วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ทรงเปิดมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

๒๕ มิถุนายน  ๒๕๓๖ หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าเป็นวันสำคัญของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 

ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๓๖  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รุ่นที่ ๑ และ ๒  (ปริญญาทรงคุณค่า) (พระพุทธนวราชบพิตร และ พิธีพระราชทานปริญญาบัตร)







พิธีเปิดมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ยี่สิบห้า เดือนหก ยกขึ้นมา
เพื่อวันทา พาสู่ รู้กันไว้
พระเทพองค์ ทรงเปิด เกิดสิ่งใหม่
หล่อมจิตใจ ไว้ก่อ มออุบลฯ

องค์พระเทพ สุดล้ำ นำปัญญา
พวกเรามา พาเติม เสริมเบื้องบน
นำสติ ริเริ่ม เพิ่มจิตตน
มออุบล คนดี ศรีแผ่นดิน
========= 0 =========

วันที่ยี่สิบห้า มิถุนาปีสามหก
พวกเราเหล่าพสก มาน้อมนบองค์ฟ้าหญิง

ทรงเปิดมออุบลฯ เราทุกคนสุขใจยิ่ง
ขอพระองค์เป็นมิ่ง เจริญยิ่งพลานามัย

มออุบลเจริญหน้า ชาวประชาล้วนสุขใจ
มออุบลต้องก้าวไกล น้อมด้วยใจถวายพระพร

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า
มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ภาควิชาคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ประธานสถานศึกษา ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร
อดีตประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ ม.อุบลราชธานี จำกัด (พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๕๖)
อดีตรองอธิการบดี ม.อุบลราชธานี (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๕)

อ้างอิง

Facebook  
พิธีเปิดมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ๑ 
พิธีเปิดมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ๒

YouTube 
พิธีเปิดมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 


วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ปริญญาที่ทรงคุณค่า

"ปริญญา" เป็นสิ่งที่ได้จากมาความอดทนอุตสาหะบากบั่นขยันหมั่นเพียรเมื่อครั้งใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ผู้เขียนเชื่อว่าหลายๆ ท่านมีความภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ผ่านประสบการณ์ดังกล่าวมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร  ซึ่งผู้เขียนโชคดีที่ผ่านมาได้มีโอกาสเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ สองครั้งด้วยกัน ความรู้สึกดีใจตื่นเต้นปิติอย่างบอกไม่ถูก (สั่น ตัวสั่น) นึกถึงที่ไรก็อดที่จะปลื้มใจไม่ได้ 

        ที่สำคัญคือ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร บัณฑิตทุกคนจะต้องกล่าวคำปฏิญาณตนต่อหน้าพระพักตร์  แน่นอนว่าคำปฏิญาณตนดังกล่าวเป็นสิ่งที่เราบัณฑิตทุกคนจะต้องน้อมนำปฏิบัติตามให้ได้ (แต่บางท่านอาจจะจำได้ บางท่านอาจจะจำไม่ได้ ผู้เขียนเองก็จำไม่ได้ แต่.... สิ่งที่อยู่ในใจเสมอ คือ "จะจงรักภักดีต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" อันนี้ เป็นสิ่งที่บัณฑิตทุกคนทุกท่านจะต้องปฏิบัติตามคำปฏิญาณตน) โดยที่ ซี่ง ปริญญา : [ปะรินยา] น. หมายถึง ความกําหนดรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบ; ชั้นความรู้ขั้นมหาวิทยาลัยซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามที่กําหนดไว้ (อ้างอิง ๑)  

สำหรับ ผู้เขียนเองสิ่งที่หนึ่งที่ดีใจ คือ คุณพ่อของผู้เขียนได้เห็นรูปภาพที่เข้าพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ของในหลวง คุณพ่อมีความสุขอย่างยิ่ง  แน่นอนว่า "ปริญญา" ดังกล่าวนั้นทรงคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ได้รับพระราชทาน และญาติๆ หมู่มิตรสหายเพื่อนฝูง พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ  ดังนั้น ปริญญาที่ทรงคุณค่าดังกล่าวจำเป็นจะต้องทำให้ "มีค่า" ยิ่งๆ ขึ้นไป กล่าวคือ การเป็นคนดี เป็น "บัณฑิต"  ที่ดี  ซึ่งบัณฑิต[บันดิด] น. หมายถึง  ผู้ทรงความรู้ ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ ผู้สําเร็จการศึกษาขั้นปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก (อ้างอิง ๒




