หลักการและเหตุผล
สืบเนื่องกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (อุบลราชธานี
ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า
"หุ้นส่วนเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน” และกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดอุบลราชธานี
ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : การผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตร โดยมียุทธศาสตร์ประกอบด้วยการปรับโครงสร้างและสร้างหุ้นส่วนการผลิตกับประเทศเพื่อนบ้าน
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : การท่องเที่ยวและบริการ โดยมียุทธศาสตร์ประกอบด้วยการสร้างหุ้นส่วนการท่องเที่ยวและบริการกับประเทศเพื่อนบ้าน
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : พัฒนาสินค้า OTOP และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานีประกอบด้วยประเด็นดังนี้
(๑) การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (๒) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (๓) การส่งเสริมการค้า การลงทุน และท่องเที่ยว (๔) การพัฒนาการเกษตรและการแปรรูปสินค้าเกษตร (๕) การพัฒนาระบบบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (๖) การเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
นอกจากยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัดอุบลราชธานีข้างต้นแล้ว
ในประเด็นด้านศิลปะและวัฒนธรรม นั้น
เป็นสิ่งสำคัญของประเทศชาติที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ไว้
โดยด้านศิลปวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองราชธานีที่มีประวัติอันยาวนานเกี่ยวข้องกับศิลปะมาตั้งแต่โบราณกาล
ตามคำขวัญของจังหวัดที่ว่า "เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย
หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา
ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์" จังหวัดอุบลราชธานีได้กำหนดวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาจังหวัด
คือ “ชุมชนเข้มแข็ง
เมืองน่าอยู่ เป็นประตูการค้าและการท่องเที่ยว การเกษตรมีศักยภาพ” พร้อมทั้งกำหนดนโยบาย
๔ นคร ประกอบด้วย "นครแห่งธรรม นครแห่งเทียน นครแห่งการพัฒนา
นครแห่งความฮักแพง" ซึ่งจะเห็นว่าวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ว่า “เมืองน่าอยู่”
นั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนในจังหวัดอุบลราชธานีจะต้องให้ความสำคัญในการเตรียมการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นเมืองน่าอยู่
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งการเป็นประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก คือ (๑)ประชาคมความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN Security Community–ASC) (๒) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) (๓) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural
Community-ASCC) ทั้งนี้ ในปีดังกล่าวอยู่ในช่วงระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่
๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙) โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
จังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ที่มีความพร้อมในการเชื่อมต่อกับประเทศในภูมิภาคไม่ว่าจะเป็นลาวและกัมพูชาอันสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศอื่นๆ
เช่น เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากนั้น
ในด้านการศึกษาเพื่อสอดรับการนโยบายนครแห่งการพัฒนานั้นสามารถที่จัดทำหลักสูตรวิชา
“อุบลฯ ศึกษา” เพื่อใช้สำหรับการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
อีกทั้งเป็นการดำเนินการที่สอดรับกับการเป็นประชาคมอาเซียนสังคม-วัฒนธรรม
ดังนั้น เพื่อหัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน
และตัวแทนภาคประชาชนของจังหวัดอุบลราชธานี
ได้แลกเปลี่ยนความรู้ข้อเสนอแนะในด้านพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปี
พ.ศ. ๒๕๕๘ จึงเห็นควรให้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ
“อนาคต. . . อุบลราชธานี” ในวันพฤหัสบดีที่
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๓๐-๑๒.๐๐ น.
วัตถุประสงค์
๑.
เพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการ
ตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน และตัวแทนภาคประชาชนของจังหวัดอุบลราชธานี
ได้รับทราบทิศทางการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานีในอนาคต
๒.
เพื่อเกิดให้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมเสนอข้อคิดเห็นประเด็นการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานีในการรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนใน
พ.ศ.๒๕๕๘
๓.
เพื่อนำข้อคิดและข้อเสนอแนะไปประกอบการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี
ระยะเวลาดำเนินการ
วันที่ ๓๑
พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๓๐-๑๒.๐๐ น.
สถานที่ดำเนินการ
ห้องแกรนด์บอลรูม
อาคารเทพรัตนสิริปภา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑.
ทำให้หัวหน้าส่วนราชการ
ตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน และตัวแทนภาคประชาชนของจังหวัดอุบลราชธานี
ได้รับทราบทิศทางการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานีในอนาคต
๒.
ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมเสนอข้อคิดเห็นประเด็นการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานีในการรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนใน
พ.ศ.๒๕๕๘
๓.
ทำให้สามารถนำข้อคิดและข้อเสนอแนะไปประกอบการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนูญ
ศรีวิรัตน์)
รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและชุมสัมพันธ์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ผู้เสนอโครงการ
(นายสุรพล สายพันธ์)
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
ผู้อนุมัติโครงการ
(ร่าง) การประชุมเชิงปฏิบัติการ
“อนาคต...อุบลราชธานี”
วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕
ณ ห้องแกรนด์บอลรูม
อาคารเทพรัตนสิริปภา (โรงแรม) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
๐๘.๐๐-๐๘.๓๐ น.
ลงทะเบียน
๐๘.๓๐-๐๙.๐๐ น. พิธีเปิดโดย พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์
พร้อม บรรยายพิเศษ “ทิศทางการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี”
ในฐานะนายกสมาคมชาวอุบลราชธานี
๐๙.๐๐-๐๙.๓๐ น. ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายสุรพล
สายพันธ์)
บรรยายพิเศษ
“มุมมองผู้ว่าฯ ต่ออนาคตอุบลฯ”
๐๙.๓๐-๑๐.๐๐ น. การพัฒนาอุบลราชธานีในด้านสังคมและวัฒนธรรม
โดยอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
๑๐.๐๐-๑๐.๓๐ น. อุบลฯ กับ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โดยประธานที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี
๑๐.๓๐-๑๑.๐๐ น. การจัดทำผังเมืองและเส้นทางการขนส่งเพื่อรองรับอนาคตของอุบลฯ
โดยผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เสนอแนะการพัฒนาอุบลราชธานี
ผู้ดำเนินรายการ :
รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและชุมชนสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น