วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562

ความเป็นมาของพิธีวันแห่งความดี อุบลราชธานี 11 พฤศจิกายน เวลา 11.11 น.

ความเป็นมาของพิธี "วันแห่งความดี อุบลราชธานี 11 พฤศจิกายน เวลา 11.11 น."

โดย นายสุรพล สายพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี


"...ผมย้ายมารับตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ เดือนตุลาคม พ.ศ.2549 และได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี(ขณะนั้น คือ ท่านสุธี มากบุญ )ให้เตรียมการจัดงานที่ระลึกวันสถาปนาเมืองอุบลราชธานี 10 พฤศจิกายน และรับทราบจากผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานการท่องเที่ยวอุบลราชธานี(ขณะนั้นคือคุณ ธนภร พูลเพิ่ม (ปัจจุบันเป็นหัวหน้าสำนักงานการท่องเที่ยวอุบลราชธานี) ว่า ทุกปี ในวันที่ 11 พฤศจิกายน จะมีชาวต่างชาติ (ยุโรปและอเมริกัน) กลุ่มหนึ่ง มาวางดอกไม้ที่อนุสาวรีย์ความดี (ตรงมุมทุ่งศรีเมืองทางโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี) เพื่อเป็นรำลึกถึงญาติที่ตกเป็นเชลยศึกในค่ายกักกันที่อุบลราชธานี เลยนำเรื่องนี้ยกหารือในที่ประชุมเพื่อยกเป็นกิจกรรมของจังหวัดอย่างเป็นทางการ

   โดยได้นำรูปแบบที่ผมเคยจัดที่จังหวัดตราดในงาน "ยุทธนาวีเกาะช้าง"เพื่อรำลึกถึงวีระชนเป็นแนวทาง อาทิ การวางพวงมาลา การกล่าวสดุดี การจุดโคมไฟ (จากที่เคยเห็นในพิธีที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและที่ประตูชัยในนครปารีสเพื่อไว้อาลัยกับวีระชน)  การเป่าแตรเดี่ยว การขับร้องเพลงรำลึก แต่ให้เพิ่มบทภาษาอังกฤษ (แทรกอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่การแปล) โดยได้เขียนบทสดุดี พร้อมกับประสานหน่วยงานต่างๆและให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีเป็นผู้อ่านบทสดุดี แต่เมื่อถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2549 ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ท่านสุธี มากบุญ ติดภารกิจ ได้มอบผม เป็นประธานกล่าวแทน มีคนแปลกใจว่า ผมกล่าวเหมือนพูดสดๆ เหมือนไม่ได้อ่าน ผมเลยบอกว่า ผมเขียนบทตั้งใจให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอ่าน เมื่อท่านให้ผมมาอ่านแทน ผมก็จำบทได้อยู่แล้วเลยพูดได้เลยไม่ต้องอ่านมาก

 ทั้งนี้ได้ประสานวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานีจัดทำตะเกียงคบไฟ (แบบใช้แก๊สแต่ปรับวาวให้ใช้ออกซิเจนน้อย จะได้เห็นเปลวไฟ (ปัจจุบันตะเกียงนี้ใช้เป็นกระถางคบไฟสำหรับการแข่งขันกีฬาของวิทยาลัยเทคนิคเอง) ประสานวงดนตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีพร้อมตัวบุคคลที่ขับร้องเพลง  (กำหนดเพลงในพิธีคือ"ไร้รักไร้ผล" ส่วนเพลงบรรเลงทั่วไปให้ทางวงกำหนดเอง (ปัจจุบันผมได้เสนอให้ใช้เพลงสามัคคีชุมนุมซึ่งมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ Auld Lang Syne แทน) พร้อมกับประสานนักศึกษาวิชาทหารโรงเรียนต่างๆมาร่วมพิธีร่วมกับหน่วยงานต่างๆ (เนื่องจากจัดเป็นครั้งแรก)..."

