Conference, Bangkok Thailand 
12 มิถุนายน 2560
♡♡♡♡♡♡♡
+++ ความเป็นมา 
Dr. Hak Ja Han Moon ภรรยาม่าย ของ Dr. Sun Myung Moon [1920-2012 ประเทศเกาหลีใต้] เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Universal Peace Federation (สหพันธ์สันติภาพสากล) ร่วมกับสามีของเธอเธอได้อุทิศชีวิตเพื่อสันติภาพก่อตั้งองค์กรและโครงการต่างๆ มากมายในหลากหลายสาขา ที่มา http://www.upf.org/founders/dr-hak-ja-han-moon)
♡♡♡♡♡♡
+++ โดย มิสเตอร์ชันเมียงมูน ได้ตั้งปณิธานว่า “มีชีวิตเพื่อผู้อื่น”
♡♡♡♡♡♡
+++ การประชุม มีการเปิดประชุมโดยราชองค์รักษ์พิเศษ พลเอก เทอดศักดิ์ มารมย์ ประธานมูลนิธิสหพันธ์สันติภาพสากล (ประเทศไทย) 
โดยมีกล่าวยินดีต้อนรับโดย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย) รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศศรีลังกา) ประธานคณะกรรมาธิการกฎหมายและความยุติธรรมในรัฐสภากัมพูชา และประธาน Universal Peace Federation 
♡♡♡♡♡♡♡
+++ มีการลงนามร่วมกันของตัวแทนประเทศต่างๆ ในความร่วมมือเกี่ยวกับ “บทบาทของเยาวชนและนักเรียนในการสร้างวัฒนธรรมแห่งสันติภาพที่ยั่งยืน”

+++ โดยผู้ก่อตั้ง สหพันธ์สันติภาพสากล มีคำสำคัญ คือ “ฮโยจอง” (hyojung) อันหมายถึง “หัวใจที่มีแต่ความกตัญญูกตเวที” ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่เริ่มต้นที่ครอบครัวจะต้องให้ความสำคัญของ คำว่ากตัญญูกตเวที โดยจะต้องเรียนรู้ร่วมกันไม่เห็นแก่ตัว เรียนรู้ความรัก ความเสียสละ 

+++ ภายใต้สังคมในปัจจุบันที่เป็นสังคมก้มหน้าใช้สื่อสังคม Social Media กันเป็นอย่างมาก เด็กเยาวชนสามารถเรียนรู้ค้นหาข้อมูลต่างๆ ผ่านสื่อสังคมได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ข้อมูลความรู้ดังกล่าวอาจจะเป็นความรู้เป็นสิ่งที่อาจจะเกิดโทษนำไปสู่ในสิ่งที่ไม่ดีก็เป็นได้ ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่อาจจะต้องนำเด็กเยาวชนกลับคืนมาสู่วัฒนธรรมแห่งความรักจริง (True Love) ภายในครอบครัว เรียนรู้จากภูมิปัญญาดั่งเดิมของนักปราชญ์ใกล้ตัวของเราให้มากยิ่งขึ้น

+++ เด็กเยาวชน เป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่จะต้องให้ความสำคัญ เพราะเขาเหล่านั้นจะเป็นคนดีของสังคม ช่วยให้สังคมน่าอยู่ ช่วยเหลือประเทศชาติให้มีความเจริญ และที่สำคัญ คือ จะสามารถสร้างความสงบสุขให้กับสังคมในที่สุด ซึ่งพ่อแม่เป็นครูคนแรกของลูกๆ รักที่บริสุทธิ์ จะสามารถแก้ปัญหาของต่างๆ ของครอบครัวได้ พัฒนาสังคมได้ เพราะ “รัก คือ ความปรารถนาในการให้” (ไม่เห็นแก่ตัว) 

+++ มีการบรรยายของตัวแทน จาก ประเทศไทย เนปาล กัมพูชา ฟิลิปปินส์ ภายใต้หัวข้อ “หลักการของความยั่งยืนและความรับผิดชอบของเยาวชนในการสร้างชาติ” 

