วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หนังสือ ต้องการจะเขียน ต้องการจะบอก (ต้องการให้ลองทำปฏิบัติแล้วจะพบความสุข)

หนังสือของนายต้องการ
"ต้องการจะเขียน ต้องการจะบอก (ต้องการให้ลองทำปฏิบัติแล้วจะพบกับความสุข) "
วางที่ศูนย์หนังสือ ม.อุบลราชธานี เครือข่ายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้ว จะเปิดตัวทางการในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๓๐ น. เป็นต้นไป (ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินฯ ทรงเปิดและเยียม ศูนย์หนังสือ ฯ เวลาประมาณ ๑๑.๓๐ น.)
ต้องการจะเขียน แต่ไม่ต้องการจะขาย ท่านใดที่มีจิตศรัทธาสามารถบริจาคเงินสนับสนุนเป็นทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาเรียนดีและยากจน ของ ม.อุบลราชธานี และ มอบ.วข.มุกดาหาร

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่สนใจหนังสือของนายต้องการ และบริจาค เพื่อเด็กๆ นักศึกษาครับ
นายต้องการ


วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พิธีเปิดอาคาร "เทพรัตนสิริปภา"










อาคารเทพรัตนสิริปภา
เป็นอาคารปฏิบัติการเพื่อการส่งเสริมและวิจัยด้านบริหารธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการที่พักและห้องประชุม ซึ่งอาคารดังกล่าวมีศูนย์หนังสือ ม.อุบลฯ เครือข่ายศูนย์หนังสือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันจะทำให้อาคารดังกล่าวเป็นแหล่งการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี





เป็นอีกครั้งหนึ่งที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้รับพระกรุณามหาธิคุณในการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอาคารปฏิบัติการเพื่อการส่งเสริมและวิจัยด้านบริหารธุรกิจ ว่า "อาคารทพรัตนสิริปภา"

กำหนดการ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคาร “เทพรัตนสิริปภา”
ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓
…………………………….

เวลา ๑๐.๒๐ น.
- รถยนต์พระที่นั่งถึงอาคารเทพรัตนสิริปภา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาชัย)
- อุปนายกสภามหาวิทยาลัย รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและชุมชนสัมพันธ์
ผู้อำนวยการกองกลาง เฝ้า ฯ รับเสด็จ
- ผู้อำนวยการกองกลางทูลเกล้า ฯ ถวายพวงมาลัย
- ประทับพระราชอาสน์
- รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและชุมชนสัมพันธ์ กราบบังคมทูลรายงานและเบิกผู้ทรงคุณวุฒิเข้ารับ
พระราชทานรางวัลรัตโนบลจำนวน ๒ ราย และผู้เข้าเฝ้า ฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยเข้ารับพระราชทานเข็มที่ระลึก จำนวน ๒๘ ราย
- อุปนายกสภามหาวิทยาลัย เข้าเฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
- เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายอาคาร แล้วทรงปลูก “ต้นกันเกรา”จำนวน ๑ ต้น
- เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปชั้น ๒ (ทางบันได) ทอดพระเนตรห้องนิทรรศการผลงาน ๒๐ ปี
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- ทรงลงพระนามาภิไธยในสมุดที่ระลึก
- ฉายพระรูปร่วมกับนายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี คณบดี คณะทำงาน (จำนวน ๒ ชุด)
- พระราชทานแนวพระราชดำริในการพัฒนาการศึกษา
- เสด็จพระราชดำเนินไป ชั้น ๑ ทอดพระเนตรนิทรรศการผลงานพระราชนิพนธ์ ณ ศูนย์หนังสือ
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เครือข่ายศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เสวยพระกระยาหารกลางวันเป็นการส่วนพระองค์ (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจัดถวาย)
เวลา ๑๓.๐๐น.
- เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรถยนต์พระที่นั่งไปยังมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี


