วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

(ร่าง) บทสรุปผู้บริหารสำหรับการนำเสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรี (สัญจร) ณ จังหวัดสุรินทร์ ในเดือน กรกฏาคม ๒๕๕๕


จากการที่รัฐบาลของ ฯพณฯ นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔  ได้คำนึงถึงพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก โดยนโยบายของรัฐบาลมีจุดมุ่งหมาย ๓ ประการ คือ
ประการที่หนึ่ง เพื่อนำประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน การพัฒนาคุณภาพและสุขภาพคนไทยในทุกช่วงวัย ถือเป็นปัจจัยชี้ขาดความสามารถในการอยู่รอดและแข่งขันได้ของเศรษฐกิจไทย
ประการที่สอง เพื่อนำประเทศไทยสู่สังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท์ และอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรมที่เป็นมาตรฐานสากลเดียวกันและมีหลักปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ต่อประชาชนคนไทยทุกคน
ประการที่สาม เพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘ อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง
        อีกทั้ง จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๔๒๕๕๙) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ข้อ ๕.๕ ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม  โดยข้อ ๕.๕.๓ การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ การเป็นประชาคมอาเซียนนั้นประเทศไทยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานหลักในสาขาการท่องเที่ยว (Tourism) และสาขาการบิน (Air travel) ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ติดต่อประเทศประชาคมอาเซียน ๒ ประเทศ คือ ลาวและกัมพูชา จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินงานเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในด้านการท่องเที่ยว โดยมีการกำหนดสาระการท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานีเป็น “เที่ยวก่อนใครในสยาม” (เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานีมีพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในสยามที่ผาชะนะได)  อีกทั้ง สามารถที่จะกำหนดวิสัยทัศน์ของจังหวัดอุบลราชธานีในด้านการท่องเที่ยวเป็น “มหานครแห่งการท่องเที่ยวของอาเซียน” ทั้งนี้ เป็นมหานครแห่งการท่องเที่ยว ๓ ธ ประกอบด้วย (๑) ธ : ธรรมชาติ (เป็นการท่องเที่ยวแห่งธรรมชาติต่างของจังหวัดอุบลราชธานี) (๒) ธ : ธรรมะ (เป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมะ เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานี ขึ้นชื่อเป็นเมืองแห่งนักปราชญ์และเมืองแห่งธรรมะ มีแห่งเรียนรู้ด้านธรรมะมากมาย)  และ (๓) ธ : ธรรมดา (เป็นการท่องเที่ยวแห่งธรรมดาของชาวบ้านที่มีผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา วัฒนธรรม สินค้าพื้นถิ่น สินค้า OTOP และการท่องเที่ยว Home Stay กับชาวบ้านต่างที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่ที่ดีงาม)  
        ดังนั้น เพื่อเป็นการสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๔๒๕๕๙) และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานหลักในสาขาการท่องเที่ยว (Tourism) และสาขาการบิน (Air travel) ข้างต้น จังหวัดอุบลราชธานีจึงเสนอแผนงาน “การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนด้านการท่องเที่ยวและการบริการ” โดยมีโครงการดังต่อไปนี้
๑.    โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ ๖ ระหว่างจังหวัดอุบลราชธานี กับ แขวงสาละวัน
๒.    โครงการวางแผนให้มีถนนวงแหวนเลี่ยงเมือง
๓.    โครงการปรับปรุงระบบการจราจรให้เขตเทศบาลนครอุบลราชธานี
๔.    โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ของจังหวัดอุบลราชธานี (การปรับปรุงพื้นที่ศาลากลางหลังเดิมเป็นพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียว)
๕.    โครงการปรับปรุงโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
๖.    โครงการปรับปรุงท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี
๗.    โครงการพัฒนาประตูเมืองแสดงความรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา
๘.    โครงการพัฒนาแห่งท่องเที่ยว (การสร้างพระพุทธมณฑล การสร้างอุทยานบึงบัว การสร้างสวนสัตว์อุบลราชธานี การพัฒนาสามพันโบก การพัฒนาอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย การพัฒนาอุทยานแห่งชาติผาแต้ม การพัฒนาวัดภูเขาแก้ว เป็นต้น)
๙.    โครงการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
๑๐.                      โครงการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมในจังหวัดอุบลราชธานี
        โดยโครงการที่ ๑,,,,  และ ๘ จะเป็นการส่งเสริมด้านท่องเที่ยวแบบ ธ : ธรรมชาติ โครงการที่ ๗ และ ๘ (บางส่วน) จะส่งเสริมด้านท่องเที่ยวแบบ ธ : ธรรมะ และโครงการที่ ๑๐ (อุตสาหกรรมด้านสินค้า OTOP) จะส่งเสริมด้านท่องเที่ยวแบบ ธ : ธรรมดา  ทั้งนี้ โครงการที่ ๕, ๖ และ ๙ จะเป็นการส่งเสริมด้านการบริการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น