+++ โดย Dr. Robert Kittel ประธาน สหพันธ์สันติภาพสากล ได้สรุปว่า 
ครอบครัว คือ สภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดในการรักษาสิ่งที่ดีอันทำให้คุณลักษณะที่ดีในอนาคตทั้งทางร่างกายและจิตใจของลูกๆ อันจะนำเป็นสู่การที่ลูกๆๆ จะเป็น “ลูกที่มีความกตัญญู”
แน่นอนว่าเมื่อลูกมีความคุณลักษณะที่ดี ย่อมจะเป็นลูกกตัญญู และเป็นคนดีของสังคม เป็นคนซื่อสัตย์รักชาติของตน และในที่สุดก็จะเป็นคนดีมีประโยชน์สำหรับโลกใบนี้ 
♡♡♡♡♡♡
+++ ไม่มีอะไรที่สำคัญกว่าเรามากกว่าความรัก ชีวิต และเชื้อสาย แต่ในบรรดาสิ่งดังกล่าวคิดว่าอันไหนมีค่ามากที่สุด?
หากไม่มีความเสียสละแล้ว ความรัก ย่อมไม่ใช่ความรักที่แท้จริง
ดังนั้น สถาบันครอบครัว พ่อแม่ จะต้องมีความเสียสละ ไม่มีความเห็นแก่ตัวให้กับลูกๆ แล้วเมื่อนั้น จะเกิดความรักที่จริงในครอบครัว นำมาซึ่งความสุขที่ยั่งยืนมั่นคงถาวร เกิดสิ่งดีๆ ต่อสังคมนั้นๆ ประเทศนั้นๆ ในที่สุด
+++ มีการร่วมอภิปรายภายใต้หัวข้อ “เตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่ประสบความสำเร็จความสำคัญของการแต่งงานและครอบครัว” (ผู้อภิปรายจาก เยอรมัน ฟิจิ ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินเดีย) 
- ครอบครัวเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศหากว่าครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีมีความสุข ย่อมจะส่งผลให้ประเทศมีความั่นคงตามไปด้วย 
- การศึกษาของครอบครัวก็เป็นสิ่งจำเป็นจะทำให้เป้าหมายของประเทศเป็นจริงได้ 
- ครอบครัวที่ขาดพ่อผู้นำครอบครัว นำมาซึ่งปัญหาหลายอย่างในที่สุด ส่งผลต่อลูกๆ ที่จะนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด การมีครอบครัวที่สมบูรณ์ย่อมจะสามารถปกป้องปัญหาดังกล่าวได้ (จากงานวิจัย) สังคมไทยในปัจจุบัน พ่อแม่จำเป็นจะต้องหาเงินในการเลี้ยงครอบครัว ปล่อยให้เด็กๆ อยู่กับปู่ย่าตายาย ซึ่งก็เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่งสำหรับการขาดความอบอุ่นระหว่างพ่อแม่ลูก
- คู่หนุ่มสาวที่อยู่กินกันก่อนแต่งงาน มีโอกาสที่จะแยกทางกันในระยะยาว (ซึ่งหากมีลูกด้วยกัน ก็จะทำให้เกิดปัญหาตามมาในด้านต่างๆ) 
- ครอบครัวเป็นสถานที่รวมใจ เป็นสถานที่ปลอดภัยสำหรับเด็กเพื่อจะได้พัฒนาเด็กให้มีความเจริญก้าวหน้าในเรื่องดีๆ 
- สถานที่ที่มีความสุขที่สุดในโลก คือ “HOME” แต่จะต้องทำให้ HOME นั้นดีที่สุดสมบูรณ์ที่สุด คนหนุ่มสาวในปัจจุบันไม่มีความสนใจในการแต่งงานสักเท่าไร (ร้อยละ 30) เพราะต้องการคู่ครองที่สมบูรณ์ในอาชีพหน้าที่การงาน ดังนั้น ทำบ้าน HOME ให้น่าอยู่ อบอุ่นด้วยความรัก ด้วยรอยยิ้ม ความจริงใจให้กันและกัน 
- ไต้หวัน แต่ละครอบครัวมีลำดับชั้นทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงในการนับญาติกันกว่า 8 ลำดับ ปัญหาของครอบครัวเกิดขึ้นเช่นเดียวกับในไต้หวันคือ การเพิ่มขึ้นของโรค HIV (ชายรักชาย) ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาของประชากร สถานบันครอบครัวในอนาคต
- การสร้างครอบครัวอาจจะได้ใช้เวลาค่อนข้างมาก แต่การทำลายครอบครัวนั้นตรงกันข้าม ใช้เวลาเพียงนิดเดียว ด้วยความไม่เข้าใจกัน ด้วยความโกรธต่อกัน ดังนั้น อย่าทำลายครอบครัวที่เราสร้างมาด้วยมือของเรา สร้างครอบครัวเพื่อลูกๆ เด็กๆ ในวันข้างหน้า