คำกราบบังคมทูล
ของผู้ช่วยศาสตราจารย์มนูญ ศรีวิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและชุมชนสัมพันธ์
ในพิธีเปิดอาคารเทพรัตนสิริปภา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
วันอังคารที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓
----------

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนูญ ศรีวิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและชุมชนสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ ในวโรกาสที่ใต้ฝ่าละอองพระบาท ได้พระราชทานชื่อและเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารเทพรัตนสิริปภา ในวันนี้ ยังความปลาบปลื้มโสมนัสและเป็นสิริมงคลอันสูงยิ่งแก่คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหาร คณาจารย์ ข้าราชการ ตลอดจนพสกนิกรชาวอุบลราชธานีเป็นล้นพ้น

ณ โอกาสนี้ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทาน กราบบังคมทูลรายงานความเป็นมาของอาคารเทพรัตนสิริปภา ดังนี้

จังหวัดอุบลราชธานีและพื้นที่โดยรอบมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงามและหลากหลาย อีกทั้งเป็นประตูที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้กรอบการพัฒนาการท่องเที่ยวในระดับประเทศ จึงควรได้รับการพัฒนาการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ ทั้งในส่วนความสมบูรณ์ของแหล่งท่องเที่ยว และศักยภาพการบริการของบุคลากรในสถานที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว รวมทั้งมีทักษะการบริการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทั้งนี้การจัดการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบเริ่มมีบทบาทในแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนมากขึ้น จึงต้องส่งเสริมศักยภาพท้องถิ่นให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเป็นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและมีความสมดุลกับท้องถิ่นต่อไป

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เห็นความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาดังกล่าว จึงจัดการศึกษา และสร้างอาคารเทพรัตนสิริปภา เป็นอาคารเพื่อการศึกษา การวิจัย การปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยวและการจัดการธุรกิจบริการ เพื่อเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยและให้บริการแก่ชุมชน โดยอาคารเทพรัตนสิริปภา สามารถรองรับการจัดสัมมนาและฝึกอบรมให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง อันเป็นการรองรับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ อาคารดังกล่าวสามารถรองรับการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา สาขาวิชาการท่องเที่ยว สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ จำนวน ๖๐๐ คน มีพื้นที่ใช้งาน ๗,๑๐๐ ตารางเมตร โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ๗๖ ล้านบาท ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตการพาณิชย์ ด้านหน้ามหาวิทยาลัย มีรูปลักษณะและพื้นที่โดยรอบของอาคารมีความกลมกลืนดูเป็นกลุ่มอาคารของมหาวิทยาลัย ขณะเดียวกันได้สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะการเป็นศูนย์บริการที่ทันสมัย และความเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นทั้งภูมิศาสตร์ที่ตั้ง และมรดกทางศิลปวัฒนธรรม
บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระราชานุญาต เบิกผู้ทรงคุณวุ
ฒิเข้าเฝ้า ฯ เพื่อรับพระราชทานรางวัลรัตโนบล จำนวน ๒ ราย ได้แก่
ศาสตราจารย์ ดร.เจตนา นาควัชระ
ศาสตราจารย์ ดร.เอลิวิโอ โบโนลโล

และผู้เข้าเฝ้าทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย จำนวน ๒๘ ราย เข้ารับพระราชทานเข็มที่ระลึก และหลังจากนั้น ขอพระราชานุญาตกราบบังคมทูลใต้ฝ่าละอองพระบาท ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมประกอบพิธีเปิดอาคารเทพรัตนสิริปภา ปลูกต้นกรันเกราและทอดพระเนตรนิทรรศการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หลังจากนั้น ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานแนวพระราชดำริการพัฒนาการศึกษาแก่ผู้บริหารและผู้เข้าร่วมพิธีสืบไป
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

