วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

อาลัยท่าน รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี


           ผมได้เห็นชื่อท่าน รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยอุบลราชธานี  สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งตอนนั้นผมเป็นนักเรียนทุนโครงการพัฒนาอาจารย์ของวิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขณะที่กำลังศึกษาระดับปริญญาโทที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่เคยเห็นหน้าตาท่านว่าเป็นคนอย่างไร แต่ในใจคิดว่าก็คงจะใจดีเพราะถ้าไม่อย่างนั้น วิทยาลัยอุบลราชธานีคงจะไม่พิจารณารับผมเป็นนักเรียนทุน เมื่อผมสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ก็เลือกวันที่จะมาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยเลือกวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๕ (ทั้งนี้ เนื่องจากเมืองอุบลราชธานีได้ถูกสถาปนาเป็น  “เมืองอุบลราชธานีศรีวนาไล ประเทศราช” เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๓๓๕) เพื่อจะได้ให้ตัวเองจำอะไรที่ง่ายๆ
            เมื่อกลับมารับใช้ทุนที่อุบลราชธานีเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๕ วิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมีท่าน รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ซึ่งคิดว่าเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศไทยที่อาจารย์ได้เห็นได้พบกับท่านอธิการบดีทุกๆ วัน  เพราะอาคารอเนกประสงค์ (คณะบริหารศาสตร์ในปัจจุบัน) เป็นทั้งอาคารสำนักงานอธิการบดี คณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ โครงการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ ห้องเรียน และโรงอาหาร และอื่นๆ   ผมเองก็คงคนหนึ่งที่โชคดีที่ได้พบกับท่านรศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี อธิการบดี เกือบทุกวัน (ยกเว้นที่ท่านไปราชการ และหรือผมไม่ไปราชการ) ท่านเป็นคนพิเศษที่เจอกันเมื่อไรจะพบกับรอยยิ้มของท่านเสมอ และที่สำคัญคือ ที่หน้าอกของท่านจะมีบัตรประจำตัวของท่านเป็นสีเหลืองตัวหนังสือเป็นสีดำ (เนื่องจากสมัยก่อนยังไม่มี Printer สี) ระบุว่าท่านชื่ออะไร  ก็เลยเป็นตัวอย่างทำให้ผมจะต้องมีบัตรประจำตัวและติดหน้าอกเหมือนกันกับท่าน นั่นเป็นตัวอย่างของผู้นำที่ดีที่ “เมื่อเป็นผู้นำ จะต้องทำให้ดู” และผู้ตามที่ดีจะต้อง “ดูผู้นำ แล้วทำตามในสิ่งที่ดี”
            ผมทำงานอยู่มหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๕ คิดว่าทำงานใช้ทุน ๔ ปี แล้วคงจะพอ เพราะมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีไม่มีอะไรเลยในขณะนั้น  แต่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗ ท่าน รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี อธิการบดี ได้อนุมัติให้ไปศึกษาดูงาน (พร้อมกับอาจารย์วุฒิณัฐ พรรักษมณี) ที่ The University of Akron, USA เป็นเวลาประมาณ ๑  เดือน และช่วงนี้แหละครับที่เป็นตอนสำคัญที่ผมและท่าน รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี อธิการบดี ได้มีความใกล้ชิดกันอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่สั้นๆ แต่ท่านก็ได้เป็นส่วนสำคัญในชีวิตของผมที่จะต้องมีการตัดสินใจและปรับเปลี่ยนทัศนคติเพื่ออนาคต ขณะที่ศึกษาดูงานที่  The University of Akron, USA ท่านรศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี อธิการบดี ได้แวะไปเยี่ยมและไปพักด้วยเป็นเวลา ๒-๓ วัน ผมโชคดีที่มีโอกาสได้ซักเสื้อผ้าให้ท่าน (ถึงแม้ว่าจะใช้เครื่องซักผ้า) ท่านบอกผมว่าให้อยู่ที่อเมริกาต่ออีกจะหาทุนเรียนต่อให้ โดยการเป็นอาจารย์จะต้องศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ผมเองคิดในใจว่า “ไม่เอาอีกแล้วการเรียนหนังสือ” แต่ท่าน รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี อธิการบดี ก็ได้ให้ข้อคิดที่สำคัญที่ว่า “ความเจริญก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ไม่ได้อยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่ง ทุกคนจะต้องช่วยเหลือกันในทุกฝ่าย ทั้งเจ้าหน้าที่ และอาจารย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อไปพัฒนาให้กับนักศึกษา มหาวิทยาลัยและประเทศชาติ”
            และเมื่อกลับมาจากการศึกษาดู ที่ University of Akron, USA ท่าน รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี อธิการบดี ผมได้รับความกรุณาจากท่านอีกอย่างเพิ่มเติม คือ  ผมได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการโครงการจัดตั้งสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย” โดยโครงการดังกล่าวมีท่าน รศ.ดร.เครือวัลย์ โสภาสรรค์ เป็นประธานโครงการฯ  และท่าน รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี อธิการบดี ก็บอกว่าให้พยายามเรียนต่อ ส่วนเรื่องทุนนั้นมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจะได้สนับสนุนต่อไป และในเวลาต่อมาผมก็ได้รับอนุญาตให้ไปสอบทุนโครงการพัฒนาอาจารย์ของทบวงมหาวิทยาลัยอีกครั้ง จนวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๙ ก็ได้รับอนุมัติจาก รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี อธิการบดี ไปศึกษาระดับปริญญาเอก นับได้ว่า ท่าน รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี อธิการบดี เป็นผู้บังคับบัญชาเป็นผู้นำที่ใส่ใจในรายละเอียดของลูกน้องผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นอย่างดีเยี่ยม ถึงแม้ว่าผมจะเป็นส่วนหนึ่งที่เล็กๆ ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก็ตาม แต่สิ่งที่ผมได้รับจากท่าน รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี อธิการบดี คือ “ความรักที่ยิ่งใหญ่” ที่ท่านมีให้  ความรักที่ว่า คือ “ความรักที่ท่านมีต่ออาจารย์ทุกๆ คนของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีด้วยความเท่าเทียมกัน”  และท่านสอนให้เราคิดได้ว่า “ความเจริญก้าวหน้า จะต้องไขว่คว้าด้วยการศึกษา”
            ถึงแม้ว่า ผมจะได้ใช้ชีวิตการทำงานอยู่กับท่าน รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี อธิการบดี เพียงเล็กน้อย คือ พ.ศ.๒๕๓๕-๒๕๓๙ เป็นเวลาที่สั้นๆ ในฐานะที่ท่านเป็นอธิการบดี ผมเป็นเพียงอาจารย์ตัวเล็กๆ แต่ผมก็ดีใจภูมิใจเป็นอย่างมากที่ได้รับความกรุณาจากท่านในเรื่องการส่งเสริมความรู้ส่งเสริมให้มีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น นับได้ว่าท่านเป็นบุคคลที่มีคุณูปการต่อผมอย่างมากล้น จนไม่รู้ว่าจะบรรยายและทดแทนบุญคุณของท่านได้อย่างไร ได้แต่เพียงบอกตัวเองว่า “เราจะต้องพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งนี้ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้มีความเจริญก้าวหน้าที่สุดเท่าที่ความรู้ความสามารถของเราที่มีอยู่ เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของท่าน รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี อธิการบดี ที่ได้เคยทำไว้พัฒนามหาวิทยาลัยแห่งนี้ไว้”  ความดีของท่าน รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี อธิการบดี  ผมรับรองได้ว่าทุกท่านทราบกันดีอย่างทั่วกัน ท่านได้สร้างความเจริญให้กับประเทศชาติ สร้างรอยยิ้มให้กับผู้ปกครอง นักศึกษา บัณฑิต ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ความดีนี้จะตราตรึงตราบนานเท่านานให้ลูกหลานกล่าวขานตลอดไป
            รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี    ยอดคนดีของ ม.อุบลฯ
            เราทุกคนล้วนนับถือ           ต่างเรืองลือความดีงาม
            พร้อมกล่าวขานนามว่า       “สมจิตต์ ยอดเศรณี”                       
                                                                        มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์ (อจต.)  ๑๘ กันยายน ๒๕๕๕ 
                                                 รศ.ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี ได้เดินทางไปเยี่ยมที่ 
                                                 The Univerisity of Akron, USA พ.ศ.๒๕๓๗ 
                                                                        

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

(ร่าง) บทสรุปผู้บริหารสำหรับการนำเสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรี (สัญจร) ณ จังหวัดสุรินทร์ ในเดือน กรกฏาคม ๒๕๕๕


จากการที่รัฐบาลของ ฯพณฯ นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔  ได้คำนึงถึงพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก โดยนโยบายของรัฐบาลมีจุดมุ่งหมาย ๓ ประการ คือ
ประการที่หนึ่ง เพื่อนำประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน การพัฒนาคุณภาพและสุขภาพคนไทยในทุกช่วงวัย ถือเป็นปัจจัยชี้ขาดความสามารถในการอยู่รอดและแข่งขันได้ของเศรษฐกิจไทย
ประการที่สอง เพื่อนำประเทศไทยสู่สังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท์ และอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรมที่เป็นมาตรฐานสากลเดียวกันและมีหลักปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ต่อประชาชนคนไทยทุกคน
ประการที่สาม เพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘ อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง
        อีกทั้ง จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๔๒๕๕๙) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ข้อ ๕.๕ ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม  โดยข้อ ๕.๕.๓ การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ การเป็นประชาคมอาเซียนนั้นประเทศไทยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานหลักในสาขาการท่องเที่ยว (Tourism) และสาขาการบิน (Air travel) ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ติดต่อประเทศประชาคมอาเซียน ๒ ประเทศ คือ ลาวและกัมพูชา จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินงานเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในด้านการท่องเที่ยว โดยมีการกำหนดสาระการท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานีเป็น “เที่ยวก่อนใครในสยาม” (เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานีมีพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในสยามที่ผาชะนะได)  อีกทั้ง สามารถที่จะกำหนดวิสัยทัศน์ของจังหวัดอุบลราชธานีในด้านการท่องเที่ยวเป็น “มหานครแห่งการท่องเที่ยวของอาเซียน” ทั้งนี้ เป็นมหานครแห่งการท่องเที่ยว ๓ ธ ประกอบด้วย (๑) ธ : ธรรมชาติ (เป็นการท่องเที่ยวแห่งธรรมชาติต่างของจังหวัดอุบลราชธานี) (๒) ธ : ธรรมะ (เป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมะ เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานี ขึ้นชื่อเป็นเมืองแห่งนักปราชญ์และเมืองแห่งธรรมะ มีแห่งเรียนรู้ด้านธรรมะมากมาย)  และ (๓) ธ : ธรรมดา (เป็นการท่องเที่ยวแห่งธรรมดาของชาวบ้านที่มีผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา วัฒนธรรม สินค้าพื้นถิ่น สินค้า OTOP และการท่องเที่ยว Home Stay กับชาวบ้านต่างที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่ที่ดีงาม)  
        ดังนั้น เพื่อเป็นการสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๔๒๕๕๙) และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานหลักในสาขาการท่องเที่ยว (Tourism) และสาขาการบิน (Air travel) ข้างต้น จังหวัดอุบลราชธานีจึงเสนอแผนงาน “การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนด้านการท่องเที่ยวและการบริการ” โดยมีโครงการดังต่อไปนี้
๑.    โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ ๖ ระหว่างจังหวัดอุบลราชธานี กับ แขวงสาละวัน
๒.    โครงการวางแผนให้มีถนนวงแหวนเลี่ยงเมือง
๓.    โครงการปรับปรุงระบบการจราจรให้เขตเทศบาลนครอุบลราชธานี
๔.    โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ของจังหวัดอุบลราชธานี (การปรับปรุงพื้นที่ศาลากลางหลังเดิมเป็นพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียว)
๕.    โครงการปรับปรุงโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
๖.    โครงการปรับปรุงท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี
๗.    โครงการพัฒนาประตูเมืองแสดงความรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา
๘.    โครงการพัฒนาแห่งท่องเที่ยว (การสร้างพระพุทธมณฑล การสร้างอุทยานบึงบัว การสร้างสวนสัตว์อุบลราชธานี การพัฒนาสามพันโบก การพัฒนาอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย การพัฒนาอุทยานแห่งชาติผาแต้ม การพัฒนาวัดภูเขาแก้ว เป็นต้น)
๙.    โครงการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
๑๐.                      โครงการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมในจังหวัดอุบลราชธานี
        โดยโครงการที่ ๑,,,,  และ ๘ จะเป็นการส่งเสริมด้านท่องเที่ยวแบบ ธ : ธรรมชาติ โครงการที่ ๗ และ ๘ (บางส่วน) จะส่งเสริมด้านท่องเที่ยวแบบ ธ : ธรรมะ และโครงการที่ ๑๐ (อุตสาหกรรมด้านสินค้า OTOP) จะส่งเสริมด้านท่องเที่ยวแบบ ธ : ธรรมดา  ทั้งนี้ โครงการที่ ๕, ๖ และ ๙ จะเป็นการส่งเสริมด้านการบริการ

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สรุปผลโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “อนาคต ... อุบลราชธานี




 สรุปผลโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ
“อนาคต ... อุบลราชธานี”

ณ ห้องแกรนด์บอลรูม  อาคารเทพรัตนสิริปภา 
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี




บทสรุปผู้บริหาร
        กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร  อำนาจเจริญ)  ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “หุ้นส่วนเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน”  นอกจากนี้จังหวัดอุบลราชธานี ได้กำหนดวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาจังหวัด  พร้อมทั้งกำหนดนโยบาย  ๔  นคร  ซึ่งจะเห็นว่าวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ว่า “เมืองน่าอยู่” ดังนั้นจังหวัดอุบลราชธานีจึงได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “อนาคต ... อุบลราชธานี”   ในวันพฤหัสบดี ที่  ๓๑  พฤษภาคม  ๒๕๕๕  เวลา  ๐๘.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.  ณ ห้องแกรนด์บอลรูม  อาคารเทพรัตนสิริปภา  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  โดย พล.ต.อ.ชิดชัย  วรรณสถิตย์ นายกสมาคมชาวจังหวัดอุบลราชธานี  ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมพร้อมบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ทิศทางการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี”  โดยประกอบด้วยประเด็น ด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร ด้านการพัฒนาสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การเตรียมพร้อมสู่การประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของจังหวัดอุบลราชธานีนั้นต้องยกระดับปัจจัยในด้านต่างๆ ในหลาย ๆ เรื่อง ด้านความโปร่งใส  เพื่อให้น่าเชื่อถือต่อการลงทุนต่อเศรษฐกิจ  ด้านภาษาและการสื่อสาร  ซึ่งภาษาอังกฤษถือว่าเป็นภาษาพื้นฐานที่ใช้สื่อสารกันทั่วโลก อีกทั้งภาษาจีนจึงมีบทบาทสำคัญในการค้าขาย และในอนาคตภาษาจีนจะถูกใช้ในการติดต่อค้าขายทางเศรษฐกิจอย่างแพร่หลาย ด้านการท่องเที่ยวและการลงทุน และด้านการจราจรและการขยายตัวของจังหวัดอุบลราชธานีในอนาคต  นอกจากนั้น นายสุรพล สายพันธ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี  ได้รายงานผลการดำเนินงานของจังหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร  ปัจจุบันทางจังหวัดใช้การประชุมแบบไร้เอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และขณะนี้ได้ผลักดันให้ทุกโรงเรียน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและทุกสถานที่ราชการให้มีระบบอินเตอร์เน็ตใช้และผลักดันนโยบายต่อไป ด้านการจราจรและถนนวงแหวน  ขณะนี้มีการประชุมและยกร่างเรียบร้อยแล้ว ด้านการพัฒนาโครงการท้องฟ้าจำลอง  ขณะนี้ได้ลงนามสัญญาก่อสร้างแล้ว ด้านการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับจังหวัดอุบลราชธานี  ได้มีการประชุมเบื้องต้นแล้ว โดยมอบหมายให้ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ ในส่วนของมุมมองของนักวิชาการประกอบด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษม บุญรมย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้กล่าวถึงจุดแข็งจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย () เป็นเมืองเก่าแก่ มีชื่อเสียง โลกรู้จักดี (๒) ที่ตั้ง (Location) เหมาะที่จะเป็นแกนขับเคลื่อนการพัฒนา (๓) เป็นเมืองหลักอีสาน  ๓ แกน  ได้แก่ อีสานเหนือ  อีสานใต้ (โซนตะวันตก) อีสานใต้ (โซนตะวันออก) (๔) อุบลราชธานีมีมูลมังมากมายมหาศาล (๕) อุบลราชธานี มีต้นทุนสำหรับการต่อยอดการพัฒนาในหลายๆด้าน  (๖) มีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนครอบคลุมแทบทุกศาสตร์ (๗) มีความพร้อมในด้านการสาธารณูปโภค มีแหล่งน้ำบริโภค เพื่อการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม  กระแสไฟฟ้า ที่ดินสำหรับพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษนิคมอุตสาหกรรม และพื้นที่สำหรับการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางบกและทางอากาศ  ซึ่งจะต้องนำจุดแข็งดังกล่าวเพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานีในอนาคต  ทั้งนี้ในส่วนของนายชวลิต องควานิช ประธานที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี ตัวแทนภาคเอกชนเห็นว่าจังหวัดอุบลราชธานีมีจุดได้เปรียบในการรับรองการเป็นประชาคมอาเซียนเนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างน้อย ๒ ประเทศ คือ ลาวและกัมพูชา ดังนั้น ภาครัฐควรจะต้องให้ความสำคัญส่งเสริมด้านการคมนาคมเชื่อมต่อการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านให้ได้หลายช่องทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง (๑) สามเหลี่ยมมรกต (The Emerald Triangle) รอยต่อ ๓ ประเทศ (ไทย-ลาว-กัมพูชา) โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวนำการค้าเชื่อมโยงสามเหลี่ยมมรกต ๓ ประเทศ ๗ จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ (ไทย) จำปาสัก,สาละวัน (ลาว) พระวิหาร, อุดรมีชัย, สตึงเตร็ง (กัมพูชา) (๒) สามเหลี่ยมพัฒนา (The CLV Triangle Development ) รอยต่อ ๓ ประเทศ (กัมพูชา-ลาว -เวียดนาม) มีการพัฒนาการท่องเที่ยว การลงทุน การเกษตร ร่วมกัน ๗ จังหวัด ได้แก่ สตึงเตร็ง, รัตนคีรี (กัมพูชา) เซกอง, อัตตะปือ (ลาว) กอนตูม, ยาไล, ดักลัส (เวียดนาม) และ  (๓) วงกลมเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอินโดจีน ไทย-ลาว-กัมพูชา-เวียดนาม (The Economic Circle in Indochina Thai-Laos-Cambodia, Vietnam) เป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวนำการค้าเชื่อมโยงระหว่างสามเหลี่ยมมรกต และสามเหลี่ยมพัฒนาสู่วงกลมเศรษฐกิจนำเสนอโดยหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี สนับสนุนโดยกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนั้น ในประเด็นของการวางผังเมืองและการจราจร ผศ.ดร. สิทธา เจนศิริศักดิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและทำนุศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้กล่าวถึงการขยายตัวของตัวเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจะต้องมีการวางแผนเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการจราจร โดยแนวคิดการแก้ปัญหาที่เหมาะสม คือ (๑) ควรลดความต้องการในการเดินทางโดยรถยนต์ในพื้นที่ใจกลางเมือง โดยการควบคุมการเข้าออกและความเร็วของรถยนต์ (๒) จัดให้มีระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมและปลอดภัย และ (๓) ส่งเสริมการเดินทางระยะสั้นด้วยการเดินเท้าและจักรยาน  โดยที่ในใจกลางเมืองที่มีพื้นที่จำกัด ควรมีการควบคุมการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล เช่น ควบคุมการเข้าออก ควบคุมความเร็ว และควบคุมที่จอดรถยนต์ โดยมีการจัดการที่จอดรถให้อย่างเหมาะสม และมีการเก็บค่าจอดรถ อีกทั้งควรมีการจัดการบริการรถขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมและปลอดภัย ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน พร้อมส่งเสริมการเดินทางระยะสั้นโดยการเดินและใช้จักรยาน โดยจัดให้มีทางเดินเท้าที่เหมาะสมและร่มรื่น และมีเส้นทางจักรยานโดยเฉพาะ สำหรับการเดินทางระยะสั้น และเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม  ซึ่งการวางแผนและออกแบบโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมือง จำเป็นต้องคำนึงถึงทุก ๆ รูปแบบการเดินทาง และทุก ๆ กลุ่มคนเดินทาง ไม่ว่าจะเป็น ผู้เดินเท้า ผู้ใช้จักรยาน และผู้ใช้รถขนส่งสาธารณะ รวมทั้ง เด็ก ผู้พิการ ผู้มีรายได้น้อย และ ผู้สูงอายุ  เพื่อให้เมืองมีความน่าอยู่ ควรมีพื้นที่สาธารณะอย่างเพียงพอ มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม มีถนนคนเดินเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจของคนในท้องถิ่น