    ตั้งแต่นั้นมา ทราบว่างานที่ยอมรับจัดเป็นทางการทุกปี มีการแก้ไข รวมทั้งหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์เชื่อมโยง จนปัจจุบัน

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ความเป็นมาของอุทยานธรณีผาชัน-สามพันโบก (อุบลราชธานี)

ความเป็นมาของอุทยานธรณีผาชัน-สามพันโบก (อุบลราชธานี)

โดย นายสุรพล สายพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี


2524 ประกาศจัดตั้ง "อุทยานแก่งตะนะ" บริเวณอำเภอโขงเจียมและอำเภอสิรินทร

2532 วิ่งนานาชาติ "ผาแต้มมาราธอนครั้งที่ 1 เป็นจุดเริ่มที่ชาวต่างประเทศสนใจสภาพทางธรณีและวิถีชีวิตชาวบ้านริมแม่น้ำโขง โดยเฉพาะบ้านผาชัน

2533 วิ่ง "ผาแต้มมาราธอนครั้งที่ 2

2534 ประกาศพื้นที่บางส่วนเป็น"อุทยานแห่งชาติผาแต้ม"(และกันพื้นที่มีบริเวณภาพเขียนโบราณ ให้อยู่ในการดูแลของกรมศิลปากรและ ปี 2538 ประกาศพื้นที่บางส่วนเป็น "วนอุทยานผาหลวงในเขตอำเภอศรีเมืองใหม่

2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยี่ยมหมู่บ้านกันดาร (ต้องเดินทางโดยทางเรืออย่างเดียว ไม่มีไฟฟ้าใช้) คือบ้านดงนา อำเภอศรีเมืองใหม่ และบ้านปากลา อำเภอโขงเจียม โดยประทับเรือพระที่นั่งPB boatที่กองทัพเรือ( หน่วยปฏิบัติการตามลำน้ำโขงจัดถวาย) เส้นทางเสด็จจาก บ้านสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร ผ่าน ผาชัน ไปบ้านดงนาและปากลา และรับโรงเรียนทั้งสองแห่งเป็นโรงเรียนในพระราชานุเคราะห์พร้อมให้จัดตั้งสถานีอนามัยเป็นพิเศษ ทรงรับสั่งให้ชาวบ้านรักษาป่าและสภาพแวดล้อม
ช่วงผ่านผาชัน ทรงทอดพระเนตร ชาวบ้านยืนบนหน้าผา และแง่หิน ตกปลา ทรงรับสั่งกับข้าราชบริพาร ว่า "นี่ไง มนุษย์ตัวจริง มีความสามารถยืนตกปลาได้" ท่านตรัสว่า ถ้าเป็นพระองค์ท่าน ตกน้ำไปนานแล้ว 

2536 เสด็จเยี่ยมหมู่บ้านโหง่นขาม (โดยเสด็จโดยพระบาท 3 ชั่วโมง จากบ้านหุ่งหลวง ไปบ้านโหง่นขาม อำเภอศรีเมืองใหม่เป็นหมู่บ้านกันดาร ต้องเดินเท้า ไม่มีไฟฟ้าใช้) จากนั้นเสด็จโดย เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งไปบ้านดงนา แล้วประทับเรือที่กองทัพเรือจัดถวายไป บ้านปากลา

2536 ผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์ของไทยและฝรั่งเศส ได้มาขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ที่สาธารณะ ในเขตอำเภอศรีเมืองใหม่ ภายหลัง พิสูจน์พบว่า เป็นไดโนเสาร์ที่อายุน้อยสุดของประเทศไทย

2537 -2557 เสด็จทรงงานที่หมู่บ้าน รวม 6 ครั้ง ทรงรับสั่งเรื่องพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของเยาวชน การช่วยกันดูแลป่า แหล่งน้ำ และสภาพแวดล้อม (ปัจจุบัน บ้านปากลา มีสะพานข้าม ถนนเข้าถึงหมู่บ้าน มีไฟฟ้าใช้ แต่บ้านดวนา และบ้านโหง่นขาม มีทางลำลองขึ้นถึงหมู่บ้าน ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ อยู่ระหว่างการขอใช้ร่วมกับหน่วยงานอุทยานผาแต้ม)