รายชื่อผู้เข้ารับพระราชทานของที่ระลึก


๑. นางสาวชมม์นิภา ลำโกน
๒. นายมงคล จุลทัศน์
๓. ภก.ประชา พันธุ์นิกุล
๔. ภก.สมศักดิ์ ชัยศรีสวัสดิ์สุข
๕. ภญ.สุพิศศรี รันตสิน
๖. ภก.สวัสดิ์ ดอนสกุล
๗. พญ.อัญชลี สงวนตระกูล
๘. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
๙. นายหมิน แซ่ทั้ง
๑๐. นางซุ่ยเง็ก เจียงเจนจัด
๑๑. นางสุรัตนา แซ่ตั้ง
๑๒. นางชุดา เลิศสุรวิทย์
๑๓. นายอุทัย เกษมทาง
๑๔. นายสมใจ สุวรรณติ
๑๕. นายสุพจน์ เหง้าเกษ
๑๖. นางวชิราภรณ์ ส่งสุข
๑๗. นางลักขณา พันธุ์วงศ์
๑๘. นายเอนกชัย ศิริคูณ
๑๙. นางกุลปรียา กล่อมนที
๒๐. นางสาวสมใจ สุยะลา
๒๑. นางอาวรณ์ ก้อนทองดี
๒๒. นางพิสมัย จันทุมา
๒๓. นายอดิศักดิ์ ตั้งมิตรประชา
๒๔. นายศุภวิชญ์ พรศุภฤทธิ์กุล
๒๕. นายถวิล สุรนารถ
๒๖. ผศ.บรรลือ คงจันทร์
๒๗. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
๒๘. ดร.สมชัย ไทยสงวนวรกุล






















 เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๒.๐๐ น. สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรห้องนิทรรศการผลงาน ๒๐ ปี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และทรงเสด็จพระราชดำเนินทรงทอดพระเนตรศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เครือข่ายศูนย์หนังสือจุฬาฯ ณ ห้องชั้น ๑ อาคารเทพรัตนสิริปภา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรชา บุดดาดี ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีถวายรายงาน พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ดนุชา คุณพนิชกิจ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในนามศูนย์หนังสือจุฬาฯ นำเสด็จฯ ทอดพระเนตรศูนย์หนังสือ ในการนี้สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยแกะเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ที่นำมาแสดงในห้องศูนย์หนังสือในครั้งนี้ด้วย


















Link พิธีเปิดอาคารเทพรัตนสิริปภา 
และ รูปภาพวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ 

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โครงการแสดงบทเพลงพระราชนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา มหาราชา


โครงการแสดงบทเพลงพระราชนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา มหาราชา
๑. หลักการและเหตุผล

ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ​ จะทรงพระเจริญพระชนมพรรษา ๘๔​ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ทั้งนี้ ตามหนังสือจังหวัดอุบลราชานี ด่วนทีสุด ที่ อบ ๐๐๑๖.๒/ว ๔๒๐๐ ลงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๓ กระทรวงมหาดไทย แจ้งว่าในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ จะทรงพระชนมพรรษา ๗​ รอบ (๘๔​ พรรษา)​ ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ นับเป็นมหามงคลสมัยพิเศษยิ่งที่ประชาชนทุกหมู่เล่าจะได้แสดงความจงรักภักดีถวายเป็นราชสักการะ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ที่ได้ทรงสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระปรีชาสามารถด้านดนตรี   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามมินทราธิราช พระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบัน ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่มีพระปรีชาสามารถทางดนตรีสูงมากพระองค์หนึ่ง ในฐานะนักดนตรีทรงเป็นนักดนตรี ที่มีพระปรีชาสามารถในทางบรรเลงเยี่ยงนักดนตรีอาชีพ ในฐานะดุริยกวีทรงพระราชนิพนธ์เพลงไว้ถึง ๔๖ เพลง ซึ่งเป็นที่นิยมของคนไทย และชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก บทเพลงของพระองค์ท่าน ถูกนำมาบรรเลงในรูปแบบต่างๆ มากมาย ทั้งที่บรรเลงในลีลาเพลงแจ๊ส คลาสสิค เพลงสมัยนิยม บทเพลงขับร้องและบทบรรเลง  โดยเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๐๗ สถาบันการดนตรีเมืองเวียนนา [The Institute of Music and Arts of the City of Vienna] ได้ถวายประกาศนียบัตร และสมาชิกกิตติมศักดิ์ให้กับพระองค์ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาดนตรี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ มหาวิทยาลัยมหิดล ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาดนตรีแด่พระองค์ท่าน 