+++ การสัมมนา เรื่อง “ความรับผิดชอบของเยาวชนในการสร้างวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพ” (โดยตัวแทนจากประเทศ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อินโดนิเชีย ไทย เนปาล)
- สันติภาพ ความสงบสุข คือ อะไร (ซึ่งหากนำพุทธศาสนาให้ความหมาย ก็คงจะต้องเริ่มด้วยการมีพรหมวิหาร นั่นคือ เมตตา ยิ้มให้กันและกัน ไม่ใช้ความรุนแรง) ซึ่ง สันติภาพจะต้องเริ่มต้นในครอบครัวเป็นแรก ลูกให้ความเคารพกับพ่อแม่ ในระบบที่ใหญ่ขึ้นไป ระดับสังคม หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ จะต้องมีความรู้สึกว่าเราทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน 
- ต้องสร้างวัฒนธรรมอันดีงามในการสำหรับเยาวชนในการรักพี่น้อง รักพ่อแม่ ให้ความเคารพ กตัญญูกตเวที ไม่ใช้ความรุนแรง ทั้งกาย วาจา และที่สำคัญ คือ ทางใจ ต่อทุกคนในครอบครัว 
♡♡♡♡♡
+++
สรุปการประชุม ได้แนวคิด วิสัยทัศน์ในการบูรณาการการทางานร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่าง ภาครัฐบาล ภาคเอกชน องค์กรศาสนา นักการศึกษาและวิชาการ และ ภาคประชาสังคม ในการกำหนดโยบายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของเยาวชนและนักศึกษา โดยเน้นให้เยาวชนมีความตระหนักในคุณค่าของ “ความรักที่บริสุทธิ์ สถาบันครอบครัว จิตสาธารณะ ความกตัญญูต่อพ่อแม่ บุพการี และต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์”











วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความเป็นมาของ "หอประวัติศาสตร์อุบลราชธานีศรีวะนาไล"

ความเป็นมา
"หอประวัติศาสตร์อุบลราชธานีศรีวะนาไล"
โดย นายสุรพล สายพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี 