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “อนาคต ... อุบลราชธานี”

๑.  หลักการและเหตุผล
สืบเนื่องจากกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร  อำนาจเจริญ)  ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “หุ้นส่วนเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน”  และกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่  ๑  การผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรโดยมียุทธศาสตร์ประกอบด้วยการปรับโครงสร้างและสร้างหุ้นส่วนการผลิตกับประเทศเพื่อนบ้าน
ยุทธศาสตร์ที่  ๒  การท่องเที่ยวและบริการ  โดยมียุทธศาสตร์ประกอบด้วยการสร้างหุ้นส่วนการท่องเที่ยวและบริการกับประเทศเพื่อนบ้าน
ยุทธศาสตร์ที่  ๓  พัฒนาสินค้า OTOP  และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี  ประกอบด้วยประเด็นดังนี้
(๑) การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
(๒) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๓) การส่งเสริมการค้า  การลงทุน  และการท่องเที่ยว
(๔) การพัฒนาการเกษตรและการแปรรูปสินค้าเกษตร
(๕) การพัฒนาระบบบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
(๖) การเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
นอกจากนี้จังหวัดอุบลราชธานี ได้กำหนดวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาจังหวัด  พร้อมทั้งกำหนดนโยบาย  ๔  นคร  ซึ่งจะเห็นว่าวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ว่า “เมืองน่าอยู่” นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนในจังหวัดอุบลราชธานีจะต้องให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นเมืองน่าอยู่  เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.  ๒๕๕๘  ซึ่งการเป็นประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก คือ
(๑) ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN  Security  Community - ASC)
(๒) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community AEC)
(๓) ประชาคมสังคม – วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community ASCC)
ทั้งนี้  ในปีดังกล่าวอยู่ในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙)  โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค  เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อเสนอแนะ ในด้านการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘  จึงได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ
“อนาคต ... อุบลราชธานี”   ในวันพฤหัสบดี  ที่  ๓๑  พฤษภาคม  ๒๕๕๕  เวลา  ๐๘.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.  ณ ห้องแกรนด์บอลรูม  อาคารเทพรัตนสิริปภา  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
๒. วัตถุประสงค์
      ๒.๑ เพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการ  ตัวแทนภาครัฐ  ตัวแทนภาคเอกชน  และตัวแทนภาคประชาคมของจังหวัดอุบลราชธานี  ได้รับทราบทิศทางการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานีในอนาคต
      ๒.๒ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  พร้อมเสนอข้อคิดเห็นประเด็นการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานีในการรับรองการเป็นประชาคมอาเซียนใน  พ.ศ. ๒๕๕๘
      ๒.๓ เพื่อนำข้อคิดและข้อเสนอแนะไปประกอบการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี
๓. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
      ๓.๑ ทำให้หัวหน้าส่วนราชการ  ตัวแทนภาครัฐ  ตัวแทนภาคเอกชน  และตัวแทนภาคประชาคมจังหวัดอุบลราชธานี  ได้รับทราบทิศทางการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานีในอนาคต
      ๓.๒ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมเสนอข้อคิดเห็นประเด็นในการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี ในการรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. ๒๕๕๘

      ๓.๓ ทำให้สามารถนำข้อคิดและข้อเสนอแนะไปประกอบการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี 




ผลการดำเนินโครงการ

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
      จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “อนาคต...อุบลราชธานี” ประกอบไปด้วย  ส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ  มีจำนวนทั้งสิ้น ๘๐ หน่วยงาน   ๓๙๑  คน  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ลำดับ
อำเภอ/หน่วยงาน
จำนวนหน่วยงาน
จำนวนผู้เข้าร่วม
หมายเหตุ
อำเภอเขมราฐ
๑๒

อำเภอพิบูลมังสาหาร
๑๓
๑๗

อำเภอเมือง
๑๔

อำเภอโพธิ์ไทร

อำเภอม่วงสามสิบ
๑๕
๑๖

อำเภอสิรินธร
๑๐

อำเภอสำโรง
๑๐

อำเภอสว่างวีระวงศ์

อำเภอศรีเมืองใหม่
๑๕
๑๖

๑๐
อำเภอวารินชำราบ
๑๔
๒๒

๑๑
อำเภอน้ำยืน

๑๒
อำเภอเหล่าเสือโก้ก

๑๓
อำเภอตาลสุม

๑๔
อำเภอดอนมดแดง

๑๕
อำเภอเดชอุดม
๒๐
๒๑

๑๖
อำเภอโขงเจียม

๑๗
อำเภอเขื่องใน
๑๔
๑๔

๑๘
อำเภอกุดข้าวปุ้น

๑๙
อำเภอตระการพืชผล
๑๐

๒๐
อำเภอทุ่งศรีอุดม

๒๑
อำเภอนาตาล

๒๒
อำเภอนาจะหลวย

๒๓
อำเภอน้ำขุ่น

๒๔
อำเภอนาเยีย

๒๕
อำเภอน้ำยืน

๒๖
อำเภอบุณฑริก

๒๗
หอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี

๒๘
ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติอุบลราชธานี

๒๙
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดอุบลราชธานี

๓๐
สำนักงานบังคับคดีจังหวัดอุบลราชธานี

๓๑
กองกำกับการตำรวจตะเวนชายแดน 22

๓๒
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9(อุบลราชธานี)

๓๓
ที่ทำการปกครองจังหวัดอุบลราชธานี

๓๔
สำนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี

๓๕
สำนักงาน กศน. จังหวัดอุบลราชธานี

๓๖
สถานพินิจจังหวัดอุบลราชธานี

๓๗
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

๓๘
สำนักงานสิ่งแวดล้อมที่ 12

๓๙
สำนักงานจัดหางานจังหวัดอุบลราชธานี

๔๐
สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 1

๔๑
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

๔๒
ด่านตรวจคนเข้าเมืองช่องเม็ก

๔๓
ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการบ้านทองพูนเผ่าพนัส

๔๔
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาอุบลราชธานี

๔๕
แขวงการทางอุบลราชธานีที่ 1

๔๖
ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี

๔๗
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี

๔๘
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

๔๙
ด่านศุลกากรเขมราฐ

๕๐
สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี

๕๑
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินอุบลราชธานี

๕๒
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี

๕๓
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4

๕๔
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์อุบลราชธานี

๕๕
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 4

๕๖
เรือนจำกลางอุบลราชธานี

๕๗
สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 7 อุบลราชธานี

๕๘
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4

๕๙
สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง

๖๐
ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอุบลราชธานี

๖๑
สำนักงานพลังงานจังหวัดอุบลราชธานี

๖๒
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุบลราชธานี

๖๓
สวท.อุบลราชธานี

๖๔
สนอ.อุบลราชธานี

๖๕
แขวงการทางอุบลราชธานี ที่ 2

๖๖
สำนักงานชลประทาน ที่ 7

๖๗
สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี

๖๘
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุบลราชธานี

๖๙
กองกำกับการ3 กองกำกับการพิเศษฯ

๗๐
สำนักงานทหารผ่านศึกเขตอุบลราชธานี

๗๑
สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี

๗๒
พัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี

๗๓
สำนักงานสถิติจังหวัดอุบลราชธานี

๗๔
สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์อุบลราชธานี

๗๕
ทางหลวงชนบทจังหวัดอุบลราชธานี

๗๖
สำนักงานท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี

๗๗
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
๕๐

๗๘
คลังน้ำมันอุบลราชธานี (บริษัท ปตท.)

๗๙
การประปาส่วนภูมิภาค อุบลราชธานี

๘๐
ไปรษณีย์จังหวัดอุบลราชธานี


รวม

๓๙๑














คำกล่าวรายงาน
การประชุมเชิงปฏิบัติการ “อนาคต...อุบลราชธานี”
วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕
ณ ห้องแกรนด์บอลรูม อาคารเทพรัตนสิริปภา (โรงแรม) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
โดย
นายสุรพล สายพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี

กราบเรียน ฯพณฯ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ นายกสมาคมชาวอุบลราชธานี ที่เคารพ
เรียน ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดอุบลราชธานี ทุกท่าน

          กระผม นายสุรพล สายพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ขอขอบพระคุณ ฯพณฯ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ นายกสมาคมชาวอุบลราชธานี ที่ได้ให้เกียรติมาเป็นประธาน การประชุมเชิงปฏิบัติการ “อนาคต...อุบลราชธานี”  และบรรยายพิเศษ “ทิศทางการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี” ในวันนี้   
                จากการรัฐบาลของ ฯพณฯ นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔  ได้คำนึงถึงพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก โดยนโยบายของรัฐบาลมีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ
ประการที่หนึ่ง เพื่อนำประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน การพัฒนาคุณภาพและสุขภาพคนไทยในทุกช่วงวัย ถือเป็นปัจจัยชี้ขาดความสามารถในการอยู่รอดและแข่งขันได้ของเศรษฐกิจไทย
ประการที่สอง เพื่อนำประเทศไทยสู่สังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท์ และอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรมที่เป็นมาตรฐานสากลเดียวกันและมีหลักปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ต่อประชาชนคนไทยทุกคน
ประการที่สาม เพื่อนำ ประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘ อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง
อีกทั้ง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๔๒๕๕๙) กำหนดให้ทุกภาคส่วนในสังคมไทยเห็นพ้องร่วมกันน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งให้เกิดภูมิคุ้มกันและมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม เพื่อให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน   โดยการเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ 
ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สามารถติดต่อกับประเทศในกลุ่มอาเซียน ๒ ประเทศ คือ ลาว และ กัมพูชา   ดังนั้น จึงจะเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี จะต้องตื่นตัวในการเตรียมตัวเพื่อการดังกล่าว  จึงเป็นที่มาเพื่อของการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดการประชุมดังนี้
๑.                           เพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนภาคประชาชนได้รับทราบ “ทิศทางการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี” โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
๒.                           เพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนภาคประชาชนได้รับทราบ การพัฒนาอุบลราชธานีในด้านสังคมและวัฒนธรรม
๓.                           เพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนภาคประชาชนได้รับทราบ ความสำคัญของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
๔.                           เพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนภาคประชาชนได้รับทราบ การจัดทำผังเมืองและเส้นทางการขนส่งเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของจังหวัดอุบลราชธานีในอนาคต
๕.                           เพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนภาคประชาชนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอแนะการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานีอันนำไปสู่การจัดทำแผนการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี

โดยการจัดประชุมในวันนี้มีหัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนภาคประชาชน ประมาณ ๔๐๐ คน และมีวิทยากรที่ประสบการณ์จากสถาบันอุดมศึกษาของจังหวัดอุบลราชธานี ทั้ง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อีกทั้งมีวิทยากรจากภาคเอกชนตัวแทนหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี    และการจัดประชุมในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ห้องประชุม อาหารว่าง และอาหารกล่อง กลางวัน) 
ในโอกาสนี้ กระผมใคร่ขอกราบเรียนเชิญ ฯพณฯ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ได้กรุณากล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “อนาคต . . . อุบลราชธานี” และกรุณาบรรยายพิเศษ เรื่อง “ทิศทางการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี”

ขอกราบเรียนเชิญ

        
  ทิศทางการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี

พล.ต.อ.ชิดชัย  วรรณสถิตย์
นายกสมาคมชาวอุบลราชธานี


  พล.ต.อ.ชิดชัย รรณสถิตย์ นายกสมาคมชาวจังหวัดอุบลราชธานี  ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ   “อนาคต...อุบลราชธานี” ณ ห้องแกรนด์บอลรูม  อาคารเทพรัตนสิริปภา พร้อมนี้ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “ทิศทางการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี”  โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้      
 
 ด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร ปัจจุบันนี้การปรับเปลี่ยนของโลกของสังคมปัจจุบันนี้เร็วมาก  เนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี  โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือทางคอมพิวเตอร์หรือสังคมออนไลน์ต่างๆ นำไปสู่การสื่อสารที่รวดเร็ว  เกิดการเรียนรู้ที่เร็วขึ้น เป็นการเชื่องโยงย่อโลกนี้ให้เล็กลง นอกจากนี้แล้วเทคโนโลยียังช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆในชีวิตของมนุษย์ เพราะฉะนั้นเราปฏิเสธความเจริญของเทคโนโลยีไม่ได้ เราจึงต้องนำความสามารถของเทคโนโลยีนั้นมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็น ด้านการผลิต เครือข่ายทางเศรษฐกิจ  เครือข่ายด้านการสื่อสาร  ด้านสังคม  ด้านการศึกษา ด้านการสื่อสาร และด้านอื่นๆ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและอนาคต
          ด้านการพัฒนาสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การเตรียมพร้อมสู่การประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของจังหวัดอุบลราชธานีนั้นต้องยกระดับปัจจัยในด้านต่างๆ ในหลาย ๆ เรื่อง เพื่อเตรียมพร้อมในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ อาทิ  “โครงการทวาย” ทางจังหวัดกาญจนบุรีของไทย  มีการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ หากโครงการทวายแล้วเสร็จ  ดังนั้นจึงฝากผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี หอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  และส่วนราชการอื่น ๆ ร่วมกันเตรียมความพร้อมพร้อมต่อการพัฒนาด้านต่างๆ 
          ความโปร่งใส  ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการเลือกลงทุน เนื่องจากหากการลงทุนส่วนหนึ่งที่จะต้องจ่ายเบี้ยไบ้รายทางจะทำให้ต้นทุนในการลงทุนสูงขึ้น  ส่งผลให้ค่าครองชีพส่วนหนึ่งต้นทุนสูงและผลักภาระให้ผู้บริโภค  คือ การประพฤติทุจริตมิชอบ ซึ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่กระทบต่อการค้าขาย จึงจำเป็นต้องสร้างความโปร่งใสในระบบดังกล่าวเพื่อให้น่าเชื่อถือต่อการลงทุน  ด้านเศรษฐกิจ  เช่น การเงินการธนาคาร ต่างประเทศมีความพร้อมมีความเป็นระบบ  คือมีความตรงไปตรงมาสูง มีการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามหลักนิติธรรม จึงทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในการลงทุน  
          ในด้านภาษาและการสื่อสาร  ปัจจุบันนี้เรื่องภาษาในการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ  ภาษาอังกฤษถือว่าเป็นภาษาพื้นฐานที่ใช้สื่อสารกันทั่วโลก เนื่องจากเศรษฐกิจจีนแถบเอเชียและอาเซียนกำลังเติบโต ภาษาจีนจึงมีบทบาทสำคัญในการค้าขาย  และในอนาคตภาษาจีนจะถูกใช้ในการติดต่อค้าขายทางเศรษฐกิจอย่างแพร่หลาย ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องพัฒนาด้านภาษาและการสื่อสาร เพื่อเตรียมพร้อมให้ทันต่อการพัฒนาเศรษฐกิจประชาคมอาเซียนในอนาคต
          ด้านการท่องเที่ยวและการลงทุน  จังหวัดอุบลราชธานีของเรามีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย
จึงขอให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันต่อยอดและผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว  โดยให้มีการประชาสัมพันธ์  หรือโปรโมท  และการจัดทำเรื่องราว ประวัติ (
Story) ของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ เพราะฉะนั้นทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันในการพัฒนาสถานที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานีเราให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น วัดวาอารามในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีเกจิอาจารย์หลายท่านที่เป็นที่เคารพนับถือ นอกจากนั้นประตูเมืองสามารถต่อยอดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ  สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาท่องเที่ยวที่จังหวัดอุบลมากยิ่งขึ้น และจะต้องมีเอกลักษณ์ของเมืองอุบลด้วย
          ด้านการจราจรและการขยายตัวของจังหวัดอุบลราชธานีในอนาคต  อยากให้ทางจังหวัดอุบลราชธานีร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ศึกษาเรื่องวงแหวนรอบ ๒  เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคตที่ชัดเจนว่าจะต้องพัฒนาในทิศทางใด  เพื่อรองรับการเจริญเติบโตและการขยายตัวในอนาคต