กล่าวสำหรับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่ผู้เขียนได้เริ่มทำงานเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๕ และได้มีโอกาสเข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่บัณฑิตรุ่นที่ ๑ และ ๒  



พิธีเปิดมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (อ้างอิง ๓)

ยี่สิบห้า เดือนหก ยกขึ้นมา
เพื่อวันทา พาสู่ รู้กันไว้
พระเทพองค์ ทรงเปิด เกิดสิ่งใหม่
หล่อมจิตใจ ไว้ก่อ มออุบลฯ

องค์พระเทพ สุดล้ำ นำปัญญา
พวกเรามา พาเติม เสริมเบื้องบน
นำสติ ริเริ่ม เพิ่มจิตตน
มออุบล คนดี ศรีแผ่นดิน

==== 0 ====
วันที่ยี่สิบห้า มิถุนาปีสามหก
พวกเราเหล่าพสก มาน้อมนบองค์ฟ้าหญิง

ทรงเปิดมออุบลฯ เราทุกคนสุขใจยิ่ง
ขอพระองค์เป็นมิ่ง เจริญยิ่งพลานามัย

มออุบลเจริญหน้า ชาวประชาล้วนสุขใจ
มออุบลต้องก้าวไกล น้อมด้วยใจถวายพระพ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า
ผศ.ดร.มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ภาควิชาคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 

ประธานสถานศึกษา ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร 
ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ ม.อุบลราชธานี จำกัด (พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๕๖)
อดีตรองอธิการบดี ม.อุบลราชธานี (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๕)

อ้างอิง พิธีเปิด ม.อุบลฯ (อ้างอิง ๔ YouTube



และเมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสทำงานในฐานะรองอธิการบดี (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๕) สิ่งที่หนี่งที่จะต้องเขียนลงสูจิตบัตรพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเป็นสารแสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยข้อมูลต่อไปนี้เป็นข้อมูลเพียงบางส่วน (เท่าที่จะรวบรวมได้)  ทั้งนี้ ผู้เขียนได้รวบรวมไว้เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจสำหรับผู้เขียนเอง และหรือหากบัณฑิตมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจะได้ลองอ่านอีกสักครั้ง หากว่าสิ่งไหนดีก็เลือกนำไปประยุกต์ใช้ปฏิบัติให้เกิดผลดีต่อตัวเอง ต่อสังคม ต่อบ้านเมือง และต่อประเทศชาติประเทศไทยของเรา  












        ทั้งนี้ เมื่อเช้าวันพุธที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๖ (๓/๔/๕๖) มีพิธีเปิด “อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา” โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร ดังกล่าว ซึ่งเป็นสถานที่จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (อ้างอิง พิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา ม.อุบลฯ)  


วันที่สามเมษา พวกเรามารับเสด็จ
อาคารถูกสร้างเสร็จ เฉลิมเจ็ดรอบพรรษา

สร้างเพื่อเจ้าแผ่นดิน นวมินทร์องค์ราชา
มออุบลอาสา เหล่าประชาพร้อมภักดี

ร่วมกันมาเข้าเฝ้า มาพวกเราร่วมยินดี
นับว่าเป็นโชคดี โอกาสดีได้นำพา

ราชกุมารี จรลีเสด็จมา
นับว่าเป็นบุญตา ที่ได้มาเข้าเฝ้าเอย

ผศ.ดร.มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ ม.อุบลราชธานี จำกัด
ประธานสถานศึกษา ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร
อดีตรองอธิการบดี ม.อุบลราชธานี (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๕)
๓ เมษายน ๒๕๕๖



พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย ทรงอ่อนเพลียวรกาย
มออุบลร่วมถวาย ขอทรงหายพระประชวร

พระหัตถ์ซ้ายทรงเจ็บ ทรงเสด็จมิเรรวน 
คนไทยเราทั้งมวล ขอเชิญชวนถวายชัย

ขอทรงยั่งยืนยง ขอพระองค์ทรงแจ่มใส
ทุกแห่งของเมืองไทย มาร่วมใจถวายพร

ผศ.ดร.มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ ม.อุบลราชธานี จำกัด
ประธานสถานศึกษา ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร
อดีตรองอธิการบดี ม.อุบลราชธานี (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๕)
๓ เมษายน ๒๕๕๖


