วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความเป็นมาของ "หอประวัติศาสตร์อุบลราชธานีศรีวะนาไล"

ความเป็นมา
"หอประวัติศาสตร์อุบลราชธานีศรีวะนาไล"
โดย นายสุรพล สายพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี 



 ความเป็นมาของ "หอประวัติศาสตร์อุบลราชธานีศรีวะนาไล" (อาคารโรงเรียนเบ็ญะจะมะมหาราชเดิม) บังเอิญผมไม่ใช่นักประวัติศาสตร์เพียงแต่เป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์จริงเพราะฉะนั้นเรื่องราวการก่อสร้างอาคารนี้รูปแบบสีวัสดุต่างๆ ผมจะข้ามไปเพราะมีหลายท่านเคยเขียนลงตามที่ต่างๆ ผมเคยศึกษาที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชซึ่งขณะนั้นใช้อาคารไม้หลังนี้เป็นอาคารเรียนของทุกห้องทุกชั้นบนอาคารไม้นี้มีห้องน้ำเฉพาะของครูอาจารย์ อาคารฝึกงาน อาคารเกษตร ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียน แยกสร้างไปต่างหาก อาคารฝึกงานเป็นอาคารชั้นเดียว (ข้างสำนักงานธนารักษ์ใหม่ปัจจุบัน) อาคารเกษตรอยู่ด้านหลังพร้อมอาคารห้องน้ำ(บริเวณอาคารสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาเขต 1 ปัจจุบัน)  ด้านหน้ามีเสาธงใหญ่ (ตามรูปแบบลักษณะเห็นในปัจจุบันเสาธงที่ทำขึ้นใหม่ตามรูปแบบและขนาดแบบเดิม)ผมเรียนตั้งแต่ม.ศ. 1 ถึงม.ศ.5 โดยม.ศ. 1- ม.ศ. 3 เรียนอยู่ห้องชั้นล่างด้านหลัง(ฝั่งที่ว่าการอำเภอเมืองติดแทงค์น้ำคอนกรีตที่เห็นอยู่ปัจจุบัน (และเคยใช้น้ำดื่มจากแทงค์นี้)  ส่วนม.ศ.4 -ม.ศ. 5 เรียนชั้นบนห้องมุขกลางที่มีป้ายชื่อโรงเรียนในปัจจุบัน (ป้ายนี้ก็เป็นป้ายดั้งเดิม)  สนามด้านหน้าเป็นที่เตะฟุตบอลกันสมัยนั้นไม่มีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(เดิมในวันปิยมหาราชใช้ทุ่งศรีเมืองเป็นที่ทำพิธีถวายบังคมพระบรมรูปพระบาทถาวรแล้วสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ใช้พระบรมรูปขนาดใหญ่ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่จัดทำขึ้นและมอบให้จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อใช้ประกอบพิธีโดยมีการทำแท่นชั่วคราวเพื่อประดิษฐานชั่วคราว
   ต่อมาภายหลังศาลากลางจังหวัดหลังใหม่(หลังที่ถูกเผา)และมีพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นการถาวรจึงได้ย้ายมาทำพิธีตรงหน้าศาลากลางจังหวัดใหม่พระบรมรูปที่ใช้ปรกอบพิธีเดิมก็ประดิษฐานที่ห้องทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อมาย้ายออกมาประดิษฐานที่ห้องประชุมเล็กภายหลังนายอำเภอเมืองอุบลราชธานีได้ขอมาจัดตั้งประดิษฐานหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองอุบลราชธานีในปัจจุบัน (ซึ่งยังมีคำจารึกอยู่)  ส่วนศาลากลางจังหวัดหลังเดิมเมื่อสร้างศาลากลางจังหวัดหลังใหม่เสร็จแล้วได้ยกให้เป็นที่ว่าการอำเภอเมืองอุบลราชธานี  (ผมมีโอกาสมาฝึกงานปลัดอำเภอตอนปิดเทอมปี 3 มาฝึกงาน 1 เดือนกับท่านมนไท ประมูลจักโก อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีขณะนั้นท่านเป็นปลัดอำเภอโทฝ่ายทะเบียน) 
เรื่องราวคงจะยาวแต่ขออนุญาตตัดมาช่วงที่ผมมีโอกาสกลับมาทำงานที่บ้านเกิดโดยท่านอดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราขธานีท่านสุนัย ณ อุบล ให้ความเมตตาย้ายผมจากจังหวัดมหาสารคามมาเป็นนายอำเภอหัวตะพาน(ขณะนั้นเป็นเขตปกครองของจังหวัดอุบลราชธานียังไม่แยกเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ)  อาคารไม้โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชใช้เป็นที่ทำการสัสดีจังหวัดห้องประชุมอำเภอเมืองอุบลราขธานี ศูนย์สื่อสารภูมิภาคกรมการปกครองและที่ทำการกอ.