รายละเอียดการบรรยาย 
พล.ต.อ.ชิดชัย  วรรณสถิตย์

นายกสมาคมชาวอุบลราชธานี


สวัสดีครับ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ท่านผู้บังคับการ  ท่านนายอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการที่เคารพ และรวมทั้งภาคเอกชนซึ่งมี  ประธานหอการค้า ประธารสภาอุตสาหกรรม และก็ภาคองค์กรส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น ท่านพรชัย โควสุรัตน์  ท่านนายกเทศบาลก็ดี หรืออบต.ก็ดี  รวมทั้งประชาชนพ่อแม่พี่น้องที่เคารพรัก  รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งนะครับที่ได้มีโอกาสมาพบปะ พูดคุยกับท่านที่ค่อนข้างจะมากนะครับ  สิ่งที่ผมจะมาพูดวันนี้ก็เป็นความในใจของผมเอง  ในฐานะที่ผมเป็นนายกสมาคมชาวอุบลราชธานีที่กรุงเทพฯ มาเป็นเวลาปีที่  ๑๓  และได้รับเกียรติให้เป็นนายกสมาคมเบ็ญจะมะมหาราชสมาคม  สมัยที่ ๒ นะครับ  โดยแท้จริงแล้วผมเองก็มาทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จังหวัดอุบลมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗  ทำมาอย่างต่อเนื่อง  ส่วนใหญ่จะทำไปทางด้านศาสนา ทำทางด้านการศึกษา  ด้านกีฬา  และก็พอมาทำงานใหญ่ๆก็ตอนช่วงที่ผมมาเป็นเลขาธิการปราบยาเสพติด นะครับ และก็มาเป็น รองนายกรัฐมนตรี  เป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย  รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ก็ได้มีโอกาสทำมากขึ้นนะครับ  แต่อย่างไรก็ตามหลัง ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เผอิญวิทยากรเมื่อกี้พูดแนะนำบอกว่าทางด้านเลข ๑๑๑ มันก็เกี่ยวกับตัวผม ซึ่งผมก็พ้นจากมีความเป็นอิสระจากพันธนาการที่เขาห้ามไปยุ่งกับการเมืองอยู่ ๕ ปี  โดยที่ผมไม่ได้ไปทำผิดหรือรู้เห็นอะไรเลย แต่ก็มีคำสั่งย้อนหลังตัดสินย้อนหลังให้ผมอยู่เฉย ๆ ๕ ปี  ซึ่งช่วงนั้นผมก็ไม่ค่อยอยากจะไปยุ่งเกี่ยวเพราะไม่อยากให้ไปกระทบองค์กรใด คณะใด หรือบุคคลใดเป็นหลัก นะครับ วันนี้ที่มานี่ก็เป็นการมาที่ผมได้พบและได้คุยปูพื้นฐานไว้แล้วเมื่อตอนสงกรานต์ ๑๒ เมษายน ผมได้นัดอุบลวาณิชสมาคม ทางด้านหอการค้า สภาอุตสาหกรรม ผู้ว่าราชการจังหวัด นายก อบจ. และท่านผู้การ  คุยกันเรื่องอุบลกับการเปิดตลาดอาเซียน  ผมกลัวว่าอุบลจะตกขบวนรถไฟ  เห็นนิ่งๆอยู่เลยอยากมากระตุ้นในฐานะที่เป็นคนอุบลราชธานี นะครับ ซึ่งในวันนั้นเราก็มองเฉพาะอุบล  แต่วันนี้ผมเองอยากจะชวนคุณมองไปไกลก่อน แล้วจะค่อย ๆ ไล่ลงมาให้ท่านได้เข้าใจภาพว่าเราอยู่ตรงไหนแล้วเราจะเดินไปยังไง  เพราะฉะนั้นการที่ผมมาเหมือนกับผมมาเร่งรัด  มาตามงานที่ผมได้พูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดกับอดีตนายก อบจ. ซึ่งเป็นผู้สมัคร คือคุณพรชัย  กับอุบลวาณิชสมาคม กับหอการค้า สภาอุตสาหกรรม ของอุบลเมื่อวันที่ ๑๒ เมษาที่ผ่าน  ซึ่งก็ประมาณเดือนครึ่ง นะครับ  ที่จริงผมก็โทรถึงท่านผู้ว่า โทรถึงใครต่อใคร ตามงานอยู่ว่ามันควรจะเดินไปยัง และก็ในโอกาสที่ ฯพณฯนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ กับครม. จะมาประชุมสัญจรทีนี่ ก็ถือว่าเป็นโอกาสดีที่พวกเรามานั่งประชุมกันแล้วเราจะได้เสนอผ่าน กรอ.จังหวัด  กรอ.จังหวัด ก็มีท่านผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน  และก็จะมีส่วนราชการ  และภาคเอกชน  ก็คือสภาหอการค้า กับอุตสาหกรรมอยู่ในนั้น สามารถที่จะชู้ตตรงได้ ส่งตรงได้สองทาง  ทางหนึ่งก็ส่งไปทางด้าน กรอ.กลางคณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชน คือ กรอ. ส่งไปที่นั่นและก็จะไปถึงนายกรัฐมนตรี  เพราะว่านายกรัฐมนตรีโดยฐานะแล้วก็จะเป็นประธาน กรอ. นะครับ ส่วนทางด้านสายราชการนั้นก็สามารถที่จะส่งไปยังด้านสำนักเลขา ครม. ไปได้เลยในความต้องการ เพราะฉะนั้นวันนี้ก็ถือว่าเรามาเตรียมการร่วมกันเพื่อให้มันเกิดความรอบคอบในการที่จะผลักดันอะไรให้กับอุบล กับภูมิภาคนี้นะครับ ภูมิภาคนี้เนี่ยเดี๋ยวผมจะได้บรรยายว่าภูมิภาคนี้มีใครบ้าง
          ผมเองผมอยากจะเริ่มต้นว่า  ปัจจุบันนี้ ผมใช้คำว่าประมาณซัก ๑๐ ปีที่ผ่านมาเนี่ย เราใช้คำว่าโลกาภิวัฒน์ นะครับ ภาษาฝรั่งใช้คำว่า Globalization เราใช้คำตัวนี้มาตลอด  แต่จริงๆแล้วถ้าพูดตามภาษาชาวบ้านก็คือการปรับเปลี่ยนของโลกของสังคมปัจจุบันนี้ มันเร็วมาก เกิดเนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี นะครับ เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีนี่โดยเฉพาะเรื่องการใช้อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์  คุณจะเห็นว่าทุกอย่างมันเร็วมาก หนึ่งสปีดนี่เร็ว  สองสามารถใส่ข้อมูลได้เยอะมาก  สมองกลมากกว่าสมองคนอีก สามารถที่จะไปคำนวณออกมาได้มาก นะครับ และก็ความแม่นยำก็จะสูง เพราะคอมพิวเตอร์มันไม่ขี้ลืมเหมือนคนเรา แต่สิ่งที่ใส่ไปต้องมีคุณภาพต้องถูกต้องก่อน นะครับ เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีมันก็นำไปสู้การสื่อสารที่รวดเร็ว เหตุการณ์เกิดที่ไหนในโลกนี่เกิดการเรียนรู้เร็วขึ้น  ท่าจะเห็นว่ามันเร็วหมด เหมือนกับมันเชื่อมโลกนี้ให้เล็กลง ทำให้เรามองอะไรชัดเจนขึ้น เรียนรู้ได้นอกเหนือจากห้องเรียน หรืออาจจะว่าเรียนรู้ได้มากกว่าในห้องเรียนซะอีก ถ้าท่านมีโน๊ตบุ๊ค หรือ คอมพิวเตอร์มือถือ หรือไอแพด หรือแท็บเล็ต ท่านสามารถที่จะอ่านหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในนั้นได้หมด ไม่จำเป็นต้องมานั่งอ่านอะไรทั้งหมด มันเร็วมาก มันย่อลงหมดนี่คือเทคโนโลยีสมองกลมันให้กับเรา  นอกจากนี้แล้วเทคโนโลยียังทำให้การพัฒนาในเรื่องการ transfer ท่านสามารถที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยนข่าวการ หรือโอนเงิน ไปได้เร็วมาก นะครับ และอีกอย่างหนึ่งเทคโนโลยีมาช่วยทำให้เราสามารถเดินทางเคลื่อนที่ Move อะไรได้เร็วมากขึ้น สามารถที่จะ Design  อะไรได้ออกแบบอะไรได้หมด ถ้าเผื่อท่านมี Know How  มีเครื่องไม้เครื่องมือเหมือนกัน มีวัตถุดิบเหมือนกัน ท่านสามารถที่จะผลิตวัตถุอะไรได้เหมือนกันหมด ทำไมประเทศไทยเราตอนนี้สามารถที่จะผลิตรถยนต์ยี่ห้อต่าง ๆ ในประเทศไทยได้  ท่านจะเห็นว่าบางทีเบนซ์ก็มาประกอบที่ประเทศไทย รถญี่ปุ่นมาอยู่ในเมืองไทยหมด เพราะว่าเทคโนโลยีกับวัตถุดิบมันสามารถเกิดขึ้นได้ทุกแห่ง  สมัยก่อนต้องบอกว่าอยู่ตรงนั้นอยู่ตรงนี้ ผมถึงพูดว่าเทคโนโลยีเราหนีมันไม่ได้ อย่าไปกลัวมัน  ท่านอย่าไปกลัว  ท่านต้องกล้าเผชิญกล้าใช้มันเป็นเครื่องมือ  อย่าไปหนี  นะครับ  ผมสามารถที่จะซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านมือถือผมได้ ผมสามารถที่จะซื้อทองในตลาดทองได้ มันสามารถทำได้หมดมันไม่มีขีดข้อจำกัด  สามารถดูว่าราคาทรัพย์สินดูราคาน้ำมันราคาอะไรได้หมดทั่วโลก  ในส่วนที่เป็นธุรกิจ เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีมันให้สิ่งเหล่านี้กับเรา นะครับ พอให้สิ่งเหล่านี้กับเราเนี่ย การเปลี่ยนแปลงของโลกเราถึงถูกมาก สูงมากและเร็วมาก นะครับ  ท่านจะเห็นว่าเนื่องจากความเร็วของมัน และอันที่สองปัจจุบันนี้โลกเราเนี่ย  มันพัฒนาเป็นเครือข่ายไปหมดแล้ว  เป็นเครือข่ายในทุกด้าน  โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจเนี่ยเป็นเครือข่ายอย่างมากๆเลย  อย่างผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากอเมริกา เมื่อไม่กี่ปีมานี้กระทบไปทั่วโลกหมด  หรือย้อนหลังไปอีกผลกระทบจากเศรษฐกิจไทยเนี่ยก็สามารถไปทั่วโลกได้อีก นะครับ  ปัจจุบันนี้ถ้าเผื่อท่านตามผลกระทบของตลาดยุโรปหรือ EU  ก็กระทบไปได้หมด  ถ้าเผื่อว่าท่านสนใจว่ากระทบในเรื่องไหน ไม่ว่าจะเป็น กรีก ไอซ์แลนด์ สเปน โปรตุเกส อิตาลี ท่านสามารถไปดูได้หมดว่าเขาเกิดจากอะไร อย่างสเปนก็ดี  ไทยก็ดี  อเมริกาก็ดี  เกิดจากปัญหาอสังหาริมทรัพย์ที่มันเป็นฟองสบู่ มันเป็นแพทเทินคล้ายๆกันแล้วจะแก้กันยังไง  มันเร็วมาก เผอิญไทยเรามีบทเรียนช่วงเราฟองสบู่แตก  เราถึงได้เข้มแข็งพอสมควร  แต่ก็เป็นบทเรียนที่เราจ่ายไปแพงมาก  นะครับ  ท่านจะเห็นว่ามันเป็นเครือข่ายหรือแม้กระทั่งน้ำท่วมคราวที่แล้ว   ท่านไม่รู้หรอกว่าบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ที่เราต้องอาศัยแผงวงจรของเราเนี่ย ทำให้บริษัทใหญ่ๆหลายคนขาดทุนกันหมด นี่ลงมาในภาพเล็กอีกนิดหนึ่ง ญี่ปุ่นนี่แย่เลยบางบริษัทขาดทุน  หรือรถยนต์บางบริษัทต้องอาศัยชิ้นส่วนจากประเทศไทย เราไม่สามารถผลิตส่งได้  มันชะงักหมด  ตอนนี้ผมพูดให้ท่านฟังว่ามันเครือข่ายกันหมดด้านเศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งด้านสังคมอย่างนี้ เราจะเห็นว่า กรณีนายอัมพล หรือ อากง เสียชีวิต เขาก็มีคำถามถามเราว่าราชทัณฑ์ของเราหรือคุกของเราเนี่ย  ทำไมมาตรฐานมันต่ำ คือไม่ได้มาตรฐาน  ทำไมปล่อยให้คนป่วยอย่างนั้น  และไม่ได้รับการรักษา แล้วตายไปอย่างนั้น จนมีการพูดกันในสภาของประเทศอังกฤษ ของสหรัฐอเมริกา นี่ผมพูดถึงผลกระทบต่างๆให้ท่านเห็นว่ามันโยงไปหมด นะครับ  อย่างเหตุทางการเมืองมันก็ทำให้กระทบไปจนถึงที่เรายังคุยกันไม่ค่อยรู้เรื่องนี่ มันก็จะกระทบไปสู่เรื่องการท่องเที่ยว กระทบในเรื่องการลงทุนทั้งหมด นี่ผมพูดภาพรวมให้คุณได้เห็นก่อนในสิ่งที่ว่ามันมีทั้งบวกและลบในตัว อย่างพม่าพอเปิดประเทศปุ๊บ สมัยก่อนเราอาจจะยังไม่เคยได้ยินโครงการทวาย ที่ว่าชัดๆ เพียงแต่ได้ยินแผ่วๆ แต่เดี๋ยวนี้เราจะได้ยินแบบหนาหูเลยว่าโครงการทวาย ทวายก็เป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ชายทะเลที่ห่างจากเมืองกาญเรา ประมาณซักไม่เกิน ๒๐๐ กิโลเมตร  สมัยก่อนเราจะรู้ว่าไทยเราไปซื้อก๊าซธรรมชาติเพื่อมาใช้ในการปั่นไฟฟ้า มีการวางท่อแก๊สมา ซึ่งสมัยนั้นเราจะรู้ เมื่อประมาณ ๑๐ กว่าปีที่แล้ว เนื่องจากพม่าอุดมไปด้วยบ่อแก๊สและบ่อน้ำมัน ถึงแม้ว่าพม่านี่ปิดประเทศมานาน มีการย้ายเมืองหลวงไปซบกับจีนซะเป็นหลัก ณ วันนี้ก็เปลี่ยนแทบจะว่าเป็น ผมไม่ใช่ว่า ๑๘๐  กลับมาเป็น ๓๐๐ กลับมาเป็นประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งแม้กระทั่งต้องยอมรับว่าท่านผู้นำเอง ท่านพลเอกตานฉ่วย เองท่านก็ยังไม่รับเป็นประธานาธิบดี  ทำให้บรรยากาศของพม่ามันดีขึ้นเยอะ มีการปล่อยตัว อองซาน ซูจี  มีการให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ความเป็นประชาธิปไตยมันเกิด อเมริกามีรัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี่ คลินตัน ไปเยี่ยม  อังกฤษ นายกรัฐมนตรีไปเยี่ยม นะครับ ผลสุดท้าย  EU ยกเลิกการคว่ำบาต อเมริกายกเลิกการคว่ำบาต ทุกประเทศยกเลิกการคว่ำบาตร จีนซึ่งลงทุนหลักอยู่แล้วก็ยังมีอยู่  แต่พม่าเองเขาก็คงในสายตาของนักวิเคราะห์ทั่วไปเขามองว่า เขาก็พยายามยืนอยู่ด้วยตัวเอง ก็พยายามที่จะคบกับทุกประเทศ อย่างถ้าเผื่อเมื่อวานนี้ท่านดูข่าวจะเห็นว่ารัฐมนตรีซิงค์ ของอินเดีย ท่านไปพม่าไปเยี่ยมในรอบ ๒๕ ปีที่มีผู้นำระดับสูงไปเนี่ย  อินเดียนี่ผมยังแปลกใจเลยว่าให้เงินยืมหรือเงินช่วยเหลือ ในวงเงิน ๕๐๐ ล้านเหรียญ US  เพราะฉะนั้นพม่าส่วนหนึ่งเราก็คงจะรู้ เขาวิเคราะห์กันว่าเป็นการบาลานซ์  เพราะว่าท่านอาจจะดูแผนที่เลยว่ารัฐคะฉิ่นเหนือขึ้นไปเนี่ย  ติดอยู่กับอินเดีย  ผมเคยนั่งคอปเตอร์ไปดูคะฉิ่นสูงขึ้นไปแถวนั้นจะมีหิมะ ทั้งปี  เคยไป  คะฉิ่นก็เป็นเผ่าอีกเผ่าหนึ่งทางด้านหนึ่งก็ติดจีน นะครับ ญี่ปุ่นนี่แน่นอนครับมาลงทุน  ญี่ปุ่นนี่พยายามเข้ามาโดยผ่านโครงการความร่วมมือของลุ่มแม่น้ำโขง  แล้วในการประชุมนั้นญี่ปุ่นได้มอบเงินช่วยเหลือประมาณ ๒๔,๐๐๐  ล้านบาท  เพื่อมาพัฒนา  ผมเองสงสัยเป็นการส่วนตัวว่าญี่ปุ่นอยู่ไกลจากแม่น้ำโขงเนี่ยทำไมเขาต้องมาร่วมอย่างนี้ เขาได้อะไรจากการร่วมมืออย่างนี้  ชัดเจนครับ เพราะฉะนั้นท่านลองวาดภาพซิว่าเมื่อก่อนถ้าไปญี่ปุ่นสมัยก่อนมันต้องอ้อมไปข้างล่างโน่นเสียเวลามา แต่ถ้าเผื่อตัดมีสะพานข้ามแม่น้ำโขง ข้ามลาว  ข้ามเวียดนามไปได้ทันที  มันเป็นประโยชน์ของเขาด้วย และในขณะเดียวกันเขาก็สามารถที่จะเข้ามามีส่วนใช้ทรัพยากรในภูมิภาคนี้ได้ นะครับ  เพราะการมองปัจจุบันนี้การมองทุกอย่างนี่  ผมนี่ได้รับเรียนรู้ตั้งแต่ปี ๓๑ แล้ว ผมไปเรียนหลักสูตร ปรอ.  คือ วปอ. นี่ หลักสูตรของผมก็เพื่อนร่วมรุ่นตอนนั้นก็มี ดร.โกร่ง อาจารย์ โกร่ง วีรพงษ์ รามางกูร  มีหม่อมอุ๋ย หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล มี ดร.สุชาติ  ธาดาธำรงเวช ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการปัจจุบันนี้  มีตัวผม และก็มีท่านอัยการสูงสูด ท่านเรวัตร ฉ่ำเฉลิม นักกฎหมาย และก็มีนักธุรกิจ ก็มีคุณธนินท์ เจียรวนนท์ คุณสุขุม นวพันธ์ พวกดร.อาจ  พวกเหล่านี้  รุ่นหนึ่งนี่ค่อนข้างจะคัด  เขามองมานานแล้วในหลักสูตรนั้น  เขาบอกว่าเราต้องมองว่าทรัพยากรทั่วโลกนี้  เป็นของเราเราจะไปใช้ได้ยังไง รวมทั้งทรัพยากรบุคคลด้วย เราจะใช้ได้ยังไง  นะครับ  ต้องมอง นะครับ  เพราะฉะนั้นคุณจะเห็นว่าคุณธนินท์นี่แกถึงไปลงทุนในเกือบทั่วโลก  เพราะฉะนั้นบริษัทไทยใหญ่ๆไม่ว่าอย่าง TUF ก็ดี ไปซื้อโรงงานทูน่าต่างๆ ทั่วโลกซึ่งมีสาขาอยู่ ๑๐ กว่าประเทศ  คนไทยไปลงทุนเยอะ มองว่าทุกอย่างเป็นทรัพยากรของเรา  เรามองแค่อย่างนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นผมก็เชื่อว่านักยุทธศาสตร์ทั่วไปก็คงมองหมดนะ  มองว่าจะได้ประโยชน์จากตัวไหนยังไงทั้งหมด  ทุกวันนี้เรามองดูเราต้องมองยุทธศาสตร์ให้ออกนะครับว่าเขามองกันยังไง อย่างอินเดียเขามานี่  เขาก็ต้องมียุทธศาสตร์ของเขา  ว่าเขาจะได้อะไรจากตัวนี้ นอกจากการบาลานซ์กับจีน อเมริกาที่อยู่ไกลๆ มานี่ได้อะไร  ญี่ปุ่นได้อะไร  ไทยเราประเทศเล็กๆเพื่อบ้านนี่ยังไงก็ได้ หมายถึงว่ายังไงก็ได้ไม่ใช่ว่าอะไรก็ได้นะ ยังไงก็ต้องได้ประโยชน์ พูดให้มันชัด ๆ อย่างนี้  จากโครงการทวาย นะครับ เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าถ้าเผื่อท่านไปดูมติ ครม. หลังจากที่ว่า ครม.