ชื่อเรื่องวันนี้หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมถึงเป็น "ศิลปวัฒนธรรมเมืองนักปราชญ์ราชธานี" ซึ่งผู้เขียนก็ไม่ได้เป็นผู้เ่ชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม และไม่ใช่นักปราชญ์ แล้วก็ไม่ใช่คนเมืองราชธานี อย่างไรก็ดี ผู้เขียนคิดว่าจะเขียนเรื่องดังกล่าวเป็นโครงการเพื่ออาจจะเป็นประโยชน์ต่อเมืองอุบลราชธานีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปรับใช้เพื่อให้เป็นรูปธรรม โดยมีรายละเอียดตามข้างล่างต่อไปนี้ ครับ
หลักการและเหตุผล
ตามที่ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ
พระบรมราชินีนาถ ได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการทำความดี
ด้านการเรียนรู้เพื่อประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบอาชีพในพื้นที่ชายแดน
ดังนี้
“...เมืองไทยเดี๋ยวนี้ประชาชนมากเหลือเกิน
๖๕ ล้าน แล้วก็รอบๆ
ตามชายแดนก็ยังมีคนที่ยากจนมาก จึงคิดว่าต้องพยายามหาอาชีพให้เขาทำ
ให้ทุกคนมีงานทำ โดยเสริมสร้างให้เขามีความรู้ความชำนาญการทำศิลปะหลายอย่างที่กำลังจะสูญหายไปจากประเทศไทย...” (พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๑
สิงหาคม ๒๕๕๐)
และนโยบายของรัฐบาลที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันอังคารที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ข้อ ๔.๔
นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
๔.๔.๓
อนุรักษ์ ทำนุบำรุง และบูรณปฏิสังขรณ์แหล่งศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่เป็นเอกลักษณ์และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ รวมถึงอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะการแสดง และ ข้อ ข้อ ๖. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การวิจัย และนวัตกรรม ๖.๑ เร่งพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้
โดยพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้ประชาชนได้ใช้ในชีวิตประจำวันให้ทัดเทียมกับพัฒนาการในระดับนานาชาติ
จัดให้มีแหล่งความรู้สาธารณะเพิ่มขึ้นทั้งในรูปองค์กร เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
สิ่งพิมพ์ และผ่านทางเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนยกมาตรฐานการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับ
จะเห็นว่าศิลปะและวัฒนธรรม
นั้น เป็นสิ่งสำคัญของประเทศชาติที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ไว้
สำหรับจังหวัดอุบลราชธานีในด้านศิลปวัฒนธรรมนั้นจังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองราชธานีที่มีประวัติอันยาวนานเกี่ยวข้องกับศิลปะมาตั้งแต่โบราณกาล
ตามคำขวัญของจังหวัดที่ว่า "เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย
หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์"
โดยที่ผาแต้มนั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติอันล้ำค่าของประเทศไทย นอกจากนั้น
จังหวัดอุบลราชธานีได้กำหนดวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาจังหวัด คือ “ชุมชนเข้มแข็ง เมืองน่าอยู่
เป็นประตูการค้าและการท่องเที่ยว การเกษตรมีศักยภาพ” พร้อมทั้งกำหนดนโยบาย ๔ นคร
ประกอบด้วย "นครแห่งธรรม
นครแห่งเทียน นครแห่งการพัฒนา นครแห่งความฮักแพง" ซึ่งจะเห็นว่าวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ว่า
“เมืองน่าอยู่” นั้น จะต้องประกอบด้วยด้านการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม
อันจะสอดคล้องกับนโยบาย ๔ นคร เช่นกัน
เมื่อกล่าวถึงศิลปวัฒนธรรมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเชื่อมโยงกับพื้นที่ต่างๆ ทั้งใกล้และไกลของจังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน โดยที่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า "หุ้นส่วนเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน” โดยที่หุ้นส่วนเศรษฐกิจหากมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศเพื่อนบ้านแล้ว จะเกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อพร้อมที่เป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งในปีดังกล่าวอยู่ในช่วงระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ที่จะเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับการเป็นประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วยเสาหลัก คือ (๑)ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community–ASC) (๒) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) (๓) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC)
ดังนั้น การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมที่สามารถเชื่อมโยงกับการเป็นประชาคมอาเซียนในด้านสังคม-วัฒนธรรม ที่จังหวัดอุบลราชธานีมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานีมีวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ “เป็นประตูการค้า การท่องเที่ยว” และวิสัยทัศน์ของกลุ่มจังหวัดก็กำหนดให้เกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ “หุ้นส่วนเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน” ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในฐานะที่ได้เป็นส่วนหนึ่งร่วมกับกรมศิลปากร และกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุบลราชธานี เบ็ญจะมะมหาราชสมาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี หอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เทศบาลนครอุบลราชธานี ภูมิพลังเมืองอุบลราชธานีและองค์กรพหุภาคี ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ การดำเนินการดูแลรักษาโบราณสถานอาคารราชพัสดุ (โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชเดิม) ซึ่งอาคารดังกล่าวได้ถูกประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๕ จึงขอเสนอจัดให้มีการดำเนินโครงการ “ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเมืองนักปราชญ์ราชธานี เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา มหาราชินี” ณ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช (หลังเดิม) โดยการจัดทำโครงการดังกล่าวเป็นการน้อมนำพระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา เป็นการดำเนินการตามวิสัยทัศน์ของจังหวัดอุบลราชธานีและกลุ่มจังหวัด เป็นการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ และยุทธศาสตร์การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘
วัตถุประสงค์
๑.
เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ๘๐ พรรษา ในปี พ.ศ.๒๕๕๕
๒.
เพื่อเป็นการน้อมนำพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้า
ฯ พระบรมราชินีนาถ ในประเด็น “เสริมสร้างให้เขามีความรู้ความชำนาญการทำศิลปะหลายอย่างที่กำลังจะสูญหายไปจากประเทศไทย”
๓.
เพื่อเป็นการศึกษาวิจัยศิลปวัฒนธรรมของเมืองนักปราชญ์ราชธานี
๔.
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับนักเรียนประถมศึกษา
มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาในรูปแบบสื่อดิจิตอล
๕.
เพื่อเป็นแหล่งเชื่อมโยงส่งเสริมอาชีพด้านศิลปวัฒนธรรมนำสู่การพัฒนาสินค้า
OTOP สำหรับประชาคมอาเซียน
๖.
เพื่อพัฒนาอาคารเก่าโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
เป็นศูนย์กลางในการสืบสานศิลปวัฒนธรรมเมืองนักปราชญ์ราชธานี
๗.
เพื่อพัฒนาอาคารดังกล่าวเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานีในรูปแบบที่ทันสมัย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑.
ทำให้ประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีได้สำนักในพระมหากรุณาธิคุณและเฉลิมพระเกียรติในวโรกาส
สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ๘๐ พรรษา ในปี พ.ศ.๒๕๕๕
๒.
ทำให้เกิดการเสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้ความชำนาญการทำศิลปะหลายอย่างที่กำลังจะสูญหายไปจากประเทศไทย”
๓.
ทำให้เกิดการศึกษาวิจัยศิลปวัฒนธรรมของเมืองนักปราชญ์ราชธานี
๔.
ทำให้มีแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับนักเรียนประถมศึกษา
มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาในรูปแบบสื่อดิจิตอล
๕.
ทำให้มีแหล่งเชื่อมโยงส่งเสริมอาชีพด้านศิลปวัฒนธรรมนำสู่การพัฒนาสินค้า
OTOP สำหรับประชาคมอาเซียน
๖.
ทำให้เกิดการพัฒนาอาคารเก่าโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
เป็นศูนย์กลางในการสืบสานศิลปวัฒนธรรมเมืองนักปราชญ์ราชธานี
๗.
ทำให้สามารถพัฒนาอาคารดังกล่าวเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานีในรูปแบบที่ทันสมัย
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๑.
จังหวัดอุบลราชธานี
๒.
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
๓.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
๔.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
๕.
เทศบาลนครอุบลราชธานี
๖.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี
๗.
กรมศิลปากร
๘.
สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
และโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
๙.
ส่วนราชการอื่นๆ
๑๐.
ภาคเอกชน
ภาคประชาชน
หมายเหตุ
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เป็นหน่วยงานกลางในการประสานดำเนินการ และเป็นฝ่ายเลขานุการดำเนินงาน
หมายเหตุ แหล่งเงินงบประมาณสนับสนุน
- สำนักงบประมาณ
- จังหวัดอุบลราชธานี
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
- เทศบาลนครอุบลราชธานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น