    ครับที่ กล่าวมาข้างต้นผู้เขียนได้นำเรียนเกี่ยวกับ "ปริญญา" ซึ่งบัณฑิตใหม่ทุกท่านไม่ว่าจะเป็นสถาบันใดจะต้องให้ความสำคัญของ "การเป็นบัณฑิต" ที่ดี เพราะว่าบัณฑิตทุกท่านเป็นบัณฑิตที่ดี ย่อมจะส่งผลดีต่อหน่วยงานของบัณฑิตที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ เป็นผลดีต่อสังคมประเทศชาติในทีสุด  เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้วย่อมจะทำให้ปริญญาที่ได้รับพระราชทาน เป็น "ปริญญาที่ทรงคุณค่า" และที่สำคัญบัณฑิตอย่าลืมคำปฏิญาณตนกันนะครับ 





การเป็นบัณฑิตใหม่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงทั้งในประเทศและสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วของโลกา ย่อมทำให้บัณฑิตจะต้องก้าวทันความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  แน่นอนว่า “ความรู้” ที่ได้เรียนมาเมื่อ ๔ ปีที่ผ่านมาอาจจะเก่าหรือไม่สามารถใช้ได้กับยุคปัจจุบันและอนาคต บัณฑิตเองจะต้องทำตัวให้สมกับที่เป็น “บัณฑิต” คือ ผู้มีปัญญา (ไม่ใช่ ผู้มีปัญหา นะครับ)  ผู้มีปัญญา คือ จะต้องเริ่มจากการมี “สติ” คิด อย่างมี “สมาธิ” ในเรื่องงานในเรื่องหน้าที่ของบัณฑิตเพื่อจะได้เกิด “ปัญญา” ในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เข้ามา  ดังนั้น บัณฑิตยุดใหม่จะต้องก้าวทัน (หรือก้าวล่วงหน้า) ต่อ การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ “การปรับเปลี่ยนเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน” หรือ ด้านอื่นๆ ดังนั้น
เป็นบัณฑิตที่ดี จะต้องมีเรื่องความรู้
เคารพในคุณครู พร้อมเชิดชูประเทศไทย

บัณฑิต ม.อุบลฯ สู้อดทนด้วยหัวใจ
เรียนรู้ในสิ่งใหม่ พร้อมก้าวไกลในวิชา 

การเรียนไม่หยุดนิ่ง ไม่ประวิงเสียเวลา
บัณฑิตทรงคุณค่า ต้องเสาะหารู้เพิ่มเติม

ขอแสดงความยินดี ขอให้มีสิ่งดีเสริม
สิ่งใดที่เหมือนเดิม ขอให้เริ่มดียิ่งเอย


มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์
๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ 

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ อุบลราชธานี



แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ  อุบลราชธานี 

**************
แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ 
ต้องประกาศให้โลกรู้
อุบลต้องเชิดชู  
ช่วยแลดูประชาสัมพันธ์

สถานที่ที่งดงาม 
เลื่องลือนามต่างโจษจัน
มาเที่ยวจะสุขสันต์ 
ชวนมากันพาชื่นชม

ผานางคอยเสาเฉลียง 
ถูกจัดเรียงอย่างน่าชม
ที่นี่คนนิยม 
ได้มาชมต่างสุขใจ 

ถ้ำมืดปาฏิหาริย์  
ถูกกล่าวขานน่าสนใจ
ผาแต้มผาชะนะได 
สุขฤทัยที่ได้มา

น้ำตกสร้อยสวรรค์ 
เหมือนสวรรค์สรรสร้างมา
น้ำตกที่มีค่า 
หากได้มาชมชื่นใจ

ภูอานม้าภูสะมุย 
ต้องขอคุยว่ายิ่งใหญ่
มาเที่ยวอยู่ไม่ไกล 
ภูสดใสร่มรื่นดี

หินสีประกายแสง 
สีเหลืองแดงมากหลายสี
สามพันโบกต่างรู้ดี 
และของดีสามหมื่นรู

ไดโนเสาร์สถานที่  
ล้วนมากมีแหล่งเรียนรู้
หลายท่านไม่เคยรู้ 
ต้องมาดูอุบลเอย

 ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗

ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก 
กรมทรัพยากรธรณี 
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


















วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา ม.อุบลฯ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ปัจจุบันได้รับพระราชทานนามอาคารว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา" 

อาคารดังกล่าวเริ่มต้นจากเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๔๙ กระผมในฐานะ "รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและสารสนเทศ" ม.อุบลฯ ขณะนั้น ได้เข้าพบเจ้าหน้าที่สำนักงบประมาณ และพูดคุยนำเสนอด้วยวาจา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอยากจะจัดสร้างหอประชุมเพื่อเฉลิมพระเกียรติในหลวงในวาระ ๘๐ พรรษา ในที่สุดสำนักงบประมาณได้แนะนำและให้จัดทำรายละเอียดเหตุผลความจำเป็น ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น

ความเป็นมาของการก่อสร้าง
อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา 






สามารถดูรายละเอียดได้ในรายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ ระเบียบวาระที่ ๔.๔.๑ และ ๔.๔.๒ (Click อ่านได้ครับ)


ทั้งนี้ สำนักงบประมาณให้การสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างดังกล่าว ดังนี้ 

ที่มา http://www.bb.go.th/budget_book/book2551/pdf/vol8_2.pdf

พิธิวางศิลาฤกษ์  (Click ดูได้เลยครับ จาก YouTube)







และต่อมาเมื่อเช้าวันพุธที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๖ (๓/๔/๕๖) ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) ในพิธีเปิด “อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา” ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร กระผมได้เข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล ตามพระราชอัธยาศัย

วันที่สามเมษา 
พวกเรามารับเสด็จ
อาคารถูกสร้างเสร็จ 
เฉลิมเจ็ดรอบพรรษา

สร้างเพื่อเจ้าแผ่นดิน 
นวมินทร์องค์ราชา
มออุบลอาสา 
เหล่าประชาพร้อมภักดี

ร่วมกันมาเข้าเฝ้า 
มาพวกเราร่วมยินดี
นับว่าเป็นโชคดี 
โอกาสดีได้นำพา

ราชกุมารี 
จรลีเสด็จมา
นับว่าเป็นบุญตา 
ที่ได้มาเข้าเฝ้าเอย

อจต.
ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ ม.อุบลราชธานี จำกัด
ประธานสถานศึกษา ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร
อดีตรองอธิการบดี ม.อุบลราชธานี (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๕) 







"อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา"

อาคารเพื่อราชา 
เฉลิมพรรษาองค์ราชัน
ถูกสร้างอย่างสร้างสรรค์ 
พร้อมครบครันถวายไท้

เทิดพระเกียรติในหลวง 
เราทั้งปวงรวมจิตใจ
รวมกันถวายชัย 
น้อมดวงใจเพื่อพระองค์

สร้างเฉลิมเจ็ดรอบ 
ถวายมอบพระประสงค์
อาคารยั่งยืนยง 
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

อจต.
อดีตรองอธิการบดี ม.อุบลราชธานี (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๕) 
อดีตประธานตรวจการจ้างโครงการก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา (ช่วงที่ ๑)


และรูปภาพเกี่ยวกับอาคารดังกล่าวเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๖  (Click ดูภาพได้เลยครับผม)






วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วัฒนธรรมดีๆ ณ หนองบ่อ อุบลราชธานี

ชื่อเรื่องเกี่ยวกับ "วัฒนธรรมธรรม"  ซึ่งท่าน ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเวศ วสี (ประเวศ วสี. (2553). ระบบการศึกษา ที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน. ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา  มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.)  ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมไว้ว่า 

" วิถีชีวิตร่วมกันของกลุ่มชนที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมหนึ่งๆ เพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยสันติ ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และ ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม"  






กล่าวสำหรับ "หนองบ่อ" เป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมเกี่ยวกับเรื่องของผ้าทอมือ ซึ่งผู้อ่านสามารถที่อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวได้ที่ (Click ดูได้เลยครับ) 