ชุดนี้ไปประชุมสัญจรที่เมืองกาญนี่แล้วได้อะไรกับโครงการทวาย จะมีเยอะแยะเลย ที่จะทำถนนหกเลนส์เชื่อมจากทวายมาบ้านพุร้อน อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ยังไง  จะมีการเปิดด่านยังไง ทางเมืองกาญเขามีการเตรียมความพร้อมยังไง  ภาคเอกชนนี่เขาเปิดแล้วว่าจะต้องอบรมภาษาอะไรบ้าง  เตรียมคนของเขา ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นอะไรยังไง ต้องให้คนเขารู้ เมืองกาญนี่เขาเตรียมมาเป็นบางส่วนซึ่งอยากจะฝากทางด้านผู้ว่าราชการจังหวัด  ทางด้านหอการค้า  สภาอุตสาหกรรม รวมทั้งมหาลัย สถานศึกษาต่าง ๆ ที่นี่  ที่เราจะร่วมแรงกันเตรียมในส่วนที่เราจะเตรียมได้ ไม่ต้องรอให้ใครสั่งมา  เพราะว่ามันเป็นผลประโยชน์ของเราของจังหวัดอุบล เพราะฉะนั้นเมืองกาญเองเขาก็มีการเตรียมการรุกมากในส่วนเหล่านี้ นะครับ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องมองดู แม้กระทั่งว่าจีนทำไมเขาค้าขาย  ทำไมเขาโตไวมาก เขามีเงินคงคลังมาก เขาเองชัดเจนครับ รถไฟความเร็วสูงนี่จากเชียงราย ลงมาเชียงใหม่ มากรุงเทพฯ  จากรุงเทพฯเข้าโคราช เข้าหนองคาย  ไปลาวไปเวียดนาม ถ้าเผื่อท่านไปดูเครือข่ายโครงสร้างของรถไฟของเขานี่เขาสร้างไว้ยังไง  อันนี้เป็นประโยชน์ทั้งของจีนทั้งของเราด้วย ในการทั้งขนคน ขนสินค้า ขนทุกอย่าง เขามองไปในลักษณะอย่างนั้นหมด  ในขณะเดียวกันในด้านการเมืองระหว่างประเทศเขาก็ได้ เหมือนกับเราต้องจับมือกับเขาแล้ว  เขามาลงทุนให้เราจะคืนเป็นทรัพย์สินยังไง ซึ่งรัฐบาลนี้กำลังเจรจาอยู่ ผมทราบเป็นการส่วนตัวว่ากำลังเจรจาว่าจะใช้เงินไปยังไง ในขณะเดียวกันจีนก็อยากจะลงมา  เขามีเงินเยอะเขาก็อยากจะขยายเงินสกุลหยวนของเขา  ค้าขายโดยเงินสกุลหยวน  แทนที่ว่าจะใช้เงินสกุลอื่น  เขาก็อยากให้เงินสกุลหยวนของเขาเป็นสากล เป็นอินเตอร์  เขาก็มียุทธศาสตร์ของเขา เขาต้องมองอะไรทุกอย่างว่าอะไรมันเกิดขั้น  นะครับ  นั่นคือจีน และจีนเขาก็ให้ความสำคัญกับเรามากๆ ด้วย  รองประธานาธิบดีคนที่มาเยี่ยมประเทศไทย คนนี้เดือนธันวา ได้รับการวางตัวเป็นทายาทที่จะเป็นประธานาธิบดีต่อจากคนปัจจุบันนี้  เป็นการส่งสัญญาณอะไรซักอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นไทยเรานี่ในฐานะที่เราเป็นประเทศเล็ก เราเองด้านการทูตหรือด้านDiplomatic นี่เราจะต้องเก่ง เราจะต้องวางยุทธศาสตร์ยังไง เราถึงจะอยู่บาลานซ์ได้กับ Super Power Country เราจะบาลานซ์ได้ยังไง  ตัวนี้สำคัญเราต้องมองให้ออกนะครับ  เพราะบางทีประเทศเล็ก ๆ เราไปขัดขาเขา  เขาก็สามารถที่จะทุบเราได้  เพราะฉะนั้นตัวเหล่านี้นี่เราก็ต้องมองข้างบน นี่ผมวาดภาพให้ท่านเห็นว่าภาพทั้งโลกนี่มันเป็นยังไงก่อน  เทคโนโลยีมันเป็นยังไงก่อน พอกลับมาถึงอาเซียนอย่างนี้ผมก็ไม่เคยจำว่าอาเซียนประกอบด้วยกี่ประเทศ แต่รู้ว่าอาเซียนมีอยู่ ๓ ระดับด้วยกัน คือประเทศที่มีความเจริญสุดพร้อมสุดนี่ แน่นอนครับ สิงคโปร์ เขาเป็นประเทศเล็กเขาอยู่ในวงการค้าการขายมานาน เปิดวันนี้เขาก็พร้อมวันนี้  คงไม่ต้องมาคุยมาถามว่าเราจะต้องเตรียมความพร้อมอะไรอีก  เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าสิงคโปร์นี่สมัยก่อนนี่มองเฉพาะภายในประเทศ  ช่วงหลังนี่ผู้นำของบอกคุณต้องออกนอกประเทศไปแล้ว ในช่วงที่เรามีปัญหาฟองสบู่  คุณจะเห็นว่าทรัพย์สินของเรานี่สิงคโปร์มาถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่  ไม่ว่าจะเป็นธนาคารก็ดี  ว่างๆคุณลองไปเช็คดูแล้วกันถ้างานไหนที่เป็นของเขา ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโรงแรมใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเรื่องการเงินการธนาคารนี่ชัด  ธุรกิจชัด  นอกจากนั้นแล้วเขายังทำหน้าที่เป็น Broker  คือสามารถี่จะซื้อเอาสินค้าไม่เฉพาะประเทศไทยหรอก ซื้อจากทุกประเทศ  เป็นคนกลางไปขายให้กับประเทศอื่น ๆ นะครับ  เขาเองเขามีความพร้อมสูง  เขาเองเขาเป็นศูนย์การเงินการธนาคารอยู่แล้ว  อย่าไปอิจฉาเขาว่าทำไมเขาเป็นศูนย์การเงินการธนาคารได้ 
ผมจะเรียนท่านว่าสิ่งที่เขาเป็นได้เพราะอะไร   เราอยากจะเป็นไม่ใช่ว่าเรามีสถานที่มีตึกสูงแล้วเราจะเป็นได้นะ  ไม่ใช่ เขาเป็นได้เพราะว่าเขามีความพร้อมในทุกเรื่องแล้ว  สิ่งที่เขามีความพร้อมอีกเรื่องมากกว่าทุกประเทศคือความเป็นระบบ คือมีความตรงไปตรงมาสูง มีการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามหลักนิติธรรม มีความยุติธรรม ถึงเกิดความเชื่อถือ เชื่อเถอะครับบริษัทเล็ก ๆ นี่ถ้าคุณไม่มีนิติธรรมไม่มีคุณธรรม ไม่มีหลักความยุติธรรม เอาเปรียบเขาอยู่เรื่อยไม่มีใครมาค้าคุณหรอก กฎต้องเป็นกฎกติกาต้องเป็นกติกา ทำไมนิวยอร์ก ชิคาโก เป็นศูนย์การเงินการธนาคารได้  ทำไมลอนดอนได้  ลอนดอนนี่มีแหล่งเก็บทองเวลาซื้อทองเขาซื้อเฉพาะกระดาษ แหล่งเก็บทองที่นั่นเขามี custodial เขารักษาชัดเจน มีทองชัดเจนไม่ใช่ว่าซื้อแล้วเป็นกระดาษเปล่า ๆ  คือตรงไปตรงมา เพราะฉะนั้นของบ้านเราต้องปรับอีกเยอะครับ ถ้าหลักปัดไปปัดมาไม่ได้ อย่างเช่นเรื่องอนุโยโตตุลาการนี่ เราจะเห็นว่าคนมาค้าขายจากต่างประเทศเขามาค้าขายลงทุนเนี่ย  เขาจะมีสัญญาว่าถ้ามีข้อพิพาทเขาจะไม่ขอใช้บริการของไทย  เขาขอใช้บริการต่างประเทศ  ตกลงกันเฉพาะ  แสดงว่าเรานี่เขาไม่เชื่อถือ เพราะฉะนั้นไอ้ตัวเหล่านี้เป็นตัวหนึ่งซึ่งผม  พูดแล้วผมอยากให้ท่านได้นึกคิดและติดตัวท่านไปพิจารณาว่ามันจริงไหม  นะครับ  ฉะนั้นสิงคโปร์นี่เขาเอารอดแน่ เขามีกองทุนสองกองทุน  กองทุนหนึ่งก็เรียกว่าเทมาเส็กที่ไปซื้อทรัพย์สินทั่วโลก รวมทั้งชินคอร์ป  เขาไปลงทุนทั่วโลก  ถ้าเผื่อท่านสนใจเรื่องกองทุน  จะมีจีนก็ตั้งกองทุน  ทางด้านประเทศแถวอาหรับก็ตั้งกองทุน เพราะเงินเขาเยอะ เดนมาร์กก็ตั้งกองทุน ที่มาซื้อเครือข่ายดีแทคเนี่ย  ซึ่งประเทศไทยเราไม่เคยคิดตั้งกองทุน ทั้งๆ ที่เรามี Reserve เพราะว่าบางทีท่านก็รู้ว่าค่าเงินของเรามันขึ้นอยู่กับตัวอะไรบ้าง ที่มันเปลี่ยนไปเปลี่ยนไปมาถ้า Reserve เราเยอะ balance sheet เราเป็นบวกมาก พวกเหล่านี้มันตัวกระทบทั้งหมด รายรับรายจ่ายถ้ารายรับสูงถ้าเงินไหลเข้ามามากก็ทำให้เงินบาทเราแข็ง  เงินเราแข็งหรืออ่อนพวกเหล่านี้มันก็ทำให้มีปัญหาตัวการค้าการขายทั้งหมด พวกนี้เขาจะมีกลุ่มเชี่ยวชาญเฉพาะมาทำตัวนี้ นะครับ เพราะฉะนั้นสิงคโปร์เขาชัดเจน  มาเลเซียเองก็เคยอยู่หลังไทย ตอนนี้แซงขึ้นไป  เขาก็มีปัญหาของเขาแต่ก็ปัญหาน้อยกว่า  เขาเองเขาก็มาซื้อกิจการในประเทศไทยหลายๆแห่ง  เรื่องบริษัทหลักทรัพย์  ก็ดี  การธนาคารก็ดี  เขาต้องขยายเครือข่ายแบงค์เขาไปทั่วอาเซียนเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเขาก็มีกลไกเครื่องไม้เครื่องมือของเขา  นี่ผมกำลังพูดภาพกว้างๆก่อนที่จะให้ท่านได้เห็นว่าแต่ละประเทศเขาวางของเขายังไง  สิงคโปร์เขาวางของเขาไว้ยังไงแน่นอนสิงคโปร์เขามีแบงค์  เขามีความพร้อม  ถ้าคุณจะทำการค้าในอาเซียนคุณต้องใช้การธนาคารทั้งหมด เขามีแล้วทั้งหมด เขาเป็นเจ้าของแบงค์ด้วยนะไม่ใช่ไปเปิดสาขานะ คุณคิดว่ามาเลเซียมีอะไร  CIMB  อย่างนี้  สิงคโปร์มี  OUB  อย่างนี้  หรือหุ้นใหญ่ของธนาคารกรุงเทพ  ธนาคารกสิกรไทย ก็ของสิงคโปร์  เขามีหมดเพราะฉะนั้นเวลาเขาทำอาเซียนเขาได้ประโยชน์หมด เขาวางไว้หมดแล้ว  แต่ในอีกกลุ่มหนึ่งก็มีพี่ไทย  มีฟิลิปปินส์  มีอินโด นี่คืออีกกลุ่มหนึ่งที่ว่ามากลาง ๆ นะครับ  ของเรามีอะไรท่านก็รู้อยู่  เขาดูลึกลงไปอีกนะว่าในแต่ละประเทศที่มีการแข่งขันเขาดูปัจจัยอะไรบ้าง  นะครับ เขาดูปัจจัยในหลายๆ เรื่อง ทางหอการค้าสภาอุตสาหกรรมนี่จะรู้ดีว่าเขาดูปัจจัยอะไรบ้าง ที่เขาจะมาลงทุนของเรานี่ถือว่าโอเค นะครับ แต่ก็จำเป็นต้องยกระดับในหลาย ๆ เรื่อง ของเราถือว่าโอเค แต่เขาไปดูหมดนะ  รายได้ เขามีเทียบกันเรื่อหลักรายได้ เรื่องจำนวนประชากร  อายุประชากร ที่อยู่ในแรงงานจำนวนเท่าไหร่เขาดูละเอียดหมดนะ ถ้าท่านดูการโฆษณาชวนเชื่อ เอ้ย ไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อสิ  โฆษณาให้ไปลงทุนเชิญชวนให้ไปลงทุนในประเทศอินโดหรือฟิลิปปินส์เนี่ย  เขาจะโชว์อันหนึ่งเลยว่าเขาเป็นประเทศที่มีพลเมืองจำนวนมาก  ในขณะเดียวกันเขาบอกว่าเขามีประชากรในวัยทำงานเป็นกี่เปอร์เซนต์ของ corporation เขาจะดูหมด จะแข่งกันด้วยอันนี้ทั้งหมด เราจะรู้ นะครับ และอีกกลุ่มที่สามก็มีพวก  กัมพูชาก็ดี  ลาวก็ดี  เวียดนามก็ดี  รวมทั้งพม่า ส่วนบรูไนเขาเป็นประเทศเล็กนิดเดียว เขายืนอยู่บนขาของเขาได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหา เขาเป็นแหล่งน้ำมันเขาเองเขาก็มีส่วนสำคัญเหมือนกัน  แต่ถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆก็คงไม่เท่าไหร่  นะครับ เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่ามีพม่า สรุปแล้วอาเซียนเราก็น่าจะมีซัก ๑๐  ประเทศ นะครับ  จะเห็นว่าเวียดนามก็อยู่ในลักษณะของปัญหา ตอนนี้เขาก็มีปัญหาหลาย ๆ เรื่อง  นะครับ ว่าเขาจะน่าไปลงทุนมากน้อยแค่ไหน  รวมทั้งอีกปัญหาหนึ่งก็คือ ปัญหาที่ผมอยากจะเรียนท่านว่าความโปร่งใส  อันนี้ก็ถือว่าเป็นปัญหาหนึ่งของการไปเลือกลงทุนเหมือนกัน  การลงทุนนี่เขามองว่าอย่างที่ผมบอกนะว่า ส่วนหนึ่งของการลงทุนของ Cost ของ logistic ของ Cost  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนก็ดี คือ การจ่ายเบี้ยไบ้รายทางของเรานี่ถือว่าเป็นการเพิ่ม Cost ของการลงทุน ในเมื่อธุรกิจเขาเสียไปอย่างนี้ เขาก็ต้องไปบวกเป็นค่าใช้จ่าย  เพราะฉะนั้นค่าครองชีพของเรานี่ส่วนหนึ่งต้นทุนสูง ผลักภาระมาให้ผู้บริโภคก็คือจากการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตัวนี้ นะครับ  ซึ่งผมก็ได้พูดกับรัฐบาลว่าต้องลดตัวนี้ลงให้ได้  ต้องสร้างความโปร่งใสของประเทศ ยกระดับมีการวัดคะแนนการให้คะแนนหรือเรตติ้งต้องยกระดับให้ได้  ตัวนี้ก็เป็นตัวปัจจัยหนึ่งเกี่ยวกับการค้าการขายก็กระทบมากเหมือนกัน ซึ่งผมก็มีประสบการณ์มันก็ชัดมาก ๆ รวมทั้งแน่นอนครับทางด้านความนิ่ง  ทางด้านการเมืองก็ดี  ของประเทศไทยเรานี่พูดง่ายๆ ว่ามีข้อด้อยอยู่ไม่กี่อันหรอก นะครับ  ซึ่งอยู่ในวิสัยที่คนไทยจะแก้ได้ นะครับ และรวมทั้งคุณภาพของประชาชนของประชากรไทยเรานี่ มีการศึกษามีการทักษะในการทำงานมากน้อยแค่ไหน  อยู่ตัวเหล่านี้หมด นะครับ แต่สิ่งดีๆของไทยเรานี่เยอะนะครับ ความเป็นไทยของเรา  แต่ในขณะเดียวกันความเป็นไทยของเราก็ทำให้เราสนใจภาษาอื่นน้อยมาก  ปัจจุบันนี้เรื่องภาษาสำคัญ  ภาษาไทยอย่างเดียวไม่พอคุณต้องรู้คอมพิวเตอร์  คือเทคโนโลยี  อย่างที่ผมบอกว่าท่านอย่าไปปฏิเสธมันเลย  ท่านต้องกล้าใช้กล้าลองกับมัน นะครับ  แล้วก็รวมทั้งภาษาเนี่ย  ภาษาอังกฤษไม่พอ  ภาษาอังกฤษเขาถือว่าเป็นเบสิกของภาษาทั่วโลก  ตอนนี้เนื่องจากเศรษฐกิจจีนแถวอาเซียนแถวเอเชียเราดี  เขาเลยมองว่าภาษาจีนนี่เคยมีบทความในหนังสือพิมพ์ของอเมริกาหรือยุโรปนี่แหล่ะ เขามีการวิเคราะห์กันว่าอีกกี่ปีภาษาจีนจะมาเทียบคู่กับภาษาอังกฤษ  เขามองไปไกลขนาดนั้น  เขาตั้งคำถามว่าอีกกี่ปีภาษาจีนนี่จะมาตีคู่กับภาษาอังกฤษ  ณ วันนี้ชัดเจน  เมื่อวานนี้ผมฟังข่าวในทีวี เขามีการประชุม World Economic Forum on East Asia  ซึ่งจะเปิดวันนี้  เขามีการประชุมพื้นฐานไปแล้ว  ท่านจะเห็นว่ามีคนมาประชุมเยอะมาก บุคคลสำคัญ ๆ ในระดับผู้อำนวยการ WTO ก็มา  ผู้อำนวยการอังค์ถัด  ซึ่งอันนี้คือคนไทย คือ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ก็มา  ผู้นำหลายๆ ประเทศมา  รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้ โนเบลไพรซ์ ก็มา  คือเราเองเราต้องตามบ้าง จับประเด็นคีย์ๆ ที่เป็นหลักๆเอาไว้  เราจะเห็นว่า ดร.ศุภชัย  นี่ท่านพูดในที่สรุปเมื่อวานนี้  เขาบอกว่าตอนนี้เศรษฐกิจอเมริกากำลังประครองทรงๆ อยู่จะออกมาตรการมาผ่อนปรนครั้งที่ ๓ หรือไม่นั้นนี่  ทุกคนยังตั้งคำถามอยู่ ที่เรียกว่า QE  (Quantitative easing )  คือการผ่อนปรนทางด้านการเงิน  หมายความว่าคือการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าไป นะครับ  เราจะเห็นว่าตัวเหล่านี้การประชุมเขามามองดูว่าจะวางท่าทียังไง จะ position ยังไง อาเซียน ยุโรปมีปัญหาซึ่งต้องใช้เวลาอีกเหมือนกันในการที่จะแก้  เขามาคุยกันว่าเชื่อว่าจะได้ประโยชน์  ว่าเศรษฐกิจเอเชียทั้งหมดโดยรวมนี่จะเป็นตัวที่จะประคองไม่ให้เศรษฐกิจโลกทรุดลงไปอีกหรือเปล่า  นี่คีย์มันอยู่ตรงนี้  หลักสำคัญมันอยู่ตรงนี้ โดยเฉพาะท่านก็รู้ว่าอินเดียก็ดีคืนดีวัน  จีนก็ดีคืนดีวัน  เอเชียตะวันออกกลางไม่ต้องห่วงแล้วเขามีน้ำมัน  นะครับ  ญี่ปุ่นก็ไม่ต้องห่วงแล้ว แล้วอาเซียนของเราก็รวมจะเปิดเป็นตลาด AEC  เขาหวังว่าสิ่งเหล่านี้นี่แหล่ะจะช่วยทำให้เศรษฐกิจไม่ทรุดนอกจากไม่ทรุดแล้วยังจะพอประคอง  ในขณะเดียวกันก็จะช่วยให้เจริญเติบโตด้วยถึงจะไม่มากก็ตามแต่ก็จะทำให้  Stable  และก็โตขึ้นถึงมันจะโตไม่มาก  เขาคุยกันในประเด็นเหล่านี้  ซึ่งเราก็คงต้องตามว่าการประชุมนี้
