วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

ลำดับความเป็นมาของการจัดตั้งอุทยานธรณีผาชันสามพันโบกอุบลราชธานี

ลำดับความเป็นมาของการจัดตั้งอุทยานธรณีผาชันสามพันโบกอุบลราชธานี
โดย นายสุรพล สายพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
  








10 เมษายน 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตรหมู่บ้านกันดารจังหวัดอุบลราชธานี คือ บ้านดงนา อำเภอศรีเมืองใหม่ และบ้านปากลา อำเภอโขงเจียม รวม 2 หมู่บ้านและเป็นการเสด็จทางเรือตามลำน้ำโขงครั้งแรกโดยขบวนเรือที่กองทัพเรือ(หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงอุบลราธานี)จัดถวายโดยเสด็จลงเรือที่บ้านสำโรงอำเภอโพธิ์ไทรผ่านพื้นที่อุทยานธรณี ได้แก่บ้านสำโรง บ้านผาชัน อำเภอโพธิ์ไทร เสด็จแวะเยี่ยมโรงเรียนบ้านดงนา อำเภอศรีเมืองใหม่(สังกัดการประถมศึกษาแห่งชาติในขณะนั้น) และโรงเรียนบ้านปากลา(สังกัดตำรวจตระเวณชายแดน) ตลอดจนเยี่ยมราษฎรทั้งสองหมู่บ้านที่พระราชทานความช่วยเหลือ (ช่วงผ่านบ้านผาชันทอดพระเนตรชาวบ้านใช้ชีวิตตามแผ่นหินและตกปลาตามชะง่อนผามีรับสั่งกับผู้ตามเสด็จว่านี่ไหงเป็นมนุษย์หินตัวจริงเพราะถ้าเป็นพระองค์ท่านประทับอยู่แบบเขาคงตกน้ำไปแล้ว
19 เมษายน 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยี่ยมหมู่บ้านกันดารเป็นครั้งที่สองโดยเสด็จโดยพระบาทจากบ้านหุ่งหลวงอำเภอศรีเมืองใหม่ไปบ้านโหง่นขามจากนั้นประทับฮอพระที่นั่งไปบ้านดงนาแล้วเสด็จโดยขบวนเรือที่กองทัพเรือจัดถวายจากบ้านดงนา อำเภอศรีเมืองใหม่ ไปบ้านปากลา อำเภอโขงเจียม แล้วประทับฮอพระที่นั่งกลับที่ประทับแรมที่เขื่อนสิรินทร (หลังจากนั้นเสด็จเยี่ยมหมู่บ้านในพื้นที่นี้อีกหลายครั้งโดยฮอพระที่นั่ง)
ปี 2545 ธงไชย แมคอินไตย์ ได้มาถ่ายทำโฆษณาโดยใช้สถานที่สามพันโบกเป็นฉากทำให้สามพันโบกเป็นที่รู้จักและมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวมากโดยเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวต่อจากผาแต้ม