รมน. จังหวัดอุบลราชธานี และเป็นที่เก็บวัสดุคุรุภัณฑ์ที่ไม่ใช้แล้วอาคารก็ทรุดโทรมตามสภาพช่วงเป็นนายอำเภอ 14 ปี 5 อำเภอที่จังหวัดอุบลราชธานีได้รับทราบจากผู้หลักผู้ใหญ่ศิษย์เก่าโรงเรียนว่าไม่อยากให้รื้อเสียดายอยากให้อนุรักษ์ไว้จนกระทั่งผมได้ย้ายออกจากจังหวัดอุบลราชธานีไปเผชิญโลกกว้างที่ชัยภูมิ พังงา และตราดรวม 7 ปี ได้ย้ายกลับมาเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีเห็นสภาพอาคารที่ทรุดโทรมและทราบอย่างไม่เป็นทางการว่าเคยเสนอเรื่องขอบูรณะแต่ไม่ผ่านเลยปรึกษากับผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือหลายท่านว่าจะเสนอเรื่องบูรณะเข้าไปใหม่พร้อมปรับปรุงข้อมูลและประมาณการเฉพาะส่วนที่จำเป็นก่อนหลังจากเสนอไปพร้อมประสานงานกับหลายๆ ฝ่ายแล้วต่อมาทราบว่ากรมศิลปากรอนุมัติและดำเนินการประกวดราคาพร้อมควบคุมการบูรณะพร้อมกับขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเพราะความเก่าแก่และรูปทรงสถาปัตยกรรมที่ไม่เหมือนใคร
หลังจากบูรณะเสร็จพร้อมกับเกิดเหตุการณ์จลาจลเป็นโชคดีที่อาคารนี้ไม่ถูกเผาไปด้วย (ขณะนั้นยังไม่มีการตรวจรับงานบูรณะ ขออนุญาตไม่พูดเรื่องปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติ)   หลังจากศาลากลางจังหวัดที่ถูกไฟไหม้เผาผลาญและทุบทิ้งหลายคนคิดตรงกันคือที่นี่จะเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองที่จะบอกกล่าวเรื่องราวของอุบลราชธานี ท่านศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ วิโรจน์กูฏ ขณะนั้นเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (และเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช) เป็นผู้ประสานงานต่อ ผมได้จัดพิธีลงนามดูแลอาคารร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆและจัดนิทรรศการ 1 ครั้ง กรมศิลปากรมาจัดแสดงโขนชุดใหญ่ผมเองก็ให้ย้ายเวทีกลางในงานปีใหม่จังหวัดจากที่เคยอยู่ริมรั้วมาตั้งด้านหน้าอาคารนี้แทนและบอกว่าไม่ต้องมีฉากหลังใช้อาคารนี้เป็นฉากหลังได้เลยจนภาพงานปีใหม่อุบลราชธานีไปปรากฏในสื่อต่างๆและได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ยอดเยี่ยม รวมทั้งขอความร่วมมือเทศบาลนครอุบลราชธานีจัดไฟส่องสว่างแบบโบราณสถานขอให้เทศบาลนครช่วยทำเสาธงตามแบบรูปเดิมณสถานที่เดิม(เป็นเสาธงเดียวในประเทศไทยที่มีลักษณะแบบนี้)   รวมทั้งได้จัดนิทรรศการพร้อมการแสดงแสงสีเสียงอีกครั้งหนึ่งโดยความตั้งใจจะให้เป็นนิทรรศการทั้งแบบถาวรและแบบหมุนเวียนซึ่งงานวันนั้นได้เชิญอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี อดีตครูอาจารย์ และศิษย์เก่าโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชมาร่วมเป็นเกียรติในงานพร้อมกับนักเรียนรุ่นปัจจุบันและหลังจากนั้นก็ได้ขอให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุบลราชธานีช่วยทำป้ายอาคารหลังนี้ว่า "หอประวัติศาสตร์อุบลราชธานีศรีวะนาไลย" (แทนคำว่า"พิพิธภัณฑ์เมือง" เพราะคิดว่าคำน่าจะเหมาะสมกว่าความจริงก็มีความหมายเหมือนกันและ "อุบลราชธานีศรีวะนาไลย" ก็ตรงกับคำจารึกในพระบรมราชโองการ)  มีการปรับปรุงระบบไฟที่เสาธงและพระบรมราชานุสาวรีย์ใหม่ รวมทั้งเคยกราบทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารี ถึงความเป็นมาในการบูรณะพร้อมภาพถ่ายอาคารหลังนี้และขอกราบทูลเชิญเปิดอาคารนี้เมื่อจัดภายในเสร็จเรียบร้อยเมื่อคราวที่พระองค์เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีพร้อมกับทอดพระเนตรนิทรรศการต่างๆ
มาถึงวันนี้พ้นหน้าที่ราชการแล้วปี 2557 ได้มีแนวความคิดให้นักเรียนโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชมาถวายบังคมและถวายตัวหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5  ปี 2558 มีนักเรียนโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชและโรงเรียนเตรียมอดมศึกษาพัฒนาการอุบลราชธานีร่วมกันทำพิธีถวายบังคมและถวายตัวเล่าให้ฟังว่าคิดและทำอะไรไปแล้วปี 2558 ที่ผ่านมาถึงเป็นวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารีพระชนมายุ 60 พรรษา หากถือเป็นมิ่งมงคลนำโครงการ "หอประวัติศาสตร์อุบลราชธานีศรีวนาไล" เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติยศพร้อมกับกราบทูลทรงเปิดอาคารนี้อย่างเป็นทางการน่าจะเหมาะสมสิ่งเหล่านี้ฝากผู้ที่เกี่ยวข้องจะสานต่องานครับ




รับชมรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับ 
"หอประวัติศาสตร์อุบลราชธานีศรีวะนาไล" ได้ที่ https://www.facebook.com/ubonratchathani.historymuseum/photos_albums

หรือ QR code



วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

ลำดับความเป็นมาของการจัดตั้งอุทยานธรณีผาชันสามพันโบกอุบลราชธานี

ลำดับความเป็นมาของการจัดตั้งอุทยานธรณีผาชันสามพันโบกอุบลราชธานี
โดย นายสุรพล สายพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
  








10 เมษายน 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตรหมู่บ้านกันดารจังหวัดอุบลราชธานี คือ บ้านดงนา อำเภอศรีเมืองใหม่ และบ้านปากลา อำเภอโขงเจียม รวม 2 หมู่บ้านและเป็นการเสด็จทางเรือตามลำน้ำโขงครั้งแรกโดยขบวนเรือที่กองทัพเรือ(หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงอุบลราธานี)จัดถวายโดยเสด็จลงเรือที่บ้านสำโรงอำเภอโพธิ์ไทรผ่านพื้นที่อุทยานธรณี ได้แก่บ้านสำโรง บ้านผาชัน อำเภอโพธิ์ไทร เสด็จแวะเยี่ยมโรงเรียนบ้านดงนา อำเภอศรีเมืองใหม่(สังกัดการประถมศึกษาแห่งชาติในขณะนั้น) และโรงเรียนบ้านปากลา(สังกัดตำรวจตระเวณชายแดน) ตลอดจนเยี่ยมราษฎรทั้งสองหมู่บ้านที่พระราชทานความช่วยเหลือ (ช่วงผ่านบ้านผาชันทอดพระเนตรชาวบ้านใช้ชีวิตตามแผ่นหินและตกปลาตามชะง่อนผามีรับสั่งกับผู้ตามเสด็จว่านี่ไหงเป็นมนุษย์หินตัวจริงเพราะถ้าเป็นพระองค์ท่านประทับอยู่แบบเขาคงตกน้ำไปแล้ว
19 เมษายน 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยี่ยมหมู่บ้านกันดารเป็นครั้งที่สองโดยเสด็จโดยพระบาทจากบ้านหุ่งหลวงอำเภอศรีเมืองใหม่ไปบ้านโหง่นขามจากนั้นประทับฮอพระที่นั่งไปบ้านดงนาแล้วเสด็จโดยขบวนเรือที่กองทัพเรือจัดถวายจากบ้านดงนา อำเภอศรีเมืองใหม่ ไปบ้านปากลา อำเภอโขงเจียม แล้วประทับฮอพระที่นั่งกลับที่ประทับแรมที่เขื่อนสิรินทร (หลังจากนั้นเสด็จเยี่ยมหมู่บ้านในพื้นที่นี้อีกหลายครั้งโดยฮอพระที่นั่ง)
ปี 2545 ธงไชย แมคอินไตย์ ได้มาถ่ายทำโฆษณาโดยใช้สถานที่สามพันโบกเป็นฉากทำให้สามพันโบกเป็นที่รู้จักและมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวมากโดยเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวต่อจากผาแต้ม