ที่ผมเล่าให้ท่านฟังทั้งหมดนี้ เราจะทำไม่รู้เห็นไม่ได้  ถ้าเรายังอยู่ในวงการถ้าเรายังอยู่ในในธุรกิจ หรือในวงการต่าง ๆ เนี่ย  เพราะการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างมันเร็วมาก  การตัดสินใจแต่ละอย่าง อย่างที่ผมเอ่ยมาว่า ถ้าอเมริกาออก QE3 ขึ้นมานี่มันจะกระทบอะไร  เขามองว่าถ้ากรีกยังอยู่กับ  EU ไม่หลุดไปเนี่ย จะต้องเตรียมการยังไง ถ้าหลุดไปจะเกิดอะไรขึ้น แต่ละประเทศต้องเตรียมการยังไงมันกระทบไปหมดนะ นะครับ เพราะฉะนั้นอันนี้คือเป็นโจทย์ เป็นเรื่องของเราที่เราอยู่เราต้องติดตามหมด นะครับ  มันมีผลกระทบหมด   เพราะฉะนั้นผมเล่าให้ท่านฟังว่าตัวเหล่านี้ที่ผมค้างไว้ภาษาเนี่ย  ตอนนี้ภาษาจีนก็เริ่มแล้วว่าโอเคเราจะเตรียมความพร้อมยังไง นะครับ  อย่างอุบลเรานี้ชัดเจนมีคนไทยพื้นที่เป็นเชื้อสายอีสานจริง ๆ  คนไทยเชื้อสายจีน คนไทยเชื้อสายเวียดนาม เยอะแยะ  นะครับ  เราจะได้ประโยชน์จากตัวนี้ยังไง  เราจะใช้ประโยชน์จากคนไทยเชื้อสายเวียดนามที่รู้ภาษาเวียดนามได้ยังไง  เราต้องมาคิด  เราจะใช้ประโยชน์จากคนไทยเชื้อสายจีนที่รู้ภาษาจีนได้ยังไง   เราจะใช้ประโยชน์จากคนไทยเชื้อสายอีสานจริงๆให้ได้ประโยชน์ยังไง  เราต้องเตรียมแล้วนะครับ อย่างน้อยก็ภาษา  หรือต่อไปนี้ท่านอย่าลืมนะว่าตอนนี้อย่างที่ครัวไทยไปสู่ครัวโลกนี้ไม่ใช่ไปพูดกันเล่นๆ นะ  ตอนนี้ EXIM Bank หรือธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กำลังพิจารณาจะให้การปล่อยสินเชื่อหรือเงินกู้ไปลงทุนในต่างประเทศ  ไม่ใช่ว่าไปตั้งร้านค้าอย่างเดียวหรอกพอไปปุ๊บนอกจากจะไปเผยแผ่ในเรื่องอาหารไทยแล้ว  วัตถุดิบที่ผลิตมันตามไปได้หมด   เพราะฉะนั้นถ้าเผื่อท่านว่างๆ ท่านลองไปเดินดูว่าอาหารไทยที่ส่งออกมีอะไรบ้าง  มันก็เป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่มาก ๆ  เพราะฉะนั้นผมถึงบอกว่าของเรานี่ต้องเตรียมตัว  หรือแม้กระทั้ง ๕ ปีที่ผ่านมาช่วงที่พัก ๆ อยู่ไม่ได้ไปยุ่งอะไรมากก็ทำให้ผมได้มีเวลามาคิดเยอะ  นะครับ นี่คือ Position ของโลกมันอย่างนี้  ของอาเซียนมันอย่างนี้  ของไทยเราเหมือนกัน  วกกลับมาถึงอุบล  อุบลของเรานี่ท่านก็รู้ว่า อย่างท่านผู้ว่าราชการจังหวัดบอกว่าติดสองประเทศ  ทางด้านเดชอุดม ก็ติดกัมพูชา  ของเราติดแขวงอีกสองแขวงคือสาละวันกับจำปาศักดิ์  นะครับ  วกในประเทศเรามีศรีสะเกษ มียโสธร มีอำนาจเจริญ อุบลเราท่านก็คงจะทราบเรามีสนามบินนานาชาติ ถือว่าเปิดไว้ให้เราแล้วขึ้นอยู่กับเราว่าเราจะทำให้มันเป็นนานาชาติได้ยังไง  หลายคนไปหาผมบอกว่าอยากให้เป็นนานาชาติ  ผมบอกว่าเราต้องทำตัวเราให้เป็นนานาชาติอย่าให้เครื่องบินต่างประเทศมาลงก่อน เราอยากเป็นแต่เราได้ทำตัวให้เราได้เป็นหรือยัง  ต้องถามตัวเรานะ มันต้องย้อนถามตัวเรานะครับ  เราจะเห็นว่าอุบลเรานี้เหมาะมาก  จังหวัดใกล้เคียงก็จะเห็นว่าจากร้อยเอ็ดจะเข้ากรุงเทพก็ต้องมาขึ้นเครื่องบินที่อุบล  จากสุรินทร์ ก็มาขึ้นเครื่องที่อุบล จากศรีสะเกษ
ข้ามไปเสียมเรียบ หลายๆท่านคงเคยมีประสบการณ์มาแล้วชัดเจนครับ  ไปกลับภายในวันเดียว  ได้นะครับ  จากอุบลท่านก็รู้แล้วมีทัวร์ไปที่ปากเซ หรืออาจจะวกเป็นวงกลมข้ามลาวไปที่เวียดนามแล้วกลับมาได้  ซึ่งอันนี้ต้องขอบคุณเอกชนไป
Survey มาแล้วเยอะแยะเลย  ไปผลักดันสิ่งเหล่านี้มาเยอะ ได้ทำอะไรค้างๆไว้พอสมควร ซึ่งบางอย่างผมก็ทราบมาว่ามันเลยขีดความความสามารถของท่านไป   ผมถึงพยายามมาคุยกับผู้ที่พอจะมีพลัง มารวมพลังช่วยให้กับอุบลไป ซึ่งคราวที่แล้วผมมางานวันที่ ๑๔  ที่จังหวัดอุบลราชธานี  ที่โต๊ะผมนั่งจะมีท่านวิฑูรย์ นามบุตร  เคยเป็นอดีตรัฐมนตรี  ท่านสิทธิชัย โควสุรัตน์  ก็เคยเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วย  มีผมแล้วก็มีท่านสมบัติ ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีคมนาคม และก็ผมได้ติดต่อคุยกับท่านสุทัศน์ และก็คุยกับท่านสุพล  ว่าเราอยากจะมาช่วยกันเปิดภูมิภาคนี้ให้มันเปิด  ถ้าเราปิดอย่างนี้เราก็จะเสียโอกาส    ไม่งั้นเราก็ต้องไปปากเซ แล้วก็ไปไปเวียดนาม Cost มันก็จะสูงมันจะอ้อม  ถ้าไปที่มุกดาหารก็ต้องไปอ้อมอีก  เผอิญสะพานแหล่งที่สี่ถ้าเผื่อทางด้านจังหวัดก็ดี  เอกชนก็ดี  พยายามกันผักดัน รวมถึงการเมืองด้วย  ที่อำเภอนาตาลเราแยกไปจากเดชอุดมถ้าตัดเข้าสาละวัน สาละวันก็ไปเวียดนามซึ่งระยะทางไม่น่าจะเกิน ๒๕๐ - ๓๐๐ กิโล ซึ่งมันก็จะเป็นเส้นทางที่ตรงแล้วมันก็จะไปออกส่งสินค้ากระจายสินค้าไปที่อินโดจีน  คือไปลาว ไปเวียดนาม รวมทั้งไปประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น  คือไปลงเรือที่นั่น  เพราะฉะนั้นที่ผมพูดเมื่อกี้นี้ที่บอกว่าญี่ปุ่นเนี่ย  เขาสนใจลุ่มแม่น้ำโขงก็คือเขาอยากให้เชื่อมไปสู่ประเทศเขา เพื่อนำสินค้าของเขากลับมาสู่ในลักษณะนำเข้า ให้ Export สินค้าไปที่เขา และเขาก็ Import สินค้าเข้ามา  เราต้องมองว่าตัวนี้เป็นยุทธศาสตร์ตัวหนึ่งที่เราจะเปิดพื้นที่นี้ภูมิภาคนี้  นะครับและก็สามารถที่จะมองวัตถุดิบทั้งทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ได้  ซึ่งอันนี้แหล่ะมันก็จะนำมาสู่เรื่องว่านักอุตสาหกรรมต่าง ๆ  ที่เขาจะลงทุนมันก็จะต้องมาตรงนี้ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนว่าเรามีอะไรที่น่าสนใจจะมาลงทุน ลงทุนตรงไหน  ถ้าเขามาเขาก็จะมาดูว่าด้านสาธารณสุขเป็นไง ด้านความเป็นอยู่นี่โรคเยอะไหม  ขโมยชุมไหม  การรักษาความปลอดภัยเป็นไง  แล้วก็คนพื้นที่เป็นยังไง  ยิ่งถ้าญี่ปุ่นมาตรฐานเขาจะสูง การรักษาความปลอดภัยเขาจะสูง  ปัญหาแรงงานเป็นยังไง  และเส้นทางโลจิสติกเป็นยังไง  เขาดูหมดแหล่ะ  นะครับ ประเด็นเยอะแยะที่เขาจะดูละเอียดมาก  รวมทั้งนักลงทุนไทยด้วยอาจจะมาทางด้านนี้ เพราะของเรานี่ต่อไปนี้วัตถุดิบของเรามีอะไรบ้าง มียาง มีมีน มีข้าว มีอะไรอีกหล่ะที่เราจะทำ  เพราะว่าในอนาคตท่านก็ทราบว่าความมั่นคงที่ FAO เขาให้ความสำคัญมาตลอด เคยจำและก็เคยคุยกับพี่ชายผมเขาเคยเป็นผู้อำนวยการหรือ  Director ที่ FAO มานี่เขาจะบอกว่าปัจจุบันนี้โลกเรานี่  จะคุยถึงความมั่นคงอยู่สามเรื่องหลักๆ อันแรกก็คือ Energy Security คือความมั่นคงทางด้านพลังงาน เพราะฉะนั้นความมั่นคงทางด้านพลังงานตอนนี้คุณจะเห็นว่าพลังงานส่วนหนึ่งของต้นทุนของเรา  ในการผลิตก็ดี  ในการขนส่งก็ดี   มันเป็นต้นทุนของเราซึ่งถ้าน้ำมันมันสูงนี่เราก็จะเดือดร้อนกันไปหมด  เพราะฉะนั้นๆปัจจุบันในโลกนี้เหลือสำรองไว้เท่าไหร่ ต่อไปเราจะมีพลังงานทดแทนได้ยังไง  ซึ่งเราก็เคยพูดว่าเราจะใช้น้ำมันบนดินที่ว่า เอาจากแสงแดดบ้าง  ลมบ้าง  รวมทั้งจากต้นไม้บ้างหรือว่าต้นปาล์มเอาผลปาล์มมาทำพลังงานทางเลือก  พวกนั้น ซึ่งตอนนี้มันก็ไปกันเยอะแล้วมันต้องคิดแล้วว่าแต่ละตำบลจะพึ่งตนเองได้ยังไง จะมีโรงไฟฟ้าขนาดเล็กได้หรือเปล่า นะครับ  คือมันต้องมองไปข้างหน้า  อันที่สองก็คือเรื่องน้ำ Water Security  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รับสั่งว่าน้ำคือชีวิตไม่มีน้ำชีวิตก็อยู่ไม่ได้  อย่าไปประเมินต่ำนะครับ น้ำที่เราใช้อิลุ่ยฉุยแฉะที่เขาพยายามรณรงค์ให้เห็นคุณค่าน้ำประหยัดน้ำ  เรื่องจริงน้ำมีความหมาย  ณ วันนี้ท่านอาจจะไม่นึกว่าน้ำที่ท่านดื่มขวดหนึ่งนี่มันหลายตังค์แล้วนะ  เพราะฉะนั้นเราจะไปกินน้ำโอ่งน้ำอะไรนี่มันไม่ใช่แล้วนะ อย่างน้อยก็ต้องกินน้ำต้มไม่งั้นก็ต้องกินน้ำขวด  น้ำมันเริ่มมีบทบาท น้ำมันมีราคา  และน้ำมีความจำเป็นในการอุปโภคด้วย  ในการทำอุตสาหกรรมก็ดีบางประเภทเนี่ยต้องใช้น้ำ  สำคัญที่สุดคือน้ำในการเพราะปลูก  เพราะฉะนั้นต่อไปใครมีแหล่งน้ำเหมือนมีแห่งทอง  คุณธนินท์  เคยบอกผมว่าถ้านาใครอยู่ในที่ลุ่มขุดเป็นบ่อเลี้ยงปลาจะได้เงินมากกว่าขายข้าวอีก สามารถที่จะขายน้ำได้อีก ถ้าเก็บน้ำอยู่  อันที่สามที่ FAO พูดไว้ก็คือ Food Security คือเรารู้อยู่แล้วว่าในโลกนี้มันมีอาหารไม่พอ  กับอาหารไม่สะอาดไม่ปลอดภัย Food Safety กับ Food  ตัวนี้นี่สำคัญมากแต่โชคดีของประเทศไทยเราเนี่ยไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าเป็นแผ่นดินที่มีค่าเป็นแผ่นดินทอง ที่พูดว่าทองไม่ใช่ว่าทองสีเหลืองเหมือนอย่างที่เราใส่  เป็นแผ่นดินทองที่เราจะใช้ให้มันเป็นประโยชน์ ณ วันนี้นี่เราเองเรายังไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่เรายังมองคุณค่ามันน้อยอยู่  ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องของรัฐบาลกับภาคเอกชนที่จะต้องมาพัฒนา ณ วันนี้ท่านจะเห็นว่าคนไทย  คนมาเล คนสิงคโปร์ ไปจองพื้นที่ที่เขมรเยอะมากปลูกปาล์ม ปลูกมัน ปลูกข้าวเยอะมาก  จีนก็มาลงทุนในลาวเยอะ  จีนนี่ไปเช่าที่เขมรก็เยอะ  เวียดนามแถวอัตบือเนี่ย  ตอนนั้นลาวเขาเปิดนโยบายเนี่ย  เวียดนามก็มาปลูกยางที่นั่นเยอะ  คนไทยเบียร์ตาช้างก็ไปเช่าไปที่ที่ลาวปลูกกาแฟสองหมื่นกว่าไร่ ไปซื้อสนามกอล์ฟที่ปากเซ แถวปากช่องของลาว เยอะมันข้ามหมด  ณ วันนี้ท่านก็รู้อยู่ในพื้นที่ว่าพออีสานปลูกยางได้  คนเคยทำสวนยางที่ภาคใต้ก็มาปลูกที่นี่  เราจะเห็นว่ามันเปลี่ยนเร็ว  อีกไม่นานนี่ผมก็ทราบว่าจะมีโรงงานน้ำตาลเกิดขึ้น นะครับ  เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าอุบลของเราเนี่ยมันเป็นศูนย์  เราจะทำยังไง  สิ่งแรกที่ผมพูดก็คือว่าคุยกับหลายๆคนว่าสิ่งแรกที่จำเป็นคือต้องเปิดพื้นที่ก็คือต้องมีสะพาน เพราะฉะนั้นผมเองอยากจะเชิญชวนพวกเราได้ทำพื้นที่ตรงนี้ให้มันเปิด มันดีสำหรับพื้นที่ตรงนี้  อันที่สองชัดเจนเลยว่า  เราจะต้องมาดูว่าเมื่อเปิดพื้นที่แล้วการลงทุนด้านอุตสาหกรรมเราจะมีอะไรบ้างจะชวนใครมาลงบ้าง  อันที่สามชัดเจนเรื่องท่องเที่ยวพวกคุณทำอยู่แล้ว เผอิญผมก็พอรู้จักคนในกระทรวงท่านเป็นข้าราชการและนักการเมืองในกระทรวงท่องเที่ยว ถึงบอกว่าเราจะทำยังไงถึงจะมาทำตัวนี้ให้มันได้  แทนที่เราจะบ่นให้ผมฟัง  มาบ่นให้ผมฟังผมก็รับฟัง ทำไงเราถึงจะมารวมกันเป็นพลังเพื่อจะดันสิ่งเหล่านี้ได้  ถ้าเผื่อท่านดูทีวีเมื่อวานนี้เนี่ยฟอร์รั่มหรือหัวข้อการสนทนานั้นเนี่ย ของ World Economic Forum ที่เขาประชุมกันหน่ะ เขาประชุมเรื่องการท่องเที่ยว  เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพในเรื่องการท่องเที่ยวเนี่ย  คือเราเองเราอยากจะได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวตัวเหล่านี้  แล้วรัฐเองก็ได้ทุ่มเงินลงมาที่การท่องเที่ยวจำนวนมาก  ถามว่าเขาทุ่มมาแล้วนี่มันถึงเราหรือเปล่า  เราต้องตั้งคำถามว่าเราจะทำอะไรถึงจะได้เงินที่รัฐบาลเขาทุ่มลงมา  ถ้าเราเฉยเขาก็เฉยเพราะเขาไม่รู้ความต้องการของเรา  แล้วในการผลักดันเราจะผลักดันผ่านช่องทางไหน Chanel ไหนต้องให้มันชัด นะครับ  เพราะว่ามันจะได้พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตรงนี้ได้  มันก็ต้องมาว่ากัน  และต่อไปเราก็มองว่าอุบลเนี่ย  วงแหวนรอบแรกนี่ครบหรือยัง  Ring Road เนี่ย  มันขาดช่วงไหน  เราจะต่อเติมยังไง  ช่วงที่สองช่วงที่ผมอยู่ในตำแหน่งผมก็ได้ผลักดันไว้  ตอนนั้นได้มีโอกาสวางถนนสี่เลนส์เชื่อมระหว่างจังหวัดไว้เพื่อให้ไปมาสะดวก  เพราะเรามองว่าไปศรีสะเกษก็ดี  ไปอำนาจเจริญก็ดีเนี่ย หรือแม้กระทั่งไปสู่ชายแดนไม่ว่าจะตระการ เขมราฐ หรือเส้นทางพิบูลย์ไปสู่ช่องเม็ก ต้องให้มันชัดซึ่งอันนี้มันก็เริ่มเกิดขึ้นอย่างที่ท่านได้เห็น  เราก็ต้องมาต่อเติมตัวนี้และภายในอุบลเองเรามีความเป็นอุบลอะไรบ้างที่จะขาย ที่จะเชิญชวนเขามา ที่เป็นรูปธรรม นะครับ  อุบลเรามีจุดเด่นเยอะมา  อย่างที่ท่านอธิการพูดไปเมื่อกี้เนี่ย  เกี่ยวกับโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชเนี่ย  ผมเชื่อว่ามันเป็นความภูมิใจของอุบลที่มีอาคารเก่า ศิษย์เก่าเขามีความภูมิใจอยู่แล้วแต่คนอุบลก็ควรจะภูมิใจที่มีอาคาร  ผมโทษทีอาจารย์บอกว่าเป็นไม้สักแต่จริงๆคือเป็นไม้ตะเคียนหินหลังใหญ่ ที่สุด  เดิมผมก็เข้าใจว่าเป็นไม้สักแต่พอระหว่างซ่อมนี่พวกคณะเขาไปดูเขาบอกเป็นไม้ตะเคียนหิน  เป็นอาคารประวัติศาสตร์ เป็นอาคารที่ผมเองและก็ลูกหลานและรุ่นก่อนผมได้เรียน  และอาคารนั้นแหละตอนนั้นศาลากลางก็ไปขอ เผอิญคนแก่เล่าความหลังนิดหนึ่ง  ช่วงที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรีผมได้หาเงินมา ๒๐ ล้านบาท  เนื่องจากกระบวนการในการประกวดราคามันช้า  พอเขาประกาศยึดอำนาจเขาเอาเงินคืนหมด ซึ่งอันนั่นแหละเราก็เป็นห่วงผมก็ไปดูหลายครั้ง โดยเฉพาะท่านอดีตอธิการบดี คือ ดร.ประกอบ ท่านก็มาบอกว่าเราควรจะรักษาเอาไว้เพราะมันโทรมมากเขาก็พยายามไปขึ้นเป็นอาคารประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากรเพื่อไม่ให้ถูกรื้อ  ตอนนั้นเราเกือบจะถูกรื้อเราก็ไปพยายามไม่ให้รื้อ  ผมหาเงินมาก้อนแรกก็ถูกเอาคืนไป พอช่วงรัฐบาลท่านสมัคร สุนทรเวช ผมก็ไปเดินเรื่องนี้อีกทีหนึ่ง  ก็ได้เงินมาประมาณ ๑๓ ล้าน ๗ แสน หรือ ๑๔ ล้านนี่แหล่ะก็มาซ่อมจนเห็นปัจจุบันนี้  ซึ่งการดำเนินการก็ไม่ใช่ผมคนเดียวหรอกก็หลายๆฝ่ายร่วมมือกันที่จะไปผลักไปดัน เดิมตั้งแต่ทางจังหวัดเป็นต้นเรื่อง  ทางโรงเรียนเป็นต้นเรื่อง  ทางด้านคนในสมาคมชาวอุบลรู้จักอธิบดีกรมศิลปก็เป็นต้นเรื่องไป  แต่ทางกระทรวงวัฒนธรรมเขาบอกว่าต้องให้ออกแรงหน่อยหนึ่ง  ผมก็ออกแรงไปผลสุดท้ายก็เป็นความร่วมมือของพวกเราที่ช่วยกันทำให้มันคงอยู่  ณ ตรงนั้นหน่ะโดยวัตถุประสงค์ของผม ผมเห็นว่าเมืองอุบลมันโตมาก  ทุ่งศรีเมืองไม่พอที่จะจุคนแล้วแล้วผมอยากเห็นตรงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งศรีเมือง  และก็อยากให้เป็นเป็น Center ของเมือง  เพราะว่าคนมาอุบลแล้วเนี่ยไปตรงไหน  มาแล้วไปไหน สมมุติผมจะชวนเพื่อนผมมาเนี่ยผมมาอุบลแล้วผมจะไปตรงไหน  ถ้าไปเชียงใหม่เขายังมีที่ไป ไปภูพิงค์ไปอะไรต่ออะไร  ไปไนท์ซาฟารี  ไปตลาดคนเดินกลางคืน  ถามว่าอุบลนี่ไปตรงไหน  ท่านต้องตอบให้ได้นะครับ อย่างผมเนี่ยคณะเพื่อนผมอยากจะมาที่รู้เกี่ยวกับเรื่องการเงินการธนาคารหรือรู้เกี่ยวกับการลงทุนอยากจะมาเนี่ย ผมพาเขามาแล้วผมจะพาเขาไปพบใครมาแล้วเขาจะได้อะไร  อุบลจะได้อะไรต้องตอบให้มันชัด ไม่ใช่มาแล้วมาเลี้ยงมากินอย่างเดียวมันไม่พอ  เหมือนกับผมมาคราวนี้ผมมาแล้วผมบอกว่าอยากมาพูดวันนี้ต่อจากวันที่ ๑๒ เมษา  ผมคิดคนเดียวไม่สำเร็จ  ผมต้องพูดให้กับกลุ่มคนแล้วเราก็มาคิดร่วมกันว่าเราจะเดินยังไง  ก็ขอบคุณนะครับที่ทางมหาวิทยาลัยเหมือนกับเป็นการบริการเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่จะบริการชุมชนบริการพื้นที่นี้  ก็ต้องขอบคุณนะครับที่เราต้องทำ  มันมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ผมอยากจะนำกลับมา นะครับ  เราไปเที่ยวพุทธคยามาแต่เมืองอุบลเรามีพุทธคยาจำลองตั้งแต่ผมยังเด็ก ๆ  ก็ต้องขอบคุณท่าน ฟอง สิทธิธรรม อดีตรัฐมนตรีท่านเป็น ส.