 ความเป็นมาของ "หอประวัติศาสตร์อุบลราชธานีศรีวะนาไล" (อาคารโรงเรียนเบ็ญะจะมะมหาราชเดิม) บังเอิญผมไม่ใช่นักประวัติศาสตร์เพียงแต่เป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์จริงเพราะฉะนั้นเรื่องราวการก่อสร้างอาคารนี้รูปแบบสีวัสดุต่างๆ ผมจะข้ามไปเพราะมีหลายท่านเคยเขียนลงตามที่ต่างๆ ผมเคยศึกษาที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชซึ่งขณะนั้นใช้อาคารไม้หลังนี้เป็นอาคารเรียนของทุกห้องทุกชั้นบนอาคารไม้นี้มีห้องน้ำเฉพาะของครูอาจารย์ อาคารฝึกงาน อาคารเกษตร ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียน แยกสร้างไปต่างหาก อาคารฝึกงานเป็นอาคารชั้นเดียว (ข้างสำนักงานธนารักษ์ใหม่ปัจจุบัน) อาคารเกษตรอยู่ด้านหลังพร้อมอาคารห้องน้ำ(บริเวณอาคารสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาเขต 1 ปัจจุบัน)  ด้านหน้ามีเสาธงใหญ่ (ตามรูปแบบลักษณะเห็นในปัจจุบันเสาธงที่ทำขึ้นใหม่ตามรูปแบบและขนาดแบบเดิม)ผมเรียนตั้งแต่ม.ศ. 1 ถึงม.ศ.5 โดยม.ศ. 1- ม.ศ. 3 เรียนอยู่ห้องชั้นล่างด้านหลัง(ฝั่งที่ว่าการอำเภอเมืองติดแทงค์น้ำคอนกรีตที่เห็นอยู่ปัจจุบัน (และเคยใช้น้ำดื่มจากแทงค์นี้)  ส่วนม.ศ.4 -ม.ศ. 5 เรียนชั้นบนห้องมุขกลางที่มีป้ายชื่อโรงเรียนในปัจจุบัน (ป้ายนี้ก็เป็นป้ายดั้งเดิม)  สนามด้านหน้าเป็นที่เตะฟุตบอลกันสมัยนั้นไม่มีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(เดิมในวันปิยมหาราชใช้ทุ่งศรีเมืองเป็นที่ทำพิธีถวายบังคมพระบรมรูปพระบาทถาวรแล้วสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ใช้พระบรมรูปขนาดใหญ่ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่จัดทำขึ้นและมอบให้จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อใช้ประกอบพิธีโดยมีการทำแท่นชั่วคราวเพื่อประดิษฐานชั่วคราว
   ต่อมาภายหลังศาลากลางจังหวัดหลังใหม่(หลังที่ถูกเผา)และมีพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นการถาวรจึงได้ย้ายมาทำพิธีตรงหน้าศาลากลางจังหวัดใหม่พระบรมรูปที่ใช้ปรกอบพิธีเดิมก็ประดิษฐานที่ห้องทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อมาย้ายออกมาประดิษฐานที่ห้องประชุมเล็กภายหลังนายอำเภอเมืองอุบลราชธานีได้ขอมาจัดตั้งประดิษฐานหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองอุบลราชธานีในปัจจุบัน (ซึ่งยังมีคำจารึกอยู่)  ส่วนศาลากลางจังหวัดหลังเดิมเมื่อสร้างศาลากลางจังหวัดหลังใหม่เสร็จแล้วได้ยกให้เป็นที่ว่าการอำเภอเมืองอุบลราชธานี  (ผมมีโอกาสมาฝึกงานปลัดอำเภอตอนปิดเทอมปี 3 มาฝึกงาน 1 เดือนกับท่านมนไท ประมูลจักโก อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีขณะนั้นท่านเป็นปลัดอำเภอโทฝ่ายทะเบียน) 
เรื่องราวคงจะยาวแต่ขออนุญาตตัดมาช่วงที่ผมมีโอกาสกลับมาทำงานที่บ้านเกิดโดยท่านอดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราขธานีท่านสุนัย ณ อุบล ให้ความเมตตาย้ายผมจากจังหวัดมหาสารคามมาเป็นนายอำเภอหัวตะพาน(ขณะนั้นเป็นเขตปกครองของจังหวัดอุบลราชธานียังไม่แยกเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ)  อาคารไม้โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชใช้เป็นที่ทำการสัสดีจังหวัดห้องประชุมอำเภอเมืองอุบลราขธานี ศูนย์สื่อสารภูมิภาคกรมการปกครองและที่ทำการกอ.รมน. จังหวัดอุบลราชธานี และเป็นที่เก็บวัสดุคุรุภัณฑ์ที่ไม่ใช้แล้วอาคารก็ทรุดโทรมตามสภาพช่วงเป็นนายอำเภอ 14 ปี 5 อำเภอที่จังหวัดอุบลราชธานีได้รับทราบจากผู้หลักผู้ใหญ่ศิษย์เก่าโรงเรียนว่าไม่อยากให้รื้อเสียดายอยากให้อนุรักษ์ไว้จนกระทั่งผมได้ย้ายออกจากจังหวัดอุบลราชธานีไปเผชิญโลกกว้างที่ชัยภูมิ พังงา และตราดรวม 7 ปี ได้ย้ายกลับมาเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีเห็นสภาพอาคารที่ทรุดโทรมและทราบอย่างไม่เป็นทางการว่าเคยเสนอเรื่องขอบูรณะแต่ไม่ผ่านเลยปรึกษากับผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือหลายท่านว่าจะเสนอเรื่องบูรณะเข้าไปใหม่พร้อมปรับปรุงข้อมูลและประมาณการเฉพาะส่วนที่จำเป็นก่อนหลังจากเสนอไปพร้อมประสานงานกับหลายๆ ฝ่ายแล้วต่อมาทราบว่ากรมศิลปากรอนุมัติและดำเนินการประกวดราคาพร้อมควบคุมการบูรณะพร้อมกับขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเพราะความเก่าแก่และรูปทรงสถาปัตยกรรมที่ไม่เหมือนใคร