ปี 2536 ดร.วราวุทธ สุธีทร ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไดโนเสาร์พร้อมผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศได้มาขุดค้นโครงกระดูกขนาดใหญ่ที่ป่าบ้านทุ่งบุญ ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่และนำไปพิสูจน์พบว่าซากไดโนเสาร์พันธุ์อีกัวโนดอนและพบว่าอายุน้อยที่สุดของประเทศไทยเป็นพันธุ์อีโกนัวดอนอายุประมาณ 100 ล้านปี
ปี 2554  มีผู้นำเสนอว่าบริเวณพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานีโดยเฉพาะบริเวณผาชันสามพันโบกน่าจะได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีนายสุรพล สายพันธ์ (ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้น) จึงได้อนุมัติงบประมาณพัฒนาจังหวัดจำนวน 1 ล้านบาทและได้มอบหมายให้นายยุทธ ศรทัตต์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ธรณีวิทยากรมทรัพยากรธรณีและคณะพร้อมด้วยทีมจังหวัอุบลราขธานีนำโดยนายสมชาย เสงี่ยมศักดิ์ อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี(ซึ่งเรียนจบสาขาวิศวกรรมเหมืองแร่จากจุฬาฯ และศึกษาต่อด้าน remote sensing จากประเทศเนเทอร์แลนด์และเคยทำงานที่กรมทรัพยากรธรณี)และทีมงานร่วมสำรวจและประสานงาน
จากการสำรวจเห็นว่าโครงการจัดตั้งอุทยานธรณีอุบลราขธานีสมควรจะครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ คือ อำเภอโพิ์ไทร อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอสิรินทร อำเภอโขงเจียม และพื้นที่บางส่วนคาบเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติผาแต้มอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะวนอุทยานผาหลวงพื้นที่สาธารณะเขตป่าสงวนเขตปฎิรูปที่ดินเพราะมีพื้นที่เกี่ยวเนื่องกันมีทั้งแหล่งไดโนเสาร์ยุคสุดท้ายของประเทศเสาเฉลียงใหญ่ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์น้ำตกถ้ำหินทราย(ถ้ำที่พบส่วนใหญ่เป็นหินปูน)   ลานหินที่หลอมละลายจนเปล่งประกายฯลฯพร้อมได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ทั้วภาษาไทยภาษาอังกฤษและใช้ผลงานนี้ไปอ้างอิงในการประชุมทางวิชาการทั้งในประเทศและการประชุมนานาชาติหลายครั้งรวมทั้งถวายรายงานที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ปี 2554 จังหวัดอุบลราชธานีประกาศจัดตั้ง "อุทยานธรณีผาชันสามพันโบก"ตามข้อเสนอของทีมสำรวจและได้ใช้ชื่อผาชันสามพันโบกเพราะพื้นที่หลักๆ อยู่บริเวณประกอบชื่อสามพันโบกเป็นที่รู้กันทั่วไป
ปี 2555 ได้จัดแสดงแสงสีเสียงตำนานอุทยานธรณีที่บริเวณสามพันโบก อำเภอโพธิ์ไทร
ปี 2555-2558  สร้างอาคารสำหรับการบริการนักท่องเที่ยวและเป็นที่ทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สามพันโบกและบ้านผาชันโดยใช้งบประมาณพัฒนาจังหวัด
ปี 2555  กรมทรัพยากรธรณีได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยขอนแก่นศึกษาและออกแบบพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์เพื่อจะจัดหางบประมาณมาก่อสร้างที่บ้านทุ่งบุญตำบลนาคำอำเภอศรีเมืองใหม่ 
(ดูข้อมูลประกอบ ได้ที่ www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1583298)
ปี 2555 กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ว่าจ้างบริษัท Urban Space ศึกษาและออกแบบจัดทำผังเมืองบริเวณอุทยานธรณีผาชันสามพันโบกจากผลสรุปสุดท้ายศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจะอยู่ที่บ้านนาโพธิ์กลางตำบลนาโพธิกลางพร้อมกับมีท่าเรือศูนยเรียนรู้ศูนย์บริการที่ทำงานของหน่วยต่างอยูทั่วไป
ปี 2557-ปัจจุบัน มีการประสานหน่วยงานต่างๆเพื่อให้เข้าสนับสนุนการจัดอุทยานธรณีทั้งด้านแผนงานกิจกรรมและงานทางวิชาการจัดกิจกรรมโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องโดยมอบหมายให้โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชเป็นโรงเรียนพี่ของโรงเรียนบ้านดงนาโรงเรียนอัญสัมชัญอุบลราชธานีเป็นโรงเรียนพี่โรงเรียนบ้านโหง่นขามวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานีช่วยจัดทำเสารับส่งเครือข่ายวิทยุอาร์เรดิโอที่โรงเรียนบ้านโหง่นขามต่อมาวิทยาลัยเทคนิคตระการพืชผลและวิทยาลัยการอาชีพเขมราฐรับผิดชอบบ้านดงนาและบ้านโหง่นขามตามลำดับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานีจัดกิจกรรมส่งเสริมการเกษตรฯหน่วยงานเหล่านี้ได้เข้าเสริมในกิจกรรมที่ส่วนราชการเฉพาะได้ดำเนินการอยู่แล้ว