ทั้งนี้ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๗ ชุมชนหนองบ่อได้มีกิจกรรมที่เกี่ยวกับผ้าทอ โดยมีสถาบันอุดมศึกษาทั้ง ม.ราชภัฏอุบลราชธานี และ ม.อุบลราชธานี ได้ร่วมกันในการดำเนินการสิ่งดีๆ สำหรับวัฒนธรรมอันดีงามของชาวหนองบ่อ ดังรูปภาพต่อไปนี้ 
































ภาพนี้ แถวนั่ง ซ้ายมือ คือ นายก อบต. หนองบ่อ ขวามือท่านสุรพล สายพันธ์ (อดีดผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี) 


เรื่อง "วัฒนธรรม" เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายจะต้องมาร่วมมือร่วมใจให้สิ่งที่ดีงามของจังหวัดอุบลราชธานีได้สืบทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "วัฒนธรรมของหนองบ่อ" ซึ่งนอกจากจะมีวัฒนธรรมเกี่ยวกับการแต่งกาย (ผ้าทอ) แล้ว ยังมี วัฒนธรรมเกี่ยวกับการฟ้อนกลองตุ้ม ด้วย 

ดังนั้น หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าภาครัฐและภาคเอกชน สามารถที่ร่วมกันสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามดังกล่าวได้ เช่น 

ภาคเอกชนอาจจะสนใจทำเรื่องป้ายบอกเส้นทางไป "หนองบ่อ" ภายใต้โครงการ "ถนนสีเขียวสู่วัฒนธรรมที่ดีงาม" 

ภาครัฐ (เช่น ม.อุบลฯ และ ม.ราชภัฏอุบลฯ) ร่วมกันยกระดับการสืบสานวัฒนธรรมดังกล่าว โดยอาจจะนำเสนอเป็นโครงการอนุรักษ์ "วัฒนธรรมผ้าทออุบลราชธานี" สู่ระดับสากล UNESCO 

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนขอกระตุ้นชาวอุบลราชธานีได้ลุกขึ้นมาช่วยกันอนุรักษ์ "วัฒนธรรมที่ดีงามของอุบลราชธานี" เพื่อให้ลูกหลานของเราในอนาคตได้รู้จักความงดงามดังกล่าว 

หนองบ่อมีของดี ไม่กี่ที่ในอุบลฯ
หลายคนอาจไม่สน ว่าอุบลฯ ดีเหมือนกัน

หนองบ่อน่าติดตาม สิ่งงดงามที่สร้างสรรค์
เป็นสิ่งมหัศจรรย์ ถูกเสกสรรน่าสนใจ

หนองบ่อของเก่าแก่ มาดูแลเอาใจใส่
ของดีที่ยิ่งใหญ่ มารวมใจช่วยรักษา

หนองบ่อจะยืนยง จะดำรงทรงคุณค่า
พวกเราช่วยอาสา เสริมมูลค่าในผ้าทอ

หนองบ่อน่าชื่นชม น่านิยมน่าเยินยอ

ช่วยกันสืบสานต่อ มาหนองบ่อช่วยเหลือเอย

๘ สิงหาคม ๒๕๕๗


เข้าเฝ้าฯ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๗ 
==== เข้าเฝ้าร่วมถวาย ผ้าทอมือ หนองบ่อ อุบลราชธานี ====
เข้าเฝ้าร่วมถวาย ใจและกายร่วมภักดี
ผ้าทอเป็นของดี ราชธานีเมืองอุบล

หนองบ่อผ้าทอมือ ต่างเล่าลือผ้าน่ายล
ผ้าโบราณน่าสน หลายผู้คนสนฤทัย

ปีนี้ได้เข้าเฝ้า พร้อมน้อมเกล้าด้วยหัวใจ
ส่งเสริมผ้าของไทย อนุรักษ์ไทยให้มั่นคง

ของเก่าที่มีค่า ต้องนำพาให้ดำรง
ร่วมกันรณรงค์ ให้ยืนยงผ้าโบราณ

อุบลร่วมส่งเสริม ต้องริเริ่มร่วมประสาน
ถวายผ้าเพื่อสืบสาน ถวายงานแด่พระองค์

ร่วมช่วยชาวหนองบ่อ ยกเยินยอตามประสงค์
น้อมเกล้าเพื่อพระองค์ ขอจงทรงพระเจริญ


เกี่ยวกับผ้าหนองบ่อ Click อ่านได้เลยครับ (ผ้าหนองบ่อ)