หลังจากบูรณะเสร็จพร้อมกับเกิดเหตุการณ์จลาจลเป็นโชคดีที่อาคารนี้ไม่ถูกเผาไปด้วย (ขณะนั้นยังไม่มีการตรวจรับงานบูรณะ ขออนุญาตไม่พูดเรื่องปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติ)   หลังจากศาลากลางจังหวัดที่ถูกไฟไหม้เผาผลาญและทุบทิ้งหลายคนคิดตรงกันคือที่นี่จะเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองที่จะบอกกล่าวเรื่องราวของอุบลราชธานี ท่านศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ วิโรจน์กูฏ ขณะนั้นเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (และเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช) เป็นผู้ประสานงานต่อ ผมได้จัดพิธีลงนามดูแลอาคารร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆและจัดนิทรรศการ 1 ครั้ง กรมศิลปากรมาจัดแสดงโขนชุดใหญ่ผมเองก็ให้ย้ายเวทีกลางในงานปีใหม่จังหวัดจากที่เคยอยู่ริมรั้วมาตั้งด้านหน้าอาคารนี้แทนและบอกว่าไม่ต้องมีฉากหลังใช้อาคารนี้เป็นฉากหลังได้เลยจนภาพงานปีใหม่อุบลราชธานีไปปรากฏในสื่อต่างๆและได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ยอดเยี่ยม รวมทั้งขอความร่วมมือเทศบาลนครอุบลราชธานีจัดไฟส่องสว่างแบบโบราณสถานขอให้เทศบาลนครช่วยทำเสาธงตามแบบรูปเดิมณสถานที่เดิม(เป็นเสาธงเดียวในประเทศไทยที่มีลักษณะแบบนี้)   รวมทั้งได้จัดนิทรรศการพร้อมการแสดงแสงสีเสียงอีกครั้งหนึ่งโดยความตั้งใจจะให้เป็นนิทรรศการทั้งแบบถาวรและแบบหมุนเวียนซึ่งงานวันนั้นได้เชิญอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี อดีตครูอาจารย์ และศิษย์เก่าโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชมาร่วมเป็นเกียรติในงานพร้อมกับนักเรียนรุ่นปัจจุบันและหลังจากนั้นก็ได้ขอให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุบลราชธานีช่วยทำป้ายอาคารหลังนี้ว่า "หอประวัติศาสตร์อุบลราชธานีศรีวะนาไลย" (แทนคำว่า"พิพิธภัณฑ์เมือง" เพราะคิดว่าคำน่าจะเหมาะสมกว่าความจริงก็มีความหมายเหมือนกันและ "อุบลราชธานีศรีวะนาไลย" ก็ตรงกับคำจารึกในพระบรมราชโองการ)  มีการปรับปรุงระบบไฟที่เสาธงและพระบรมราชานุสาวรีย์ใหม่ รวมทั้งเคยกราบทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารี ถึงความเป็นมาในการบูรณะพร้อมภาพถ่ายอาคารหลังนี้และขอกราบทูลเชิญเปิดอาคารนี้เมื่อจัดภายในเสร็จเรียบร้อยเมื่อคราวที่พระองค์เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีพร้อมกับทอดพระเนตรนิทรรศการต่างๆ
มาถึงวันนี้พ้นหน้าที่ราชการแล้วปี 2557 ได้มีแนวความคิดให้นักเรียนโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชมาถวายบังคมและถวายตัวหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5  ปี 2558 มีนักเรียนโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชและโรงเรียนเตรียมอดมศึกษาพัฒนาการอุบลราชธานีร่วมกันทำพิธีถวายบังคมและถวายตัวเล่าให้ฟังว่าคิดและทำอะไรไปแล้วปี 2558 ที่ผ่านมาถึงเป็นวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารีพระชนมายุ 60 พรรษา หากถือเป็นมิ่งมงคลนำโครงการ "หอประวัติศาสตร์อุบลราชธานีศรีวนาไล" เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติยศพร้อมกับกราบทูลทรงเปิดอาคารนี้อย่างเป็นทางการน่าจะเหมาะสมสิ่งเหล่านี้ฝากผู้ที่เกี่ยวข้องจะสานต่องานครับ




รับชมรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับ 
"หอประวัติศาสตร์อุบลราชธานีศรีวะนาไล" ได้ที่ https://www.facebook.com/ubonratchathani.historymuseum/photos_albums

หรือ QR code



วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

ลำดับความเป็นมาของการจัดตั้งอุทยานธรณีผาชันสามพันโบกอุบลราชธานี

ลำดับความเป็นมาของการจัดตั้งอุทยานธรณีผาชันสามพันโบกอุบลราชธานี
โดย นายสุรพล สายพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
  








10 เมษายน 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตรหมู่บ้านกันดารจังหวัดอุบลราชธานี คือ บ้านดงนา อำเภอศรีเมืองใหม่ และบ้านปากลา อำเภอโขงเจียม รวม 2 หมู่บ้านและเป็นการเสด็จทางเรือตามลำน้ำโขงครั้งแรกโดยขบวนเรือที่กองทัพเรือ(หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงอุบลราธานี)จัดถวายโดยเสด็จลงเรือที่บ้านสำโรงอำเภอโพธิ์ไทรผ่านพื้นที่อุทยานธรณี ได้แก่บ้านสำโรง บ้านผาชัน อำเภอโพธิ์ไทร เสด็จแวะเยี่ยมโรงเรียนบ้านดงนา อำเภอศรีเมืองใหม่(สังกัดการประถมศึกษาแห่งชาติในขณะนั้น) และโรงเรียนบ้านปากลา(สังกัดตำรวจตระเวณชายแดน) ตลอดจนเยี่ยมราษฎรทั้งสองหมู่บ้านที่พระราชทานความช่วยเหลือ (ช่วงผ่านบ้านผาชันทอดพระเนตรชาวบ้านใช้ชีวิตตามแผ่นหินและตกปลาตามชะง่อนผามีรับสั่งกับผู้ตามเสด็จว่านี่ไหงเป็นมนุษย์หินตัวจริงเพราะถ้าเป็นพระองค์ท่านประทับอยู่แบบเขาคงตกน้ำไปแล้ว
19 เมษายน 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยี่ยมหมู่บ้านกันดารเป็นครั้งที่สองโดยเสด็จโดยพระบาทจากบ้านหุ่งหลวงอำเภอศรีเมืองใหม่ไปบ้านโหง่นขามจากนั้นประทับฮอพระที่นั่งไปบ้านดงนาแล้วเสด็จโดยขบวนเรือที่กองทัพเรือจัดถวายจากบ้านดงนา อำเภอศรีเมืองใหม่ ไปบ้านปากลา อำเภอโขงเจียม แล้วประทับฮอพระที่นั่งกลับที่ประทับแรมที่เขื่อนสิรินทร (หลังจากนั้นเสด็จเยี่ยมหมู่บ้านในพื้นที่นี้อีกหลายครั้งโดยฮอพระที่นั่ง)
ปี 2545 ธงไชย แมคอินไตย์ ได้มาถ่ายทำโฆษณาโดยใช้สถานที่สามพันโบกเป็นฉากทำให้สามพันโบกเป็นที่รู้จักและมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวมากโดยเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวต่อจากผาแต้ม