ปี 2558  มีการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวหาดทรายสูงอำเภอเขมราฐหาดชมดาวอำเภอนาตาลซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกันจึงเห็นว่าระหว่างรอการประกาศจัดตั้งอุทยานธรณีเป็นระดับประเทศน่าจะผนวกพื้นที่นี้ไปในคราวเดียวกัน
ปี 2558   10 เมษายน 2558  อำเภอโพธิ์ไทรได้จัดกิจกรรมตามรอยเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทางเรือเหมือนเหตุการณ์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2535  (จัดกิจกรรมเฉพาะช่วงจากบ้านสำโรงไปยังบ้านผาชันอำเภอโพธิ์ไทร)
และในปีเดียวกันวิทยาลัยพยาบาลราชชนนีอุบลราชธานีและวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินทรได้นำนักศึกษาจัดกิจกรรมตามรอยเสด็จฯ จากบ้านหุ่งหลวงไปยังบ้านโหง่นขามและบ้านดงนาอำเภอศรีเมืองใหม่
คุณค่าของอุทยานธรณีผาชันสามพันโบกนอกเหนือจากการศึกษาทางธรณีวิทยาการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์มนุษยวิทยาชนเผ่า (มีชนเผ่าบูรเป็นชนเผ่าไม่มีภาษาเขียน มีแต่ภาษาพูด)  ประเพณีและวัฒนธรรมแล้วยังเป็นพื้นที่ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จทรงงานเป็นประจำเกือบทุกปีมีหมู่บ้านและโรงเรียนในพระราชานุเคราะห์ในพื้นที่นี้เคยกราบทูลด้วยวาจาเพื่อน้อมถวายเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาในคราวที่พระองค์ท่านเสด็จเป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และในคราวเสด็จเปิดการประชุมยุวเกษตรกรแห่งชาติที่วิทยาลัยเกษตรแบะเทคโนโลยี่อุบลราชธานี
นอกจากนี้ ผศ.ดร.พิเชษฐ์ จันทรทิพรักษ์ อาจารย์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยซึ่งมาร่วมงานในโครงการนี้เมื่อ พ.ศ. 2557 เคยถวายรายงานในคราวที่พระองค์ท่านเสด็จเป็นการส่วนพระองค์วันสถาปนาที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26  มีนาคม 2558  พร้อมกับถวายรายงานขอพระราชทานชื่อและได้ถวายรายงานความคืบหน้าเป็นส่วนพระองค์อีกหลายครั้งทรงถามถึงความคืบหน้าโดยตลอด
สรุปส่งท้าย
เนื่องจากกิจกรรมและพื้นที่อุทยานธรณีเป็นเรื่องใหม่เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายหน่วยไม่มีกฎหมายเป็นการเฉพาะแต่อ้างอิงเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับลักษณะงานทั้งเชิงการท่องเที่ยวเชิงการศึกษาวิจัยทั้งด้านธรณีวิทยาเชิงดึกดำบรรพวิทยาเชิงสังคมและมนุษยวิทยาการจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีนี้เบื้องต้นเป็นรวมตัวเชิงทำงานร่วมมือกันเชิง Virtual Boundary แต่ละหน่วยงานทำงานตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ปกติของตนเองแต่มีประสานความร่วมมือกันเพื่อเป้าหมายเชิงอนุรักษ์และเพื่อการศึกษาวิจัยเป็นหลัก
เนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระปรีชาด้านธรณีวิทยาและเป็นพื้นที่ที่ทรงงานเป็นประจำทรงคุ้นเคยพื้นที่นี้จากที่ทรงมีพระดำรัสถามหมู่บ้านต่างๆทรงจำเหตุการณ์ได้ควรจะนำโครงการน้อมเกล้าถวายพร้อมขอพระราชทานนามอย่างเป็นทางการ
บุคคลที่ทราบข้อมูลเพิ่มเติม
พลเรือโทประทีป ชื่นอารมย์รน อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ(ขณะนั้นเป็นนาวาเอกผูบังคับการหน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงอุบลราธานี ) ผู้ขับเรือพระที่นั่ง(เรือBP) ทั้งสองครั้ง
นายสุรพล สายพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีอดีตนายอำเภอศรีเมืองใหม่
นายอำนาจ ส่งเสริม อดีตนายอำเภอโพธิ์ไทร
นายเสนีย์ จิตตเกษม อดีตนายอำเภอโขงเจียม
นายธรธรร เสาวโกมุท อดีตป้องกันจังหวัดอุบลราชธานี
นพ.สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี


สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ "ผาชัน สามพันโบก" 
ผ่าน Fan Page Facbook : Pha-Chan-Sampan Bok
หรือ QR code






วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

ผาชัน-อุบลราชธานี ทำไมถึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ?

ผาชัน-อุบลราชธานี ทำไมถึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ?

หากว่าท่านใดยังไม่ทราบว่ามีความสำคัญอย่างไร ต้องดูข้อมูลต่อไปนี้ 









 ข้อมูลอ้างอิง  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จฯ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๓๕ 




ข้อมูลอ้างอิง  : เกี่ยวกับบ้านผาชัน  


 ที่มาของภาพ http://osotho.blogspot.com/2013/10/blog-post.html


ข้อมูลอ้างอิง http://www.slideshare.net/mpsrivirat/ss-42025310 









ข้อมูลอ้างอิง  https://www.youtube.com/watch?v=6eKx-LR3LA4


ข้อมูลอ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=-ZkWdS-D5EI 

ข้อมูลอ้างอิง หนังสือพิมพ์คมชัดลึก



สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ "ผาชัน" 
ผ่าน Fan Page Facbook : Pha Chan - ผาชัน

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

"อรุโณทยาน" ดีเยี่ยม

ท่านสมชาย เหล่าสายเชื้อ ประธานบริษัท โตโยต้าดีเยี่ยม จำกัด จะสร้าง "อรุโณทยาน" ให้เป็นอุทยานแสนสวยเพื่อเป็นที่พักผ่อนของคนอุบลราชธานี ในพื้นที่ ๓๐ ไร่โดยใช้งบส่วนตัวเบื้องต้นประมาณ ๗๕๐ ล้านบาทเพื่อทดแทนบุญคุณแผ่นดินเกิดและเป็นแหล่งพักผ่อนใหม่ของคนอุบลราชธานี (ที่มา Facebook นพภา พันธุุ์เพ็ง)














