ในสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยของเราดั่งที่ทราบกันดีว่าพี่น้องชาวไทยของเราในพื้นที่ภาคกลาง ปริมณฑล และ กรุงเทพมหานคร ต่างประสบกับภัยพิบัติทางน้ำที่เรียกว่า "อุทกภัย" ซึ่งเราคนไทยไม่ว่าจะส่วนภูมิภาคใดของประเทศหากเราไม่ได้ผลกระทบดังกล่าวก็สมควรจะต้องให้การช่วยเหลือในทุกด้านตามศักยภาพที่เราจะสามารถจะกระทำได้
จังหวัดอุบลราชธานี มีสถาบันอุดมศึกษาหลักที่ประชาชนต่างคาดหวังว่าจะมีส่วนช่วยเหลือในภัยพิบัติดังกล่าว ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเมื่อวันอังคารที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ได้เห็นชอบในหลักการสนับสนุนการดำเนินงานของ “เครือข่ายอีสานใต้ จัดการรับมือภัยพิบัติ (คจภ.) South Isan Networks for Coping Disaster (SINCD)” ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของภาครัฐ ภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และอื่นๆ ที่เน้นการทำงานด้วยจิตอาสา โดย คจภ. ประกอบด้วย
(1) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
(2) ศูนย์จัดการความรู้รับมิอภัยพิบัติ (ศจภ.) ตั้งอยู่สำนักงานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ชั้น 6
(3) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
(4) โครงการอุบล-วาริน โมเดล
(5) มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการแบ่งปัน (SHARE) อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
(6) ลนิธิขวัญชุมชน จ.สุรินทร์
(7) เครือข่ายชุมชนฮักน้ำของ
(8) ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเยาวชน
(9) เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง อุบลราชธานี
(10)ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยและพัฒนาชุมชน อุบลราชธานี
(11)โครงการบ้านมั่นคง จ.อุบลราชธานี
(12)ชมรมนักศึกษาข้าวเหนียวปั้นน้อย ม.อุบลฯ
(13)ชมรมนักศึกษาเพื่อนวันสุข ม.อุบลฯ
(14)เครือข่ายโรงเรียนยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่มที่ 1 (บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี มุกดาหาร และ นครพนม)
(15)อื่นๆ เครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่น โทรทัศน์ท้องถิ่น นักข่าวพลเมืองสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ฯลฯ
ผู้เขียนคิดว่าการดำเนินงานของ คจภ. จะสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่ว่า "สร้างสรรค์ สามัคคี สำนึกดีต่อสังคม" โดย คจภ. จะพยายามการระดมความคิดเห็นของทุกภาคส่วน ระดมการช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนให้เป็นระบบ มีผู้รับผิดชอบประสานงาน มีการตรวจสอบได้ และเป็นที่น่าดีใจว่าเหล่าอาสาสมัครในเบื้องต้นได้ประชุมกันเมื่อบ่ายวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปดังนี้
ที่
|
ภาระงาน
|
ขอบเขต
|
ผู้รับผิดชอบ
|
1. โครงการระยะสั้นการระดมของช่วยเหลือ
| |||
(1)
|
ศูนย์รับบริจาค
|
จุดรับบริจาคหลักคณะศิลปศาสตร์
|
ผศ.ดร.บุญสฤษฏ์ คณะศิลปศาสตร์ 081-6804679
|
จัดรับบริจาคย่อย สสจ.อุบลฯ ฯลฯ
| |||
ต้องรับสมัครจุดรับบริจาคเพิ่ม
| |||
(2)
|
ศูนย์ลำเลี้ยง
|
ประสานการส่งของบริจาคไปยัง จุดกระจายของ 5 จุด
|
หน. ยานพาหนะ
หน.โครงการจัดตั้งกองบริหารกายภาพฯ ม.อุบลฯ 080-4821491
|
(3)
|
ศูนย์ประชาสัมพันธ์
|
นำเสนอเรื่องราว ศักยภาพ และความเคลื่อนไหว ฯลฯ ทั้งสื่อสาธารณะ ท้องถิ่นและระดับชาติ