ส. ที่ท่านจะทำด้วยส่วนตัวด้วยความตั้งใจของท่าน เราก็ต้องขอบคุณที่ว่าท่านได้ทำสิ่งดีดีให้กับอุบล  ทำไมเราไม่ไปพัฒนาสิ่งเหล่านั้น  สร้างสตอร์รี่ให้มาดีดี ให้เป็นที่  เขียนเลย  ผมได้ยินคนพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า เดิมเนี่ยเรามีพระบรมสารีริกธาตุ เราสามารถที่จะโปรโมทได้  มีความเก่าความแก่  อย่าอุบลมีพระแก้วที่วัดศรีอุบล  ที่วัดมณีวนาราม หรือวัดป่าน้อย มีพระแก้วอะไร  ที่วัดหลวงมีพระแก้วอะไร  เป็นของเก่าแก่มาผมว่าบางองค์มีตำนานว่าเป็นรุ่นเดียวกันกับพระแก้มมรกตด้วยซ้ำ   ผมจึงได้คุยกับนายกพรชัย ว่าอยากจะเห็นประตูเมือง  แต่อย่าสร้างประตูเมืองเฉยๆ  ถ้าสร้างประตูเมืองต้องให้มีสัญลักษณ์ของอุบล  อุบลมีอะไรหลายอย่าง ๆ ที่เราไม่สร้างขึ้นมา  ต่อไปประตูพระแก้ว  วันนั้นผมก็ไปดูแต่ก็ยังไม่จุใจผม ผมบอกท่านายกพรชัย  ท่านต้องทำเป็นลักษณะที่พัก มีห้องน้ำ และก็มีซุ้มขายของซะ  คนสามารถที่จะแวะเยี่ยมชมประตูเมืองได้  ต้องสร้างให้งามและก็ให้มีประวัติพระแก้วซะ ต่อไปใครอยากไปไหว้พระแก้วองค์ไหนก็ไปตรงนั้น  หรืออุบลนี่  ที่ซึ่งเป็นแนวความคิดของท่านนายกพรชัย  ซึ่งคุยกันตั้งแต่สมัยผมเป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย  อุบลมีพระเจ้าใหญ่หลายองค์ ผมเชื่อว่าคนอุบลยังไม่รู้เลย  เราอาจจะรู่พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง  ซึ่งท่านหรือผมเองก็เคารพเป็นการส่วนตัว  มีพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ  ซึ่งคราวที่แล้วผมก็ลงเรือไปแม่น้ำโขงไปดูจุดที่เขาที่เขาจะสร้างสะพาน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อที่ปากแซง  หรือใครจะไปรู้ว่าพระเจ้าใหญ่องค์หลวงที่วัดหลวง  ซึ่งเป็นวัดแรกของจังหวัดอุบล  นะครับ  หรือพระเจ้าใหญ่สวยๆที่วัดสุปัฏเรานี่ พระเจ้าใหญ่สัพพัญญู  หรือพระเหลาซึ่งเป็นพระศักดิ์สิทธิ์   ถ้าเราไม่โปรโมทไม่สร้างสตอร์รี่ไม่สร้างประตูเมืองให้เห็นว่าเรามี  เพราะฉะนั้นแหล่งเหล่านี้มันสามารถสร้างขึ้นได้แหล่งท่องเที่ยว   ถามว่าเราจะร่วมแรงร่วมใจกันไหม  แล้วทำให้มันดี ให้เป็นประโยชน์  นะครับ  อุบลเรามีครูบาอาจารย์ทางด้านสายวิปัสสนา  เยี่ยมยอดอย่างอาจารย์มั่น  เราจะมีประตูครูบาอาจารย์  มีรูปอาจารย์มั่น อาจารย์เสาร์ รวมทั้งเกจิอาจารย์หลายๆ องค์ที่พื้นเพเป็นคนอุบลทั้งนั้นเลย ทำไมเราไม่ทำประตูครูบาอาจารย์  หรืออุบลเราเป็นเมืองนักปราชญ์เรามีพระภิกษุสงฆ์ที่บวชเรียนแล้วได้เป็นระดับสมเด็จตั้ง ๔ องค์  เพราะฉะนั้นเราต้องมาเริ่มตั้งแต่เมืองนักปราชญ์ เริ่มตั้งแต่ไม่ได้เป็นถึงชั้นสมเด็จเป็นรองรองสมเด็จ  คือ  เจ้าคุณอุบาลี  สมเด็จมหาวีระวงค์อ้วน สมเด็จมหาวีระวงศ์พิมพ์  สมเด็จมหามหามุณีวงศ์ ซึ่งเป็นอาจารย์ของผมเองช่วงที่ผมไปเรียนกรุงเทพฯผมไปอยู่กับท่าน และก็มีสมเด็จอยู่ที่วัดสัมพันธ์วงศ์  นี่ก็เป็นมหาวีระวงศ์เหมือนกัน  แสดงว่าเรามีมหาวีระวงศ์ตั้ง ๓ องค์ มันเป็นปราชญ์จริง ๆ แต่ละท่านเก่งทั้งนั้น  เพราะฉะนั้นเราต้องสร้างอะไรไว้  และในการสร้างมันต้องมีฝรั่งเรียก แอเรีย หรือที่พัก ให้คนได้หยุดได้ชมอ่านรายละเอียด  สิ่งบางสิ่งเราต้องสร้างขึ้นมานะครับ เราอย่าหากินของเก่าที่รุ่นเก่าๆได้สร้างไว้เลยมันนับวันชำรุดทรุดโทรมไป  เราต้องทำในสิ่งเหล่านี้  ถ้าเราสร้างวันนี้มันก็จะดีสำหรับรุ่นลูกรุ่นหลานไป  นะครับ   หรือสวนสัตว์อุบลเนี่ย  ตอนช่วงที่ผมน่าจะเป็นเป็นรัฐมนตรียุติธรรม  ผมก็พยายามผลักดันว่ามันเป็นสวนสัตว์เปิด  หลาย ๆคนอาจจะไม่รู้เลย  ผมบอกผู้ว่า กับ นายก อบจ. ว่าคุณช่วยไปพัฒนาไปให้คนได้รู้จัก  และป่าตรงนั้นมีจำนวนไม่รู้เท่าไหร่  อันนี้คือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากของคนอุบล อย่ามองว่าเป็นป่านะ นั่นคือเดิมมันอยู่นอกเมืองจริงตอนนี้มันเป็นในเมืองแล้ว  จะหาสิ่งเหล่านั้นอีกไม่ได้แล้ว  ถ้าในต่างประเทศถือว่าสุดยอด  ที่เราจะไปโปรโมทจะไปใช้ประโยชน์โดยไม่เบียดบังเขาได้ยังไง  หรืออุบลเป็นเมืองดอกบัวอย่างนี้ เราเคยมีมั้ย
ที่ยังเป็นโครงการอยู่ที่จะทำว่าบัวต่าง ๆ เป็นยังไง ผมเองพยายามว่าอย่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอย่างนี้ลองทำเป็นสวนบัวใหญ่ที่สุดสิ  เป็นแหล่งดีดีหรือไม่ต้องทำเท่านี้  หรืออาจจะร่วมกับโครงการของจังหวัด  ถ้าทุกคนยังสบายๆ เราก็อยู่แบบตัวใครตัวมันเราก็ไม่ได้เดิน  หรือสมเด็จพระพรหมวชิรญาณ  วัดยานนาวา 
เคยคุยกับผมช่วงที่ผมเป็นรัฐมนตรีว่าเราจะสร้างอนุพุทธมณฑล  ขออนุญาตเล่าให้ท่านฟังว่า เดิมก็ตกลงร่วมกันว่าจะสร้างตรงหน้าศูนย์ศิลปาชีพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ที่เขื่องใน  เพราะว่ามันจะได้เป็นแหล่ง 
แต่ท่านก็เกรงว่ามันบ้านอาตมา  เดี๋ยวจะถูกว่า  ผมบอกไม่เป็นไรหรอก  ผมมองว่าเรามีเหตุผล  หนึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับศูนย์ศิลปาชีพ  คนไปเที่ยวเขาไปเที่ยวนั่นได้ตั้งสองแห่ง  สอง ตรงนั้นมันเป็นชุมทางของ ๔ จังหวัด  ๑. ยโสธรก็มาง่าย  ๒.ศรีสะเกษก็มาง่าย  ๓.อำนาจเจริญก็มาง่าย ๔. คนอุบลก็ไปง่าย  เพราะฉะนั้นเราต้องคิดให้มันแฟร์ ๆ ถ้าจะสร้างอะไรก็อย่าให้มันมารุมมาตุ้มในเขตเมือง นะครับ เราต้องมองทั้งจังหวัดว่าพื้นที่มันเหมาะตรงไหน  อย่าง ณ วันนี้ผมก็ไม่รู้ว่าลงตัวหรือยังสระบัวเนี่ย  มันมีสองที่ที่กำลังไม่ลงตัวกันอยู่ ขอให้มองในภาพกว้าง มองในภาพรวมในอนาคต  ไม่ใช่ว่าสะใจเราในสมัยนี้แต่มันเล็กไปสำหรับอนาคตในข้างหน้า ผมอยากจะเห็นหลักอย่างนั้น  นะครับ ในขณะเดียวกันเราก็ต้องนึกถึงเรื่องการจราจรการขยายตัวของเมือง  ผมเรียนท่านผู้ว่าตั้งแต่วันที่  12 แล้ว  อยากให้จังหวัดก็ดี  ร่วมกับทางด้านม.อุบลฯ เนี่ย ศึกษาเรื่องวงแหวงรอบสองเป็นแรงผักดันไป ซึ่งอันนี้ทางด้านผู้ว่าก็มีพื้นฐานอยู่แล้ว เราจะผลักดันยังไงในเรื่องการขยายเมืองต่อไป
      ให้มันชัดซะว่าเราจะโตไปทิศทางไหน นะครับ  มันสามารถที่จะรองรับความเจริญเติบโต โอเคสะพานผมถือว่าไพออรี่สูง รองลงมาคือ
Road map ของเราที่จะเดินต่อไปเนี่ย ควรจะมีอะไรบ้าง แหล่งท่องเที่ยวเราควรจะต่อยอดอะไรบ้าง  ของเก่าจะดีขึ้นยังไงของใหม่จะสร้างขึ้นยังไง  สิ่งเหล่านี้ต้องให้ชัด นะครับ และก็ต้องดู ดูช่องทางแชลแนลว่าจะขับเคลื่อนยังไง จะผลักดันให้มันเกิดขึ้นยังไง นะครับผมอยากให้คิด  ผมถึงบอกว่าคุยกับประธานหอการค้าว่าเราอยากจะคุยกันบ่อยๆ แล้วค่อยขับเคลื่อนไป ช่วยกันไปว่าเราว่าเราจะขับเคลื่อนสิ่งเหล่าไหน  แต่สิ่งสำคัญที่ผมจะพูดถึงก็คือ เรื่องบุคลากรที่จะรองรับ ตัวนี้สำคัญว่าบุคลากรนี่เราจะรองรับได้ยังไง  เผอิญผมก็เป็นนายกสภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  ที่นั่นก็จะประชุมเดือนละครั้ง  บางทีผมก็จะให้ข้อสังเกตเขา  บางทีเขาทำอะไรที่เขาอาจจะมองไม่เห็น  เราก็ตั้งข้อสังเกตให้เขาว่าต่อไปมันควรจะเอาสิ่งเหล่านี้ไปพิจารณา  มันจะได้กว้างมากขึ้น  จะไปได้มากขึ้น  เพราะที่นั่นเขาพยายามที่จะผลิตนายตำรวจเพื่อรองรับอาเซียนได้ยังไง  คนที่มีอยู่จะพัฒนายังไง  คนที่เข้าใหม่จะพัฒนายังไง  ที่จริงเขาได้ปูพื้นฐานไว้แล้ว ปัจจุบันนี้ที่เวียดนามส่งมาเรียนอยู่ ๔ คน  พม่าก็ส่งมา  ๔ คน  นะครับ  ซึ่งในอนาคตมันจะต้องมากกว่านั้นอีก  แล้วพออบรมแล้วเนี่ย  เราจะมีเครือข่ายอะไรบ้าง ที่จะเป็นประโยชน์ในการติดตามงานทั้งหมด  ในการแก้ไขปัญหาหมด  บางทีธุรกิจเขาไปลงทุนที่เวียดนาม  ไปที่เขมร ไปที่เขามีปัญหาเนี่ย เราจะช่วยเขาแก้ไขได้ยังไง  เราจะโทรศัพท์แก้ไขได้ยังไง นะครับ  อย่างพม่าเขาเป็นอดีตอธิบดีตำรวจ  อดีตเลขาธิการปราบยาเสพติดตำรวจ ชื่อ คิมยี เขาก็แวะมาเยี่ยม ตอนนี้เขาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงรักษาความมั่นคงภายใน  คือรัฐมนตรีตำรวจ  วันก่อนผมไปโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  นายตำรวจเขาก็หารือกับผมว่า  นักเรียน ๘ คนนี้  เวลาวันเสาร์อาทิตย์ไม่รู้จะไปไหน ไม่มีที่ไป ผมบออกว่าไม่ยาก ตอบได้ทันที  ผมบอกว่าเดี๋ยวผมจะไปดูว่าครอบครัวไหนมีธุรกิจที่เวียดนาม ครอบครัวไหนที่มีธุรกิจที่พม่า เดี๋ยวผมจะแนะนำเขามาโฮสเลย เราอย่าไปมองสั้นหรือมองไกล  ถ้าเราโฮสนักเรียนนายร้อยต่างชาตินี่มันมีแต่ได้กับได้ นะครับ ได้รู้จัก ได้เป็นกุศล ได้ในอนาคต ทุกเรื่องหมด  เราต้องมอง เพราะฉะนั้นจุดเหล่านี้ อุบลเรานี่  ที่ผมพูดนี่หลายๆอย่างท่านก็ได้คิดๆไว้แล้วทั้งนั้น  แต่ยังไม่ได้ทำ และเราจะทำต่อได้ยังไงเท่านั้นเอง นะครับ เพราะฉะนั้นผมพยายามเล่าให้ท่านฟังว่าเทคโนโลยีมันมีอิทธิพลยังไง  เรื่องโลกมันเป็นยังไง  และอาเซียนเราเป็นยังไง  พร้อมไม่พร้อม  อุบลเราอยู่ตรงไหน  เรามีอะไรบ้าง  เราจะเดินต่อกันได้ยังไง  ทั้งๆอุบลเรานี่ก็มีสถาบันการศึกษา สถาบันการฝึกอบรมเยอะมาก มีความพร้อม ตาเราใช้ประโยชน์หรือยัง  สูงสุดหรือยัง  นะครับ  ถ้าเรามองไปหลาย ๆ อย่าง  เมื่อเช้าผมก็พูดกับท่านนายกพรชัย และก็เคยพูดกับท่านผู้ว่า และอีกหลาย ๆ คนว่าเราเป็นเมืองเกษตรเราเคยมีชื่อหลายๆ อย่าง  อย่างเรามองตอนนี้คนไทยบ่างส่วนไม่กล้ารับประทานแตงโม  กลัวมีการฉีดสารมั่งกลัวมีพิษบ้าง  ทำไมอุบลเราจะเป็นจังหวัดที่ปลูกแตงโมอินทรีย์ ท่านพลเอกวิเชษฐ์  วิสัยจร  เคยบอกผมว่าตอนที่เขาอยู่ที่อุบลนี่ เขาเคยปลูกในค่ายทหารไม่พอขาย ผมให้ลูกน้องผมลองปลูกช่วง ๓ - ๔ ปี  ผมให้ลูกน้องผมมายืมที่ของเพื่อนที่ปักธงชัยปลูกข้าวบ้าง  ปลูกข้าวโพดบ้าง  ปลุกมันสำปะหลังบ้าง  และผมลองให้เขาปลูกแตงโมบ้าง ปลูกแตงโมแบบอินทรีย์นะ โห มันวิเศษสุดเลย เหมือนกับแตงโมที่ธรรมชาติที่ผมเคยกินสมัยอายุยังเล็กๆอยู่ วิเศษสุด และกล้ากิน อร่อย  ณ วันนี้ ผมถามว่าสิ่งเหล่านี้ผมจะไปหาทานได้ที่ไหน  มันเกี่ยวกับ Food Safety  อย่างที่ผมเล่าให้ท่านฟัง  นะครับ  หรือเมืองเดชของเราเนี่ยปลูกฟังทอง ทำไมถึงอยากให้เขาปลูกฟักทองได้ราคา เพราะฟักทองอุบลเนี่ยต้องชั้นหนึ่ง  อย่าให้เขาตามมีตามเกิด เราต้องมีการวิจัยบ้าง ทดลองบ้าง  เพื่อให้เขาไปดี เพื่อให้ได้พันธ์ที่ออกทาดี  ทำไมเมลอนญี่ปุ่นเนี่ย  แตงญี่ปุ่นเนี่ย  เจียไต๋เขาไปปลูกที่แถวแม่สอด แถวตากเนี่ย  เขาขายลูกละ ๑๒๐ บาทอย่างนี้  แตงโมจีน  แตงโมญี่ปุ่น  ไปขายที่ตลาดฮ่องกง ลูกละห้าร้อยกว่าบาทอย่างนี้ผมชอบไปเดินดูซุปเปอร์มาเกตว่าแตงมาจากไหน  ของเรานี่นะ แน่นอนว่าชาวบ้านไม่มีศักยภาพที่จะส่งออกไปถึงจุดนั้น แต่เราจะส่งออกได้ยังไง ที่ผมพูดนี่มันจะเกี่ยวว่าเมื่อคุณมีโลจิสติกที่ดีแล้ว  คุณจะได้ประโยชน์จากโลจิสติกที่ดีนี้ได้ยังไง  สมมุติคุณบอกว่าคุณมีตู้เย็นที่จะส่งไปที่ สมมุติว่าเขาสร้างสะพานเสร็จ  คุณจะส่งอะไรไป มันไปได้หมด  ไปใต้หวัน  ไปเซินเจิ้น  ไปกวางเจา  ไปฮ่องกง  คุณจะส่งอะไรไปคุณต้องดูว่ามาตรฐานเขาเป็นยังไง คิดกันง่ายๆ ไม่ได้  การศึกษา คุณภาพของคนที่จะอัพกันขึ้นไปนี่มีส่วนสำคัญที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่าง ตัวเหล่านี้สิเป็นตัวที่สำคัญที่สุดคือผลสุดท้ายคือมาลงที่คน เพราะฉะนั้นอุบลเรานี่มีเกือบทุกอย่าง  คณะแพทย์มี คณะเภสัชมี  เกษตรมี  มีหลายมหาวิทยาลัยด้วย  แต่ละมหาลัยนี่เจาะไหม หรือเราเพียงจะเก่งของเราในเฉพาะรอบรั้วมหาลัย เพราะฉะนั้นเราจะต้องไปดูคนข้างนอก ไปดูอะไร ทำอะไรก็ตามนะครับ  ต้องยึดถึงความพอดีพองาม หรือพอเพียงนั่นเอง ต้องยึดแรงเขาเป็นหลัก แรงของเราเป็นหลักว่ามีแรงขนาดไหน ผมก็รู้ว่าผมมีแรงขนาดไหน  ท่านก็รู้ว่าท่านมีแรงขนาดไหน  จะแบกของจะขับเคลื่อนอะไรได้เท่าไหร่ เราต้องรู้ตัวเราเอง  บางทีเราไปแนะสิ่งที่ไกลไปนี่ มันก็ไม่ไหวสำหรับเขา เหมือนกับบางจังหวัดไปส่งเสริมให้เขาปลูกมันสำปะหลังนี่ สมมุติว่าได้หัวหนึ่งขึ้นมา ๒๐ กิโล  ๓๐ กิโลนี่  ปรากฏว่าชาวบ้านไม่มีปัญญาที่จะเอาขึ้นมาจากดิน  ความไม่พร้อม  ตัวเหล่านี้มันต้องค่อย ๆ เข้าไป   เหมือนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรานี่  สมัยก่อนนี่ทางที่จะเข้าไปชาวเขาจะต้องให้เขาค่อยๆ ให้เขารับรู้ๆ มันต้องดูตามศักยภาพของคนในพื้นที่  เพราะฉะนั้นสิ่งที่พูดมานี่ภารกิจที่ด่วนที่สุดก็คงจะต้องเป็นทางด้านจังหวัดกับ กรอ.  จะต้องร่วมผักดัน อันไหนที่นำเข้า ครม.ได้เร็วที่สุดก็จะเป็นประโยชน์  และผมอยากให้มีแผนพัฒนาซึ่งมีอยู่แล้ว  และอยากให้มี Road Map  ที่ชัดเจน นะครับ
          เพราะฉะนั้นที่ผมพูดมากับท่านทั้งหลายนี่ นานพอสมควรนี่ ผมพูดความในใจ และผมไม่ได้เตรียมอะไรมาเลย  ผมพูดจากใจผมพูดจากสมองของผม  จากประสบการณ์ของผมที่เล่าให้ท่านฟังว่าในปัจจุบันนี้มันเป็นยังไง เราจะอยู่ยังไง นะครับเพราะฉะนั้นผมก็ฝากสิ่งเหล่านี้ไว้ให้ท่านรับไปพิจารณาไปคิดไปดู  อันไหนช่วยกันทำได้ก็ต้องทำ นะครับ ถือว่าการทำดีไม่ได้ไปไหน มันลงกับตัวเราเองทั้งนั้น สิ่งที่ดีก็ต้องได้ดีตอบ เพราะฉะนั้นผมก็คิดว่าเมืองอุบลของเราไปได้  ในส่วนที่เป็นการเมืองซึ่งแยกเป็นหลายพรรค  หลายฝ่าย  ผมพูดเสมอว่าการเมืองเรารู้อยู่แล้วว่า ใครยืนตรงจุดไหน  ยังไง  แต่สิ่งที่เราคุยกันนี้เป็นสิ่งเพื่ออุบล เพื่อลูกหลานอุบล คิดว่าไม่ใครปฏิเสธหรอกครับ  แล้วก็โดยส่วนตัวผมนี่ยินดีด้วยสำหรับมีความเจริญแล้ว ส่วนผลประโยชน์ที่ถูกที่ต้องที่ควรนั้นจะไปตกกับใคร ผมไม่ว่าเลย ยินดีด้วย ไม่มีจิตคิดเป็นอกุศลที่จะจะมีความคิดอิจฉาริษยา นะครับ  เพราะฉะนั้นผมก็ฝากให้ท่านดูจังหวัดอุบล  ผมเชื่อว่าประสบการณ์ของเราที่ผ่านมาที่เราเรียนรู้ร่วมกัน ถึงการแยกฝั่งแยกฝ่ายมันเป็นปัญหาอะไรให้เรามั่ง  ในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็มีความอึดอัดใจพอสมควร  ผมไม่ต้องไปแยกฝ่ายหรอก เขาแยกให้ผมชัดเจน  นะครับ  แต่อย่างไรก็ตามด้วยความเป็นตัวตนของผม ด้วยความเป็นตัวของตัวเอง ผมพูดที่ไหนผมก็พูดตลอด ชัดเจนในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ เห็นอะไรที่ไม่ถูกไม่ต้องก็พอจะทำใจ แต่ถ้าเผื่อไม่ถูกมาก ๆ ก็ไม่ค่อยชอบ นะครับ เพราะฉะนั้นตัวเราเองทุกอย่างต้องเป็นสอง เสมอ ก็คือ ตัวเราก็ต้องมองถึงส่วนรวมด้วย นะครับ มันต้องควบคู่กันไป  ตัวเราได้ส่วนรวมไม่ได้มันก็เสีย ส่วนรวมได้มากตัวเราเองอยู่ไม่ได้  ไม่มีเวลาให้ตัวเองก็อยู่ไม่ได้  สรุปแล้วต้องเดินสายกลางต้องมีความพอดีพองาม นะครับ เพราะฉะนั้นผมพูดมาค่อยข้างจะยาวนาน แต่พูดมาโดยที่ไม่มีในหัวข้อ  แต่ผมลำดับในหัวข้อให้ท่านว่า
          ๑. เรื่องเทคโนโลยี  มันทำอะไรให้เกิดขึ้นบ้าง
          ๒. ในโลกนี้มันเชื่อมโยงกันยังไง
          ๓. อาเซียนของเรามันเป็นยังไง
          ๔. มาที่อุบลเราเป็นยังไงกับภูมิภาคนี้
          ก็ต้องขอขอบคุณท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านอธิการบดี ท่านหัวหน้าส่วนราชการ ท่านประธานหอการค้าและสภาอุตสาหกรรม  และภาคเอกชน และพี่น้องประชาชนที่เคารพรักทุกท่าน วันนี้ผมก็ขอบคุณที่ท่านได้ให้ความสนใจ หวังว่าสิ่งที่ผมพูดไปนั้นจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ขอขอบคุณครับ