ปี 2536 ดร.วราวุทธ สุธีทร ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไดโนเสาร์พร้อมผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศได้มาขุดค้นโครงกระดูกขนาดใหญ่ที่ป่าบ้านทุ่งบุญ ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่และนำไปพิสูจน์พบว่าซากไดโนเสาร์พันธุ์อีกัวโนดอนและพบว่าอายุน้อยที่สุดของประเทศไทยเป็นพันธุ์อีโกนัวดอนอายุประมาณ 100 ล้านปี
ปี 2554  มีผู้นำเสนอว่าบริเวณพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานีโดยเฉพาะบริเวณผาชันสามพันโบกน่าจะได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีนายสุรพล สายพันธ์ (ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้น) จึงได้อนุมัติงบประมาณพัฒนาจังหวัดจำนวน 1 ล้านบาทและได้มอบหมายให้นายยุทธ ศรทัตต์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ธรณีวิทยากรมทรัพยากรธรณีและคณะพร้อมด้วยทีมจังหวัอุบลราขธานีนำโดยนายสมชาย เสงี่ยมศักดิ์ อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี(ซึ่งเรียนจบสาขาวิศวกรรมเหมืองแร่จากจุฬาฯ และศึกษาต่อด้าน remote sensing จากประเทศเนเทอร์แลนด์และเคยทำงานที่กรมทรัพยากรธรณี)และทีมงานร่วมสำรวจและประสานงาน
จากการสำรวจเห็นว่าโครงการจัดตั้งอุทยานธรณีอุบลราขธานีสมควรจะครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ คือ อำเภอโพิ์ไทร อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอสิรินทร อำเภอโขงเจียม และพื้นที่บางส่วนคาบเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติผาแต้มอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะวนอุทยานผาหลวงพื้นที่สาธารณะเขตป่าสงวนเขตปฎิรูปที่ดินเพราะมีพื้นที่เกี่ยวเนื่องกันมีทั้งแหล่งไดโนเสาร์ยุคสุดท้ายของประเทศเสาเฉลียงใหญ่ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์น้ำตกถ้ำหินทราย(ถ้ำที่พบส่วนใหญ่เป็นหินปูน)   ลานหินที่หลอมละลายจนเปล่งประกายฯลฯพร้อมได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ทั้วภาษาไทยภาษาอังกฤษและใช้ผลงานนี้ไปอ้างอิงในการประชุมทางวิชาการทั้งในประเทศและการประชุมนานาชาติหลายครั้งรวมทั้งถวายรายงานที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ปี 2554 จังหวัดอุบลราชธานีประกาศจัดตั้ง "อุทยานธรณีผาชันสามพันโบก"ตามข้อเสนอของทีมสำรวจและได้ใช้ชื่อผาชันสามพันโบกเพราะพื้นที่หลักๆ อยู่บริเวณประกอบชื่อสามพันโบกเป็นที่รู้กันทั่วไป
ปี 2555 ได้จัดแสดงแสงสีเสียงตำนานอุทยานธรณีที่บริเวณสามพันโบก อำเภอโพธิ์ไทร
ปี 2555-2558  สร้างอาคารสำหรับการบริการนักท่องเที่ยวและเป็นที่ทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สามพันโบกและบ้านผาชันโดยใช้งบประมาณพัฒนาจังหวัด
ปี 2555  กรมทรัพยากรธรณีได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยขอนแก่นศึกษาและออกแบบพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์เพื่อจะจัดหางบประมาณมาก่อสร้างที่บ้านทุ่งบุญตำบลนาคำอำเภอศรีเมืองใหม่ 
(ดูข้อมูลประกอบ ได้ที่ www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1583298)
ปี 2555 กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ว่าจ้างบริษัท Urban Space ศึกษาและออกแบบจัดทำผังเมืองบริเวณอุทยานธรณีผาชันสามพันโบกจากผลสรุปสุดท้ายศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจะอยู่ที่บ้านนาโพธิ์กลางตำบลนาโพธิกลางพร้อมกับมีท่าเรือศูนยเรียนรู้ศูนย์บริการที่ทำงานของหน่วยต่างอยูทั่วไป
ปี 2557-ปัจจุบัน มีการประสานหน่วยงานต่างๆเพื่อให้เข้าสนับสนุนการจัดอุทยานธรณีทั้งด้านแผนงานกิจกรรมและงานทางวิชาการจัดกิจกรรมโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องโดยมอบหมายให้โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชเป็นโรงเรียนพี่ของโรงเรียนบ้านดงนาโรงเรียนอัญสัมชัญอุบลราชธานีเป็นโรงเรียนพี่โรงเรียนบ้านโหง่นขามวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานีช่วยจัดทำเสารับส่งเครือข่ายวิทยุอาร์เรดิโอที่โรงเรียนบ้านโหง่นขามต่อมาวิทยาลัยเทคนิคตระการพืชผลและวิทยาลัยการอาชีพเขมราฐรับผิดชอบบ้านดงนาและบ้านโหง่นขามตามลำดับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานีจัดกิจกรรมส่งเสริมการเกษตรฯหน่วยงานเหล่านี้ได้เข้าเสริมในกิจกรรมที่ส่วนราชการเฉพาะได้ดำเนินการอยู่แล้ว
ปี 2558  มีการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวหาดทรายสูงอำเภอเขมราฐหาดชมดาวอำเภอนาตาลซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกันจึงเห็นว่าระหว่างรอการประกาศจัดตั้งอุทยานธรณีเป็นระดับประเทศน่าจะผนวกพื้นที่นี้ไปในคราวเดียวกัน