ปี 2536 ดร.วราวุทธ สุธีทร ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไดโนเสาร์พร้อมผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศได้มาขุดค้นโครงกระดูกขนาดใหญ่ที่ป่าบ้านทุ่งบุญ ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่และนำไปพิสูจน์พบว่าซากไดโนเสาร์พันธุ์อีกัวโนดอนและพบว่าอายุน้อยที่สุดของประเทศไทยเป็นพันธุ์อีโกนัวดอนอายุประมาณ 100 ล้านปี
ปี 2554  มีผู้นำเสนอว่าบริเวณพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานีโดยเฉพาะบริเวณผาชันสามพันโบกน่าจะได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีนายสุรพล สายพันธ์ (ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้น) จึงได้อนุมัติงบประมาณพัฒนาจังหวัดจำนวน 1 ล้านบาทและได้มอบหมายให้นายยุทธ ศรทัตต์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ธรณีวิทยากรมทรัพยากรธรณีและคณะพร้อมด้วยทีมจังหวัอุบลราขธานีนำโดยนายสมชาย เสงี่ยมศักดิ์ อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี(ซึ่งเรียนจบสาขาวิศวกรรมเหมืองแร่จากจุฬาฯ และศึกษาต่อด้าน remote sensing จากประเทศเนเทอร์แลนด์และเคยทำงานที่กรมทรัพยากรธรณี)และทีมงานร่วมสำรวจและประสานงาน
จากการสำรวจเห็นว่าโครงการจัดตั้งอุทยานธรณีอุบลราขธานีสมควรจะครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ คือ อำเภอโพิ์ไทร อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอสิรินทร อำเภอโขงเจียม และพื้นที่บางส่วนคาบเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติผาแต้มอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะวนอุทยานผาหลวงพื้นที่สาธารณะเขตป่าสงวนเขตปฎิรูปที่ดินเพราะมีพื้นที่เกี่ยวเนื่องกันมีทั้งแหล่งไดโนเสาร์ยุคสุดท้ายของประเทศเสาเฉลียงใหญ่ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์น้ำตกถ้ำหินทราย(ถ้ำที่พบส่วนใหญ่เป็นหินปูน)   ลานหินที่หลอมละลายจนเปล่งประกายฯลฯพร้อมได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ทั้วภาษาไทยภาษาอังกฤษและใช้ผลงานนี้ไปอ้างอิงในการประชุมทางวิชาการทั้งในประเทศและการประชุมนานาชาติหลายครั้งรวมทั้งถวายรายงานที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ปี 2554 จังหวัดอุบลราชธานีประกาศจัดตั้ง "อุทยานธรณีผาชันสามพันโบก"ตามข้อเสนอของทีมสำรวจและได้ใช้ชื่อผาชันสามพันโบกเพราะพื้นที่หลักๆ อยู่บริเวณประกอบชื่อสามพันโบกเป็นที่รู้กันทั่วไป
ปี 2555 ได้จัดแสดงแสงสีเสียงตำนานอุทยานธรณีที่บริเวณสามพันโบก อำเภอโพธิ์ไทร
ปี 2555-2558  สร้างอาคารสำหรับการบริการนักท่องเที่ยวและเป็นที่ทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สามพันโบกและบ้านผาชันโดยใช้งบประมาณพัฒนาจังหวัด
ปี 2555  กรมทรัพยากรธรณีได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยขอนแก่นศึกษาและออกแบบพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์เพื่อจะจัดหางบประมาณมาก่อสร้างที่บ้านทุ่งบุญตำบลนาคำอำเภอศรีเมืองใหม่ 
(ดูข้อมูลประกอบ ได้ที่ www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1583298)
ปี 2555 กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ว่าจ้างบริษัท Urban Space ศึกษาและออกแบบจัดทำผังเมืองบริเวณอุทยานธรณีผาชันสามพันโบกจากผลสรุปสุดท้ายศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจะอยู่ที่บ้านนาโพธิ์กลางตำบลนาโพธิกลางพร้อมกับมีท่าเรือศูนยเรียนรู้ศูนย์บริการที่ทำงานของหน่วยต่างอยูทั่วไป
ปี 2557-ปัจจุบัน มีการประสานหน่วยงานต่างๆเพื่อให้เข้าสนับสนุนการจัดอุทยานธรณีทั้งด้านแผนงานกิจกรรมและงานทางวิชาการจัดกิจกรรมโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องโดยมอบหมายให้โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชเป็นโรงเรียนพี่ของโรงเรียนบ้านดงนาโรงเรียนอัญสัมชัญอุบลราชธานีเป็นโรงเรียนพี่โรงเรียนบ้านโหง่นขามวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานีช่วยจัดทำเสารับส่งเครือข่ายวิทยุอาร์เรดิโอที่โรงเรียนบ้านโหง่นขามต่อมาวิทยาลัยเทคนิคตระการพืชผลและวิทยาลัยการอาชีพเขมราฐรับผิดชอบบ้านดงนาและบ้านโหง่นขามตามลำดับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานีจัดกิจกรรมส่งเสริมการเกษตรฯหน่วยงานเหล่านี้ได้เข้าเสริมในกิจกรรมที่ส่วนราชการเฉพาะได้ดำเนินการอยู่แล้ว