ดังนั้น ในโอกาสเดือนมหามงคลธันวามหาราช เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ​ ในวันที่ ๕​ ธันวาคม จะเวียนบรรจบครบรอบมาถึงอีกครั้งหนึ่ง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจึงจัดทำโครงการ "แสดงบทเพลงพระราชนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติเทิดไทองค์ราชัน ๘๔ พรรษา มหาราชา" และ จัดแสดงวีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติ "เทิดไท้องค์ราชัน ผู้ทรงบากบั่นเพื่อปวงประชา" ณ​ สนามหญ้าด้านหน้าอาคารโรงเรียนเบญจะมะมหาราช (หลังเก่า อาคารเก่า ๑๐๐​ ปี)​ วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. 

๒.​วัตถุประสงค์
๒.๑​ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว​ ฯ​ เนื่องในวันที่ ๕​ ธันวา มหาราชา
๒.๒​ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว​ ฯ​ ที่พระองค์ท่านทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรี
๒.​๓ เพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดอุบลราชธานี โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติความเป็นมาของอาคารโรงเรียนเบญจะมะมหาราช (อาคารเก่า ๑๐๐​ ปี)​

๓. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๓.๑ ทำให้นักเรียน นักศึกษา และประชาขนจังหวัดอุบลราชธานีได้แสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว​ ฯ​ เนื่องในวันที่ ๕​ ธันวา มหาราชา
๓.๒​ ทำให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีได้ตระหนักถึงพระปรีชาสามารถพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว​ ฯ​ ในด้านดนตรี 
๓.๓ ทำให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์อาคารโรงเรียนเบญจะมะมหาราช (หลังเก่า อาคารเก่า ๑๐๐​ ปี) และร่วมสร้างพัฒนาอาคารดังกล่าวให้เป็นศูนย์ความรู้ด้านวัฒนธรรและศิลปของชาวอุบลราชธานีอย่างยั่งยืน

​๔. สถานที่จัดงาน 
ด้านหน้าอาคารโรงเรียนเบญจะมะมหาราช (หลังเก่า อาคารเก่า ๑๐๐​ ปี)​ 

๕. วันเวลา 
วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. 

๖. งบประมาณสนับสนุน
ขอรับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในโครงการบริการวิชาการและทำนุวัฒนธรรมศิลป

โดยมีรายละเอียด
๖.๑​ ค่าเช่าเครืองเสียง อุปกรณ์แสงและอุปกรณ์อื่นๆ   
๖.๒ ค่าตอบแทนการแสดงของคณาจารย์ นักศึกษา คณะศิลปศาสตร์  และโรงเรียนเบญจะมะมหาราช  
๖.๓ ค่าตอบแทนการทำงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายโสต และฝ่ายต่างๆ  โดยมีการจัดทำบันทึกการแสดงเพื่อเผยแพร่ 
๖.๔  ค่าอื่นๆ  เช่น ค่าจัดสถานที่ การประเมินโครงการ การสรุปเอกสารโครงการ การประชาสัมพันธ์​ จำนวน 
   
หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ

๗.​ผู้รับผิดชอบ 
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี  ประธานที่ปรึกษา
อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ที่ปรึกษา
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจะมะมหาราช ที่ปรึกษา
คณบดีคณะศิลปศาสตร์ ที่ปรึกษา
รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและชุมชนสัมพันธ์   ประธานคณะทำงาน
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ                                                 รองประธานฯ
รองคณบดีคณะศิลปศาสตร์ ที่ได้รับมอบหมาย คณะทำงาน
ผู้อำนวยการกองกลาง                                                             คณะทำงาน
หัวหน้าโครงการจัดตั้งกองบริหารกายภาพและสิ่งแวดล้อม  คณะทำงาน
หัวหน้าฝ่ายโสตฯ  สำนักวิทยบริการ                                         คณะทำงาน
หัวหน้างานสารบรรณ กองกลาง เลขานุการฯ
หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ กองกลาง ผู้ช่วยเลขานุการ

๘​. ตัวชี้วัดโครงการ
๘.๑​ มีนักเรียน นักศึกษา และประชาชน เข้าร่วมโครงการจำนวน ๕๘๔​ คนเป็นอย่างน้อย
๘.๒ มีการบันทึกการแสดงบทเพลงพระราชนิพนธ์​จำนวน ๑​ ชุด
๘.๓ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงใจการจัดโครงการในระดับ ดี

๙. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
กองกลาง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ได้อะไรดีจาก สปป.ลาว (เวียงจันทร์)

เช้าวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เป็นวันหนึ่งที่สำคัญเช่นกันเพราะได้มาอยู่ที่ต่างประเทศ คือ นครเวียงจันทร์ เพื่อเข้าร่วมพิธีมอบปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้กับ ฯพณฯ พลโท พิจิต รองนายกรัฐมนตรี สปป.ลาว


ตื่นจากที่นอนเวลาประมาณ ๖ นาฬิกา จิตสั่งให้ร่างกายจะต้องตื่นเพื่อออกไปสูดอากาศที่บริสุทธิ์ของนครเวียงจันทร์ โรงแรมที่พัก (โรงแรมลานช้าง) ติดกับแม่น้ำโขง ริมถนนมีต้นไม้ขนาดใหญ่มากเพื่อให้ออกซิเจนที่บริสุทธิ์สำหรับผู้ที่ต้องการในเวลาเช้า

ผู้เขียนตัดสินใจออกเดินจากโรงแรมไปตามถนนพร้อมด้วยโทรศัพท์แต่ใช้โทรไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับโทรศัพท์ที่ถือมาด้วยการในการเดินออกกำลังกาย คือ มันสามารถถ่ายภาพอาคารสถานที่สำคัญของนครเวียงจันทน์ได้ โดยขณะที่ออกเดินนั้น มีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าประทับใจ อย่างประการที่ได้กล่าวไปแล้ว คือ ข้างถนนมีต้นไม้ขนาดใหญ่ทั้งสองข้างทาง ทำให้เห็นความร่มรื่นของธรรมชาติที่ให้อากาศที่บริสุทธิ์ นครเวียงจันทน์กำลังถูกปรับปรุงพัฒนาให้มีความทันสมัย อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศต่างชื่นชอบ ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของความไม่วุ่นวายเหมือนกับนครหลวงของประเทศต่างๆ ที่พัฒนาแล้วหรือที่กำลังพัฒนา ที่ล้วนมีแต่ความวุ่นวายของรถลาจราจรที่ยุ่งเหยิง ทำให้เกิดความเครียดในการเดินทาง

นครเวียงจันทร์มีมรดกที่ล้ำค่าในเรื่องของวัฒนธรรมศิลปอันเก่าแก่ที่ชาวเวียงจันทร์ได้พยายามที่จะอนุรักษ์ไว้ โดยจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ผสมผสานกันระหว่างอาคารบ้านเรือนวัฒนธรรมเก่าๆ กับสถานที่กำลังถูกพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เปลี่ยนไปของสังคมโลก ซึ่งแน่นอนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมอาจจะทำให้สิ่งเก่าๆ นั้นถูกปรับเปลี่ยนไปถูกลบเลือนไปบ้าง อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่นครเวียงจันทร์มีอยู่เป็นอย่างดียิ่ง คือ ธรรมชาติของต้นไม้ และธรรมชาติของธรรรมะ วัดวาอารามที่อยู่ในกลางเมืองหลวง อันจะทำให้กลายเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชาติให้ยึดในเรื่องของ ๒ ธรรม คือ ธรรมชาติ และ ธรรมะ