"อรุโณทยาน" เข้าใจว่า เป็นอุทยานแรกแห่งในสยาม (ขึ้นก่อนใครในสยาม คือ เมืองอุบล อันหมายถึงพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในสยาม) 

ดังนั้น จึงขอคารวะ ท่านประธานสมชาย เหล่าสายเชื้อ ดังนี้
(๑) *******************************
อรุโณทยาน  อุทยานสานสมชาย
สิ่งดีมีมากมาย  พร้อมบรรยายหลากหลายชม

พื้นที่ดีสร้างสรรค์  พร้อมแบ่งปันพลันชื่นชม
มาเยี่ยมอภิรมย์  คนนิยมสมคุณค่า

สร้างขึ้นทดแทนคุณ  นับเป็นบุญหนุนประชา
ทุกคนน้อมวันทา  สิ่งล้ำค่าพาเบิกบาน

พื้นที่มีทุกสิ่ง  ดีเยี่ยมจริงยิ่งสำราญ
ทุกคนมาร่วมสาน  มหาศาลบุญนี้เอย

(๒) **********************
อรุโณทยาน  อุทยานอันยิ่งใหญ่
ดีเยี่ยมเปี่ยมน้ำใจ  ขอมอบไว้ให้แผ่นดิน

ทดแทนคุณบ้านเมือง  ให้ลือเลื่องเนื่องได้ยิน
บุญคุณหนุนไม่สิ้น  ทั้งแผ่นดินจะต้องมา

ตั้งใจให้ทุกคน  เมืองอุบลขอวันทา
เป็นสิ่งทรงคุณค่า  ต้องนำพามาเที่ยวชม

สมชายเหล่าสายเชื้อ  จัดสร้างเพื่ออภิรมย์
ตั้งใจอย่างเหมาะสม  หวังนิยมชมนิรันดร์

บุญคุณที่ยิ่งใหญ่  อยู่ในใจใฝ่สร้างสรรค์
พร้อมสร้างต่างแบ่งปัน  ขอสุขสันต์กันทุกคน

อรุโณทยาน  เป็นตำนานสานอุบล
ได้ชมสุขกมล  มาอุบลดีเยี่ยมเอย

๑๗ มกราคม ๒๕๕๙
๐๘.๑๐ น.

รับชม VTR อรุโณทยานได้ที่ 
https://www.youtube.com/watch?v=0zXG7Hz_by8

ข้อมูลเกี่ยวกับท่านสมชาย เหล่าสายเชื้อ










โชคดีที่ได้รู้จักผู้ชายคนนี้ เขาชื่อ "สมชาย" และสมชายจริงๆ นะจะบอกให้ ไม่รู้บรรยายอย่างไร แต่งจากใจให้เลยดีกว่า
************************************************
เขาชื่อว่าสมชาย 
เคยเดียวดายยากจนก่อน
เด็กเล็กต้องเร่ร่อน 
จากเมืองนอนสู้ชีวิต

สกุลเหล่าสายเขื้อ 
มีเอื้อเฟื้ออยู่ในจิต
เรียนรู้ที่ถูกผิด 
เป็นข้อคิดค้าขายรถ

สมชายโตโยต้า 
เริ่มต้นมาด้วยทนอด
ซื่อสัตย์ไม่พูดปด 
ไม่ถือยศและจริงใจ

สมชายทำให้ดู 
ใฝ่เรียนรู้ในทุกวัย
เขาสู้ด้วยหัวใจ 
พร้อมใส่ใจในทุกกิจ

สมชายหัวใจเพชร 
เป็นจะเด็ดรบสิบทิศ
ชนะอยู่เป็นนิจ 
มีน้ำจิตในทุกเมื่อ

เขาคือผู้ยิ่งใหญ่ 
มีน้ำใจอันแผ่เผื่อ
สมชายเหล่าสายเชื้อ 
เขาคือเสือสั่งฟ้าเอย
๑๔ เมษายน ๒๕๕๖

อ้างอิง
๑. Secret นิตยสารรายปักษ์ ฉบับที่ ๑๑๕ วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๖ หน้า ๗๐-๗๒

๒. http://msrivirat.blogspot.com/2010/10/blog-post_12.html