ปี 2558  มีการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวหาดทรายสูงอำเภอเขมราฐหาดชมดาวอำเภอนาตาลซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกันจึงเห็นว่าระหว่างรอการประกาศจัดตั้งอุทยานธรณีเป็นระดับประเทศน่าจะผนวกพื้นที่นี้ไปในคราวเดียวกัน
ปี 2558   10 เมษายน 2558  อำเภอโพธิ์ไทรได้จัดกิจกรรมตามรอยเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทางเรือเหมือนเหตุการณ์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2535  (จัดกิจกรรมเฉพาะช่วงจากบ้านสำโรงไปยังบ้านผาชันอำเภอโพธิ์ไทร)
และในปีเดียวกันวิทยาลัยพยาบาลราชชนนีอุบลราชธานีและวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินทรได้นำนักศึกษาจัดกิจกรรมตามรอยเสด็จฯ จากบ้านหุ่งหลวงไปยังบ้านโหง่นขามและบ้านดงนาอำเภอศรีเมืองใหม่
คุณค่าของอุทยานธรณีผาชันสามพันโบกนอกเหนือจากการศึกษาทางธรณีวิทยาการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์มนุษยวิทยาชนเผ่า (มีชนเผ่าบูรเป็นชนเผ่าไม่มีภาษาเขียน มีแต่ภาษาพูด)  ประเพณีและวัฒนธรรมแล้วยังเป็นพื้นที่ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จทรงงานเป็นประจำเกือบทุกปีมีหมู่บ้านและโรงเรียนในพระราชานุเคราะห์ในพื้นที่นี้เคยกราบทูลด้วยวาจาเพื่อน้อมถวายเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาในคราวที่พระองค์ท่านเสด็จเป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และในคราวเสด็จเปิดการประชุมยุวเกษตรกรแห่งชาติที่วิทยาลัยเกษตรแบะเทคโนโลยี่อุบลราชธานี
นอกจากนี้ ผศ.ดร.พิเชษฐ์ จันทรทิพรักษ์ อาจารย์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยซึ่งมาร่วมงานในโครงการนี้เมื่อ พ.ศ. 2557 เคยถวายรายงานในคราวที่พระองค์ท่านเสด็จเป็นการส่วนพระองค์วันสถาปนาที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26  มีนาคม 2558  พร้อมกับถวายรายงานขอพระราชทานชื่อและได้ถวายรายงานความคืบหน้าเป็นส่วนพระองค์อีกหลายครั้งทรงถามถึงความคืบหน้าโดยตลอด
สรุปส่งท้าย
เนื่องจากกิจกรรมและพื้นที่อุทยานธรณีเป็นเรื่องใหม่เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายหน่วยไม่มีกฎหมายเป็นการเฉพาะแต่อ้างอิงเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับลักษณะงานทั้งเชิงการท่องเที่ยวเชิงการศึกษาวิจัยทั้งด้านธรณีวิทยาเชิงดึกดำบรรพวิทยาเชิงสังคมและมนุษยวิทยาการจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีนี้เบื้องต้นเป็นรวมตัวเชิงทำงานร่วมมือกันเชิง Virtual Boundary แต่ละหน่วยงานทำงานตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ปกติของตนเองแต่มีประสานความร่วมมือกันเพื่อเป้าหมายเชิงอนุรักษ์และเพื่อการศึกษาวิจัยเป็นหลัก
เนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระปรีชาด้านธรณีวิทยาและเป็นพื้นที่ที่ทรงงานเป็นประจำทรงคุ้นเคยพื้นที่นี้จากที่ทรงมีพระดำรัสถามหมู่บ้านต่างๆทรงจำเหตุการณ์ได้ควรจะนำโครงการน้อมเกล้าถวายพร้อมขอพระราชทานนามอย่างเป็นทางการ
บุคคลที่ทราบข้อมูลเพิ่มเติม
พลเรือโทประทีป ชื่นอารมย์รน อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ(ขณะนั้นเป็นนาวาเอกผูบังคับการหน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงอุบลราธานี ) ผู้ขับเรือพระที่นั่ง(เรือBP) ทั้งสองครั้ง
นายสุรพล สายพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีอดีตนายอำเภอศรีเมืองใหม่
นายอำนาจ ส่งเสริม อดีตนายอำเภอโพธิ์ไทร
นายเสนีย์ จิตตเกษม อดีตนายอำเภอโขงเจียม
นายธรธรร เสาวโกมุท อดีตป้องกันจังหวัดอุบลราชธานี
นพ.สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี


สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ "ผาชัน สามพันโบก" 
ผ่าน Fan Page Facbook : Pha-Chan-Sampan Bok
หรือ QR code






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น