มุมมองผู้ว่า ต่ออนาคตอุบลราชธานี


          นายสุรพล  สายพันธ์ 

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี  










 บรรยายพิเศษเรื่อง  มุมมองผู้ว่าฯ ต่ออนาคตอุบลฯ และได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการวันวิสาขบูชา ฉลองพุทธชยันตี  ๒๖๐๐  ปี  ซึ่งได้ทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดอุบลราชธานี  ณ  บริเวณทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

     
       ด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร  ปัจจุบันทางจังหวัดใช้การประชุมแบบไร้เอกสาร ส่วนเอกสารประกอบการประชุมให้เปิดดูได้จากอินเตอร์เน็ต  ซึ่งทดลองทำได้ประมาณ  ๘ – ๙  เดือน และขณะนี้ได้ผลักดันให้ทุกโรงเรียน และองค์การบริหาร ทุกสถานที่ราชการให้มีระบบอินเตอร์เน็ตใช้และผลักดันนโยบายนี้ต่อไป
      ด้านการจราจรและถนนวงแหวน  ขณะนี้มีการประชุมและยกร่างแล้ว  ถนนวงแหวนรอบต่อไปจะอยู่บริเวณศาลากลางจังหวัดหลังใหม่  บริเวณตำบลแจระแม  ซึ่งได้ร่างผังคร่าวๆเบื้องต้นแล้ว  เหลือขั้นตอนของการทำประชามติและเทคนิควิศวกรรม  และบริเวณศาลากลางหลังเก่าจะไม่มีสิ่งก่อสร้างใดเพิ่มเติม
      โครงการท้องฟ้าจำลอง  ขณะนี้ได้ลงนามสัญญาก่อสร้างแล้ว มูลค่า ๓๗ ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ และเป็นท้องฟ้าจำลองแห่งแรกของจังหวัดอุบลราชธานี
      องค์ความรู้เกี่ยวกับจังหวัดอุบลราชธานี  ได้มีการประชุมเบื้องต้นแล้ว โดยมอบหมายให้ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเป็นหน่วยงานหลัก ในการให้ความรู้เกี่ยวกับจังหวัดอุบลราชธานีทั้งหมด อาทิ ด้านประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ สังคมต่าง ๆ  ซึ่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนได้มีการยกร่างและแต่งตั้งคณะทำงานย่อยด้านต่าง ๆ แล้ว
     





การพัฒนาอุบลราชธานีในด้านสังคมและวัฒนธรรม


ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษม  บุญรมย์
อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 



ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษม บุญรมย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี บรรยายในหัวข้อ “การพัฒนาอุบลราชธานีในด้านสังคมและวัฒนธรรม”  ดังนี้






จุดแข็งอุบลราชธานี (Strength)
      ๑. เป็นเมืองเก่าแก่ มีชื่อเสียง โลกรู้จักดี
      ๒. ที่ตั้ง (Location) เหมาะที่จะเป็นแกนขับเคลื่อนการพัฒนา
      ๓. เมืองหลักอีสาน  ๓ แกน  ได้แก่ อีสานเหนือ  อีสานใต้ (โซนตะวันตก) อีสานใต้ (โซนตะวันออก) ดังนั้น อีสานควรจะมี  ๓ โซน
      ๔. อุบลราชธานีมีมูลมังมากมายมหาศาล
      ๕. อุบลราชธานี มีต้นทุนสำหรับการต่อยอดการพัฒนาในหลายๆด้าน
      ๖. มีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนครอบคลุมแทบทุกศาสตร์
      ๗. มีความพร้อมในด้านการสาธารณูปโภค  มีแหล่งน้ำบริโภค  เกษตรกรรม  อุตสาหกรรม  กระแสไฟฟ้า ที่ดินสำหรับพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษนิคมอุตสาหกรรม และพื้นที่สำหรับการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางบกและทางอากาศ
          โอกาสของอุบลราชธานี
      ๑. กระแส (Trend) ของโลกด้านการเติบโตอย่างรวดเร็วของชุมชนเมือง
      ๒. มหาวิกฤตอุทกภัย (Disaster) ที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ  ภาคกลาง  และกรุงเทพฯ
      ๓. ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นพลวัตรนำไปสู่การขยายตัวอย่างรวดเร็วด้านการค้า  การลงทุน  การท่องเที่ยว  การคมนาคมขนส่ง และการศึกษา
      ๔. ภาวะความอิ่มตัวของนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกรวมทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะเกิดการผลักดันให้นโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคมีความเข้มข้นยิ่งขึ้น


 


ยุทธศาสตร์การพัฒนาหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี

นายชวลิต  องควานิช
ประธานที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี










จังหวัดอุบลราชธานี มีสภาพภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ศูนย์กลางของอินโดจีน  ไทย-ลาว-กัมพูชา และเวียดนาม    มีรอยต่อ ๓ ประเทศ อุบลราชธานี (ไทย) จำปาสัก (ลาว) พระวิหาร (กัมพูชา) เรียก สามเหลี่ยมมรกต (The Emerald Triangle) ปัจจุบันการเชื่อมโยงระหว่างประเทศในกลุ่มอินโดจีน โดยทางรถยนต์ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์โดยผ่านเข้าออกที่ด่านพรมแดนช่องเม็ก, วังเต่า และสามารถผ่าน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ออกสู่ทะเล   จีนใต้ ที่เวียดนามซึ่งใกล้กว่า กรุงเทพมหานคร และท่าเรือแหลมฉบัง โดยไม่ต้องอ้อมอ่าวไทย จะเป็นการย่นระยะทางที่ขนส่งสินค้าไปยังญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี จีน ในอนาคต
ปัจจุบันอุบลราชธานี  มีรถโดยสารระหว่างประเทศ จากอุบลราชธานี ไปเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก
                   ในอนาคต จะมีรถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศ
                    จาก    อุบลราชธานี - ปากเซ – เซกอง – ดานัง
                             อุบลราชธานี – ปากเซ – สาละวัน – เว้
                             อุบลราชธานี – ปากเซ – อัตตะปือ – คอนตูม – ควิเยิน
                             อุบลราชธานี – ปากเซ – สตึงเตร็ง – โฮจิมินส์
                             อุบลราชธานี – ปากเซ – สตึงเตร็ง – พนมเปญ
                             อุบลราชธานี – ช่องสะงำ – เสียมราฐ – พนมเปญ
ปัจจุบัน มีท่าอากาศยานนานาชาติ (Ubon Ratchathani International Airport) ให้บริการในเส้นทาง
·       กรุงเทพมหานคร – อุบลราชธานี - กรุงเทพมหานคร มีเที่ยวบินขึ้น - ลง วันละ ๗ เที่ยว เช้า-กลางวัน-เย็น บินทุกวัน
·       เปิดเส้นทางการบินใหม่ สู่ภาคใต้ของประเทศ อุบลราชธานี – ภูเก็ต - อุบลราชธานี จำนวน ๓  เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และวันเสาร์
·       เปิดเส้นทางบินสู่ภาคเหนือของประเทศ ได้แก่ อุบลราชธานี – เชียงใหม่ - อุบลราชธานี จำนวน ๓  เที่ยวต่อสัปดาห์ ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์