ปี 2558   10 เมษายน 2558  อำเภอโพธิ์ไทรได้จัดกิจกรรมตามรอยเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทางเรือเหมือนเหตุการณ์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2535  (จัดกิจกรรมเฉพาะช่วงจากบ้านสำโรงไปยังบ้านผาชันอำเภอโพธิ์ไทร)
และในปีเดียวกันวิทยาลัยพยาบาลราชชนนีอุบลราชธานีและวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินทรได้นำนักศึกษาจัดกิจกรรมตามรอยเสด็จฯ จากบ้านหุ่งหลวงไปยังบ้านโหง่นขามและบ้านดงนาอำเภอศรีเมืองใหม่
คุณค่าของอุทยานธรณีผาชันสามพันโบกนอกเหนือจากการศึกษาทางธรณีวิทยาการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์มนุษยวิทยาชนเผ่า (มีชนเผ่าบูรเป็นชนเผ่าไม่มีภาษาเขียน มีแต่ภาษาพูด)  ประเพณีและวัฒนธรรมแล้วยังเป็นพื้นที่ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จทรงงานเป็นประจำเกือบทุกปีมีหมู่บ้านและโรงเรียนในพระราชานุเคราะห์ในพื้นที่นี้เคยกราบทูลด้วยวาจาเพื่อน้อมถวายเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาในคราวที่พระองค์ท่านเสด็จเป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และในคราวเสด็จเปิดการประชุมยุวเกษตรกรแห่งชาติที่วิทยาลัยเกษตรแบะเทคโนโลยี่อุบลราชธานี
นอกจากนี้ ผศ.ดร.พิเชษฐ์ จันทรทิพรักษ์ อาจารย์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยซึ่งมาร่วมงานในโครงการนี้เมื่อ พ.ศ. 2557 เคยถวายรายงานในคราวที่พระองค์ท่านเสด็จเป็นการส่วนพระองค์วันสถาปนาที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26  มีนาคม 2558  พร้อมกับถวายรายงานขอพระราชทานชื่อและได้ถวายรายงานความคืบหน้าเป็นส่วนพระองค์อีกหลายครั้งทรงถามถึงความคืบหน้าโดยตลอด
สรุปส่งท้าย
เนื่องจากกิจกรรมและพื้นที่อุทยานธรณีเป็นเรื่องใหม่เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายหน่วยไม่มีกฎหมายเป็นการเฉพาะแต่อ้างอิงเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับลักษณะงานทั้งเชิงการท่องเที่ยวเชิงการศึกษาวิจัยทั้งด้านธรณีวิทยาเชิงดึกดำบรรพวิทยาเชิงสังคมและมนุษยวิทยาการจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีนี้เบื้องต้นเป็นรวมตัวเชิงทำงานร่วมมือกันเชิง Virtual Boundary แต่ละหน่วยงานทำงานตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ปกติของตนเองแต่มีประสานความร่วมมือกันเพื่อเป้าหมายเชิงอนุรักษ์และเพื่อการศึกษาวิจัยเป็นหลัก
เนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระปรีชาด้านธรณีวิทยาและเป็นพื้นที่ที่ทรงงานเป็นประจำทรงคุ้นเคยพื้นที่นี้จากที่ทรงมีพระดำรัสถามหมู่บ้านต่างๆทรงจำเหตุการณ์ได้ควรจะนำโครงการน้อมเกล้าถวายพร้อมขอพระราชทานนามอย่างเป็นทางการ
บุคคลที่ทราบข้อมูลเพิ่มเติม
พลเรือโทประทีป ชื่นอารมย์รน อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ(ขณะนั้นเป็นนาวาเอกผูบังคับการหน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงอุบลราธานี ) ผู้ขับเรือพระที่นั่ง(เรือBP) ทั้งสองครั้ง
นายสุรพล สายพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีอดีตนายอำเภอศรีเมืองใหม่
นายอำนาจ ส่งเสริม อดีตนายอำเภอโพธิ์ไทร
นายเสนีย์ จิตตเกษม อดีตนายอำเภอโขงเจียม
นายธรธรร เสาวโกมุท อดีตป้องกันจังหวัดอุบลราชธานี
นพ.สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี


สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ "ผาชัน สามพันโบก" 
ผ่าน Fan Page Facbook : Pha-Chan-Sampan Bok
หรือ QR code






วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

ผาชัน-อุบลราชธานี ทำไมถึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ?

ผาชัน-อุบลราชธานี ทำไมถึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ?

หากว่าท่านใดยังไม่ทราบว่ามีความสำคัญอย่างไร ต้องดูข้อมูลต่อไปนี้ 









 ข้อมูลอ้างอิง  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จฯ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๓๕ 




ข้อมูลอ้างอิง  : เกี่ยวกับบ้านผาชัน  


 ที่มาของภาพ http://osotho.blogspot.com/2013/10/blog-post.html


ข้อมูลอ้างอิง http://www.slideshare.net/mpsrivirat/ss-42025310 









ข้อมูลอ้างอิง  https://www.youtube.com/watch?v=6eKx-LR3LA4


ข้อมูลอ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=-ZkWdS-D5EI 

ข้อมูลอ้างอิง หนังสือพิมพ์คมชัดลึก



สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ "ผาชัน" 
ผ่าน Fan Page Facbook : Pha Chan - ผาชัน