นอกจากนั้น สิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งอันประทับใจกับสำคัญผู้มาเยือนนครเวียงจันทร์ คือ การแต่งกายของสุภาพสตรีที่นี้ (นครเวียงจันทร์) ท่านได้แต่งกายตามขนบประเพณีอันดีของคนลาวได้เป็นอย่างดียิ่ง สวยงาม เป็นเอกลักษณ์ ประทับใจ แม้กระทั่งสุภาพสตรี (ที่เมืองไทยเรียกว่า สาวเชียร์เครื่องดื่มเบียร์) ที่นครเวียงจันทร์แต่งกายได้สุภาพ สมกับเป็นสุภาพสตรีจริง ผู้เขียนขอคารวะนับถือด้วยความจริงใจยิ่ง สำหรับการอนุรักษ์การแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาติ

ผู้เขียนคิดฝันว่า ในหน่วยงานที่ผู้เขียนทำงานอยู่ขณะนี้ จะเห็นท่านสุภาพสตรีที่พร้อมเพรียงกันแต่งกายในลักษณะที่อนุรักษ์วัฒนธรรมศิลปของไทยเราให้วันทำงานต่างๆ ในลักษณะที่บ่งบอกว่า นี้คือ การแต่งกายของสุภาพสตรีของไทยในหน่วยงานหนึ่งๆ อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นความฝันเท่านั้นเอง มันไม่เป็นความจริงอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าในจังหวัดหนึ่งท่านหัวหน้าส่วนราชการสูงสุดจะมีหนังสือทางราชการได้ขอร้องความร่วมมือในการแต่งกายที่อนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีของไทย แต่การทำอย่างนั้นก็ไม่รู้จะได้ผลหรือไม่ เพราะการแต่งกายจะต้องออกมาจากจิตใจของผู้แต่งกายโดยธรรมชาติ จะแต่งกายเสมือนถูกบังคับ คงจะทำให้ไม่มีความสุขอย่างแน่แท้ที่เดียว

ก็ได้แต่หวังว่า ณ เวลาหนึ่ง ที่นครเวียงจันทร์จะช่วยจุดประกาย นำสิ่งที่ดีๆ ของนครเวียงจันทร์ มาใช้กับบ้านเราบ้าง อย่างน้อยที่สุด ๒ ธ นะครับ ธรรมชาติ และ ธรรมะมนูญ ศรีวิรัตน์

วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

1 November 2010 @ Lao


ตอนเช้า ข้างหน้า คือ ประตูชัย


การจราจรเริ่มจะวุ่นวายในตอนเช้า ถนนลานช้าง



บรรยายการของการทำบุญของเวียงจันทร์ พระออกบิณฑบาตร



ธนาไทยพาณิชย์ (มหาชน) จำกัด ณ เวียงจันทร์

อาคารสำนักงานโทรคมนาคมแห่งชาติ


บริษัทไฟฟ้าน้ำงึม ๒ จำกัด



ธนาคารกรุงไทย (มหาชน) จำกัด



กระทรวงศึกษาธิการ




ถนนลานช้าง



วัด SISAKET
















เจดีย์ สถานโบราณในใจกลางเวียงจันทร์


เท้าสองเท้าที่กำลังเดินทางต่อไป แต่ให้เกียรติเท้าขวา (ออกก่อน)
ร้านค้ายุดใหม่ๆ





โรงแรมลาว Palace
ร้าน Pizza













รูปนี้ชอบมาก เพราะมีหลายๆ สี ประกอบกัน



ท้องฟ้าที่เวียงจันทร์ และที่ไหนๆ ก็เหมือนกัน ดังนั้น เราทุกคนอยู๋ใต้ฟ้าเดียวกัน





ร้าน ดวงจัน ตะวันแดง (PUB)