ในอนาคต จะมีเส้นทางการบินระหว่างประเทศในกลุ่มอินโดจีน เช่น
อุบลราชธานี  – ดานัง
อุบลราชธานี  – ฮานอย
อุบลราชธานี – โฮจิมินห์ซิตี้
อุบลราชธานี – เสียมราฐ หรือกรุงพนมเปญ
อุบลราชธานี – เวียงจันทร์ หรือ หลวงพระบาง                         
เพื่อพัฒนาให้จังหวัดอุบลราชธานี เป็นศูนย์กลางการบินอีสานใต้ และอินโดจีน
การเชื่อมโยงเส้นทางในกลุ่มประเทศอินโดจีน และจีนตอนใต้ ตามกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ๖ ประเทศ ได้แก่ พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา จีนตอนใต้ และไทย (Greater Mekong Subregion : GMS) ภายใต้แผนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (The North South Economic Corridor : NSEC)
กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ตามนโยบายทางการค้าที่ประเทศไทยให้สิทธิพิเศษทางภาษีในลักษณะ One Way Free Trade ลดอากรขาเข้าเหลือเพียงร้อยละ  ตามกรอบ Contract Farming
การพัฒนาการร่วมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community :AEC)
โดยมีเป้าหมายในการรวมตัวกันเป็นตลาด และฐานการผลิตเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน แรงงานมีฝีมืออย่างเสรี ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ สำหรับอาเซียนเดิมได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และอาเซียนใหม่ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เวียดนาม พม่า ในปีพ.ศ. ๒๕๕๘
สามเหลี่ยมมรกต (The Emerald Triangle) รอยต่อ ๓ ประเทศ (ไทย-ลาว-กัมพูชา) โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวนำการค้าเชื่อมโยงสามเหลี่ยมมรกต ๓ ประเทศ ๗ จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ (ไทย) จำปาสัก,สาละวัน (ลาว) พระวิหาร, อุดรมีชัย, สตึงเตร็ง (กัมพูชา)
สามเหลี่ยมพัฒนา (The CLV Triangle Development ) รอยต่อ ๓ ประเทศ (กัมพูชา-ลาว -
เวียดนาม) มีการพัฒนาการท่องเที่ยว การลงทุน การเกษตร ร่วมกัน ๗ จังหวัด ได้แก่ สตึงเตร็ง, รัตนคีรี (กัมพูชา) เซกอง, อัตตะปือ (ลาว) กอนตูม, ยาไล, ดักลัส (เวียดนาม)
วงกลมเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอินโดจีน ไทย-ลาว-กัมพูชา-เวียดนาม (The Economic
Circle in Indochina Thai-Laos-Cambodia, Vietnam) เป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวนำการค้าเชื่อมโยงระหว่างสามเหลี่ยมมรกต และสามเหลี่ยมพัฒนาสู่วงกลมเศรษฐกิจนำเสนอโดยหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี สนับสนุนโดยกระทรวงการต่างประเทศ

เส้นทางคมนาคมขนส่งด้านการท่องเที่ยว การค้า ได้แก่ เส้นทางตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก ตะวันตก (เวียดนาม ลาว ไทย พม่า) มี 2 เส้นทาง
๑.      เส้นทาง EWEC (East West Economic Corridor) เส้นทางตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจ
ตะวันออก ตะวันตก เริ่มจาก (ทะเลจีนใต้) ดานัง, เว้, กวางตรี (ด่านลาวบาว-แดนสะหวัน) สะหวันนะเขต      (ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๒) มุกดาหาร, ขอนแก่น, พิษณุโลก, ตาก (ด่านแม่สอด) เมียวดี,  มะละแม่ง (ทะเลอันดามัน)
    ๒.  เส้นทาง Para-EWEC (Parallel East West Economic Corridor) มี ๓ เส้นทาง
๒.๑ เริ่มจาก ดานัง ชายแดนเมืองดักจึง แขวงเซกอง (ปากเซ) จำปาสัก (ด่านวังเต่า-      ช่องเม็ก)   อุบลราชธานี
๒.๒ เริ่มจาก เว้ ชายแดนเมืองสะม้วย แขวงสาละวัน (ปากเซ) จำปาสัก (ด่านวังเต่า-ช่องเม็ก)  อุบลราชธานี
         ๒.๓  เริ่มจาก ควิเยิน จังหวัดบิงห์ดิ่งห์ คอนตูม (ด่านเบอร์อี-พูเกือ) อัตตะปือ (ปากเซ) จำปาสัก (ด่านวังเต่า-ช่องเม็ก) อุบลราชธานี  ทั้ง ๓ เส้นทางจากจังหวัดอุบลราชธานี-ศรีสะเกษ-สุรินทร์-บุรีรัมย์-นครราชสีมา-กรุงเทพมหานคร - กาญจนบุรี (ด่านบ้านพุน้ำร้อน) สู่ทวาย ท่าเรือน้ำลึก พม่า (ทะเลอันดามัน)
เพื่อพัฒนาให้จังหวัดอุบลราชธานี เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยว การค้า และการขนส่ง     ของอีสานใต้ และอินโดจีนตอนกลาง  ผ่านด่านพรมแดนช่องเม็ก เข้าสู่เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก และเชื่อมต่อไปยังเมืองต่างๆ ในกลุ่มอินโดจีน ร่วมกันพัฒนาด้านการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน การเกษตร การขนส่ง ฯลฯ และเปลี่ยนรูปแบบจากเมืองชายแดนไปสู่การเชื่อมโยง Land Lock สู่ Land Link ผ่าน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และกัมพูชา สู่ทะเลจีนใต้ที่เวียดนาม หลังจากการเปิดเสรีการค้าระหว่างกลุ่มอาเซียน ตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) เพื่อยกเว้นภาษี มีการลงทุนร่วมกัน และการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) มีเป้าหมายในการรวมตัวเป็นตลาด และฐานการผลิตเดียวกัน โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน แรงงาน ที่มีฝีมืออย่างเสรี ทำให้แนวชายแดนเปิดกว้าง โดยไม่ต้องมีประตูขวางกั้นอีกต่อไปในอนาคต




แนวคิดการขนส่งและการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน


ผศ.ดร. สิทธา เจนศิริศักดิ์
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและทำนุศิลปวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


                ปัญหาการคมนาคมขนส่ง เช่น การจราจรติดขัด มลพิษ และอุบัติเหตุ เป็นปัญหาหลักของทุก ๆ เมือง การแก้ปัญหาการขนส่งและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมือง จะมีผลต่อพฤติกรรมการเดินทางของประชาชน และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในทางกลับกัน การพัฒนาพื้นที่ใดๆ ก็ตาม จะเกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการเดินทางและการวางแผนการขนส่ง
การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ไม่ใช่เพียงเพื่อการแก้ปัญหาจราจรติดขัดเท่านั้น แต่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมือง ดังนั้น ผู้มีส่วนในการตัดสินใจต้องมีวิสัยทัศน์ชัดเจนว่าต้องการเมืองแบบใด ที่ผ่านมา การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองและการขนส่ง มักกระทำลำพังโดยนักการเมืองจากการเลือกตั้ง ปัจจุบันนี้ ระบบเศรษฐกิจ สังคม และการดำเนินชีวิตมีความซับซ้อนมากขึ้น ประชาชนโดยทั่วไปซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบในฐานะผู้อยู่อาศัย (และเป็นเจ้าของประเทศ) ควรเป็นส่วนสำคัญของ ผู้มีส่วนในการตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนที่ตนอยู่อาศัย รวมถึง การวางแผนระบบคมนาคมขนส่ง
          หลักการพื้นฐานของ "การวางแผนเมืองและระบบคมนาคมขนส่ง" นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึง ทุกกลุ่มผู้เดินทาง (เดินเท้า รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถขนส่งสาธารณะ และ รถยนต์) และทุกกลุ่มคน (รวมทั้งผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เช่น ผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ และคนพิการ เป็นต้น) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม นั่นคือ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนนั่นเอง
การจราจรติดขัดนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากมีรถยนต์มากเกินกว่าที่ระบบจะรับได้ ทำให้การเดินทางไม่สะดวก ตามด้วยเกิดปัญหามลพิษและอุบัติเหตุ เป็นเหตุให้คุณชีวิตไม่ดี ในอดีต มักมีความเข้าใจว่า แนวทางการแก้ปัญหา คือ การขยายความจุของถนน โดยการสร้างถนนเพิ่มและขยายความกว้างของถนน เพื่อให้รองรับปริมาณจราจรได้มากขึ้น แต่จากงานวิจัยและประสบการณ์ทั้งในและต่างประเทศ พบว่า วิธีการนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ยิ่งสร้างหรือขยายถนนมากขึ้น ปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลยิ่งมากขึ้น และอัตราการเพิ่มขึ้นของการใช้รถยนต์สูงขึ้นเร็วกว่าที่จะสร้างหรือขยายถนนได้ทัน นอกจากนี้ ยิ่งมีการขยายถนนมากขึ้น ความน่าอยู่ของเมืองจะยิ่งลดลง เนื่องจากพื้นที่สาธารณะลดลง สภาพภูมิทัศน์เสียไป ขาดความร่มรื่น ขาดพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมทางสังคม และอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น เป็นต้น
เมื่อไม่สามารถขยายความจุของโครงข่ายถนนให้ทันกับการเพิ่มของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล แนวคิดการแก้ปัญหาที่เหมาะสม คือ (๑) ควรลดความต้องการในการเดินทางโดยรถยนต์ในพื้นที่ใจกลางเมือง โดยการควบคุมการเข้าออกและความเร็วของรถยนต์ (๒) จัดให้มีระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมและปลอดภัย และ (๓) ส่งเสริมการเดินทางระยะสั้นด้วยการเดินเท้าและจักรยาน  เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทาง และใช้พื้นที่ที่มีจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบการเดินทางในเมืองมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การเดินเท้า รถจักรยาน รถสามล้อ รถจักรยานยนต์ รถขนส่งสาธารณะ และรถยนต์ เป็นต้น และ ผู้เดินทางยังมีหลากหลายกลุ่มที่มีข้อจำกัดบางประการ เช่น เด็ก สตรี คนชรา ผู้มีรายได้น้อย และผู้พิการ เป็นต้น ดังนั้น การวางแผนและออกแบบโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมือง จำเป็นต้องคำนึงถึงทุก ๆ รูปแบบการเดินทาง และทุก ๆ กลุ่มคนเดินทาง การวางแผนและออกแบบที่ดีสามารถช่วยลดการขัดแย้งกันระหว่างรูปแบบการเดินทาง ซึ่งช่วยให้เกิดการเดินทางร่วมกันอย่างสะดวกและปลอดภัย การออกแบบควรทำให้เกิดความสมดุลของรูปแบบการใช้งาน โดยเป็นการออกแบบที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการใช้งานที่เหมาะสม (เช่น มีขอบเขตทางที่ชัดเจนสำหรับผู้เดินเท้าและรถยนต์) พร้อมทั้งไม่กระตุ้นให้เกิดการใช้งานที่ไม่เหมาะสม เช่น หากถนนมีความกว้างมาก อาจทำให้มีการขับรถเร็วเกินกว่ากำหนดในพื้นที่กลางเมือง ซึ่งเป็นอันตรายต่อคนเดินข้ามถนนและผู้ใช้รถจักรยาน นอกจากนี้ การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของเมืองที่ดี สามารถช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการเดินทางด้วยรถขนส่งสาธารณะ รถจักรยาน และ การเดินเท้าด้วย
          ประเด็นถัดมาที่ควรคำนึงถึง คือ ลักษณะของพาหนะและความเร็วของการเดินทางแต่ละรูปแบบต่างกัน อีกทั้ง พื้นที่ในเมืองค่อนข้างมีจำกัด ดังนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทาง การวางแผนจึงมีการกำหนดลำดับความสำคัญของผู้เดินทาง และออกแบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกตามลำดับความสำคัญ เช่น ถนนในเมืองหรือเขตชุมชน การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานควรเน้นตามลำดับความสำคัญ  ดังนี้ ผู้เดินเท้า ผู้ใช้จักรยาน ผู้ใช้รถขนส่งสาธารณะ และสุดท้ายผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ในทางกลับกัน ถนนทางหลวงระหว่างเมือง การออกแบบก็เน้นสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล รถขนส่งสาธารณะ และรถบรรทุกสิ่งสำคัญสุดท้าย คือ
การวางแผนและออกแบบที่ดีควรคำนึงถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในชุมชน
ด้วย ตัวอย่างเช่น ทางเท้าหรือบาทวิถี ไม่ใช้มีไว้สำหรับเดินเท่านั้น ทางเดินเท้ายังเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับดำเนินกิจกรรมทางสังคม เช่น เพื่อนบ้านใกล้เคียงใช้เป็นพื้นที่ในการพบปะพูดคุยกัน เด็กมีพื้นที่สำหรับวิ่งเล่น เป็นต้น ดังนั้น หากทางเดินเท้าถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่ถนนและจอดรถ กิจกรรมเหล่านี้ก็จะไม่มีอีกต่อไป สภาพการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนจะเปลี่ยนไป และความน่าอยู่ของชุมชนจะลดลง
ประเด็นการวางแผนการขนส่งกับการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน สรุปได้ดังนี้
๑.      แต่ละประเทศ แต่ละเมือง แต่ละชุมชน มีความแต่ต่างกัน ดังนั้น การพัฒนาควรสอดคล้องกับ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต และความต้องการของคนในชุมชน นั่นคือ กระบวนการตัดสินใจในการวางแผนพัฒนาเมืองต้องให้ประชาชนทุกกลุ่มมีส่วนร่วมให้มากที่สุด ในการกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่าต้องการเมืองแบบใด
๒.      ปัญหาการขนส่ง เช่น การจราจรติดขัด มลพิษ และอุบัติเหตุ ไม่สามารถแก้ไขได้ โดยการสร้างถนนหรือขยายความจุ (ความกว้าง) ของถนนสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล
๓.      แนวคิดการแก้ปัญหาที่เหมาะสม คือ (๑) ควรลดความต้องการในการเดินทางโดยรถยนต์ในพื้นที่ใจกลางเมือง โดยการควบคุมการเข้าออกและความเร็วของรถยนต์ (๒) จัดให้มีระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมและปลอดภัย และ (๓) ส่งเสริมการเดินทางระยะสั้นด้วยการเดินเท้าและจักรยาน 
๑.                  ในใจกลางเมืองที่มีพื้นที่จำกัด ควรมีการควบคุมการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล เช่น ควบคุมการเข้าออก ควบคุมความเร็ว และควบคุมที่จอดรถยนต์ โดยมีการจัดการที่จอดรถให้อย่างเหมาะสม และมีการเก็บค่าจอดรถ
๒.                  ควรมีการจัดการบริการรถขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมและปลอดภัย ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
๓.                  ควรส่งเสริมการเดินทางระยะสั้นโดยการเดินและใช้จักรยาน โดยจัดให้มีทางเดินเท้าที่เหมาะสมและร่มรื่น และมีเส้นทางจักรยานโดยเฉพาะ สำหรับการเดินทางระยะสั้น และเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
๔.                  การวางแผนและออกแบบโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมือง จำเป็นต้องคำนึงถึงทุก ๆ รูปแบบการเดินทาง และทุก ๆ กลุ่มคนเดินทาง ไม่ว่าจะเป็น ผู้เดินเท้า ผู้ใช้จักรยาน และผู้ใช้รถขนส่งสาธารณะ รวมทั้ง เด็ก ผู้พิการ ผู้มีรายได้น้อย และ ผู้สูงอายุ
๕.                  เพื่อให้เมืองมีความน่าอยู่ ควรมีพื้นที่สาธารณะอย่างเพียงพอ มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม มีถนนคนเดินเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจของคนในท้องถิ่น


















ผลการประเมินความพึงพอใจ

ประเด็น
ระดับการประเมิน

รวม

Mean
ระดับความพึงพอใจ
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
. ท่านรู้จักการประชาคมอาเซียนมากน้อยเพียงใด
21
61
68
13
2
165

3.5212

มาก
ร้อยละ
12.7
37.0
41.2
7.9
1.2
100.0
. ท่านคิดว่าจังหวัดอุบลราชธานีควรจะให้ความสำคัญด้านการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนมากน้อยเพียงใด
106
49
7
3
0
165

4.5636

มากที่สุด
ร้อยละ
64.2
29.7
4.2
1.8
0
100.0
. ท่านคิดว่าการเป็นประชาสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน  จังหวัดอุบลราชธานีควรจะให้ความสำคัญมากน้อยเพียงใด
102
54
9
0
0
165

4.5636

มากที่สุด
ร้อยละ
61.8
32.7
5.5
0
0
100.0
. ท่านคิดว่าการเป็นประชาเศรษฐกิจอาเซียนจังหวัดอุบลราชธานี  ควรจะให้ความสำคัญมากน้อยเพียงใด
102
58
5
0
0
165

4.5879


มากที่สุด
ร้อยละ
61.8
35.2
3.0
0
0
100.0



ประเด็น
ระดับการประเมิน

รวม

Mean
ระดับความพึงพอใจ
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
. ท่านคิดว่าปรับปรุงภูมิทัศน์ของจังหวัดอุบลราชธานีมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดสำหรับการประชาคมอาเซียน
96
56
13
0
0
165

4.5030

มากที่สุด
ร้อยละ
58.2
33.9
7.9
0
0
100.0
.ท่านคิดว่าปรับปรุงผังเมืองและเส้นทางขนส่งของจังหวัดอุบลราชธานีมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดสำหรับการเป็นประชาคมอาเซียน
118
40
6
1
0
165

4.6667

มากที่สุด
ร้อยละ
71.5
24.2
3.6
0.6
0
100.0
.ท่านคิดว่าการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด
113
47
5
0
0
165

4.8909

มากที่สุด
ร้อยละ
68.5
28.5
3.0
0
0
100.0
ผลรวม
658
365
113
17
2

4.47
มากที่สุด
ผลรวมร้อยละ
398.7
221.2
68.4
10.3
1.2



* ช่วงการแปลความหมายค่าเฉลี่ย                            
ช่วงค่าเฉลี่ย  1.00-1.50            ระดับความพึงพอใจ                 น้อยที่สุด
ช่วงค่าเฉลี่ย  1.51-2.50            ระดับความพึงพอใจ                 น้อย
ช่วงค่าเฉลี่ย  2.51-3.50            ระดับความพึงพอใจ                 ปานกลาง
ช่วงค่าเฉลี่ย  3.51- 4.50           ระดับความพึงพอใจ                 มาก
ช่วงค่าเฉลี่ย  4.51 - 5.00           ระดับความพึงพอใจ                 มากที่สุด