 2550 จัดแข่ง "พารามอเตอร์ ระยะไกลโขง ชี มูล ครั้งที่ 2 จากตัวเมืองอุบลราชธานี ไปบริเวณผาแต้ม เส้นทาง สนามฝึก ทุ่งหนองหญ้าม้า อำเภอวารินชำราบ ผ่าน อำเภอสว่างวีระวงค์ อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอโขงเจียม สิ้นสุดที่ ผาแต้ม

2553 จัดแข่งพารามอเตอร์ ถ่ายภาพทางอากาศ บริเวณผาแต้ม ผาชัน และสามพันโบก ได้พบแหล่งแร่ และมุมมองธรรมชาติที่บางจุดไม่เคยสำรวจถึง

2554 คณะเจ้าหน้าที่ กรมทรัพยากรธรณีและคณะเจ้าหน้าที่จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกันสำรวจ เพื่อจัดตั้งอุทยานธรณีบริเวณพื้นที่ 4 อำเภอ พบสิ่งที่มีคุณค่าทางธรณีวิทยา เช่น เสาเฉลียงยักษ์ ถ้ำหินทราย หินสีละลาย

2555 ประกาศเป็น "อุทยานธรณี ผาชัน-สามพันโบก" ระดับจังหวัด
20 กค 2555 นำเสนอขอมติครม สัญจร ที่จังหวัดสุรินทร์ รับหลักการจัดตั้งอุทยานธรณีระดับประเทศ พร้อมกับได้นำเสนอผลงานในเวทีนานาชาติหลายครั้ง  
       จากนั้น กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้มาวางผังแม่บทเฉพาะให้ พร้อมกับ กรมทรัพยากรธรณี ได้ออกแบบอาคารศูนย์เรียนรู้ไดโนเสาร์ที่ โคกผาส้วม อำเภอศรีเมืองใหม่ และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ออกแบบอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บริเวณตำบลนาโพธิ์กลาง (จุดที่จะไปผาชะนะได ตะวันออกสุดของสยาม)

2555 จัดแสดง แสง สี เสียง "ตำนาน ผาชัน สามพันโบก"ที่บริเวณหน้าผา บ้านผาชัน
   จุดบริเวณนี้มีความสวยงามเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวและนักวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศ จนได้รับการขนานนามว่า แกรนด์แคนยอน ประเทศไทย"

2556-ปัจจุบัน ได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้างศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ศูนย์เรียนรู้ ศูนย์อำนวยการ จุดจำหน่ายสินค้าและกิจกรรมการฝึกอบรมต่างๆ เป็นระยะ ระหว่างรอการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีระดับประเทศเพื่อนำเสนอเป็นอุทยานระดับโลก

2556-ปัจจุบัน มีการส่งเสริมกิจกรรม อาทิ การพัฒนาสถานที่ การพัฒนามัคคุเทศก์และยุวมัคคุเทศก์ พัฒนาสินค้าพื้นเมือง(ผ้า อาหาร ของที่ระลึก) พัฒนาระบบบริการนักท่องเที่ยว ระบบส่งกลับทางการแพทย์ ระบบการเดินเรือและท่าน้ำที่พัก ระบบสื่อสารและวิทยุสมัครเล่น การดูแลความปลอดภัย

2557-2559 จัดนิทรรศการและบรรยายทางวิชาการ ในงานสัปดาห์หนังสือจังหวัดอุบลราชธานีหน่วยงานต่างๆเข้าไปสนับสนุนทั้งหน่วยงานระดับท้องถิ่น/ระดับปฏิบัติการ/หน่วยงานทางวิชาการ

2562 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ฯ เสด็จทรงงานถ่ายแบบโดยใช้สถานที่ผาชัน สามพันโบก  HRH Princess Sirivannavari Nariratana