|
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ม.อุบลฯ
คำปิ่น อักษร นักข่าวพลเมือง TPBS 089-6277205 และ นศ.IT คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ
|
(4)
|
ศูนย์ข้อมูล
|
ข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง Update สถานการณ์
|
อ.ธวัช มณีผ่อง คณะศิลปศาสตร์
|
(5)
|
การเงิน
|
การรับเงินบริจาค ยอดเงิน รายการใช้จ่ายหลักฐานการบริจาค และการใช้เงิน
|
กองคลัง ม.อุบลฯ
|
(6)
|
งานประสานเครือข่าย
|
ปีสานส่วนต่างๆ เครือข่ายอื่นๆ ที่ให้ความช่วยเหลือใกล้เคียง เพื่อเชื่อมงานและข้าวของ ไม่เกิดความซ้ำซ้อน และการรวมตัวกันเป็นหน่วยเดียวจะมีพลังมากขึ้น ในการทำงาน
|
ม.อุบลฯ
|
ที่
|
ภาระงาน
|
ขอบเขต
|
ผู้รับผิดชอบ
|
2. โครงการเสริมพลังเครือข่ายเพื่อผู้ประสบภัย
| |||
(1)
|
โครงการผักพื้นบ้านฟื้นประเทศไทย
|
แนวคิด คือ การเพาะกล้าพันธุ์ผัก ที่ใช้รับประทานในครัวเรือน อาทิ พริกโหระพา ข่า ขิง ตะไคร้ ฯลฯ อันจำเป็นในชีวิตประจำวัน เพื่อสนับสนุนชุมชนทั้งในภาคกลางและภูมิภาค หลังภัยพิบัติ เพื่อลดค่าใช้จ่าย
|
คณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลฯ
คณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลฯ ชุมชนอโศก และ โครงการอุบล-วารินโมเดล
|
รณรงค์ ให้ เครือข่ายชุมชน หน่วยงานราชการ อปท. และประชาชนทั่วไป ปลูกกล้าพันธุ์ เพื่อจำเป็น ตั้งแต่ปัจจุบัน เพื่อพร้อมบริจาคในเวลาหลังน้ำลด ในพื้นที่ภัยพิบัติ
| |||
(2)
|
โครงการเรือเพื่อผู้ประสบภัย
|
อบรมการทำเรือ และกระจายความช่วยเหลือ
|
บริษัท Ubon Fiber Glass และโครงการอุบล-วาริน โมเดล
|
(3)
|
โครงการ EM ball
|
จัดหาวัตถุดิบ หรือเชื่อมกับผู้ผลิตรายอื่น
|
อ.ปวีณา วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และการสาธารณสุข ม.อุบลฯ
สวท.อุบลฯ
งานกิจการ นศ. ม.อุบลฯ
|
ประชาสัมพันธ์ นศ. และประชาชนมาร่วมปั้น
| |||
(4)
|
โครงการสนับสนุนยา
|
ยา 4 ตำรับ ในการป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม
|
คณะเภสัชฯ และ โครงการอุบล-วาริน โมเดล
|
ของรับการสนับสนุนจาก อภัยภูเบศว์
| |||
(5)
|
โครงการข้าวปลาอาหาร จากลำมูน และ แม่โขง สู่ เจ้าพระยา
|
ระดมการบริจาคข้าวสาร ปลาแห้ง อาหารแห้ง จาก เครือข่ายชุมชน ชาวประมง จากลุ่มน้ำมูนและ ลุ่มน้ำโขง “เปิดโลกผู้ร่วมทุกข์ จากน้ำ และการจัดการน้ำ”
|
คปสม.อุบลฯ
และ โครงการอุบล-วาริน โมเดล
|
(6)
|
โครงการขวดใช้ซ้ำ
|
รณรงค์ ขวดพลาสติกใส เพื่อนำมาสร้างประโยชน์ อาทิ ใส่น้ำ ปลุกกล้าพันธุ์ผัก ฯลฯ
|
ชมรม นศ. ข้าวเหนียวปั้นน้อย และ ชมรม เพื่อนวันสุข
|
ที่
|
ภาระงาน
|
ขอบเขต
|
ผู้รับผิดชอบ
|
(7)
|
โครงการผลิตงานศิลปะเพื่อช่วยภัยพิบัติ
|
ผลิตงานศิลปะเพื่อจำหน่าย ระดมทุน
|
ดร.กัญญา จึงวิมุติพันธ์ คณะศิลปประยุกต์ฯ ม.อุบลฯ
|
(8)
|
โครงการที่ระลึกวันมหิดล สู่ ผู้ประสบภัย
|
จำหน่ายของที่ระลึกวันมหิดล เพื่อระดมทุน
|
วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และการสาธารณสุข ม.อุบลฯ
|
3. โครงการงานฟื้นฟูหลังน้ำลด
| |||
(1)
|
ด้านสุขภาพ
|
วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และการสาธารณสุข ม.อุบลฯ
| |
(2)
|
ด้านเกษตร
|
คณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลฯ
| |
(3)
|
ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย
|
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อุบลฯ
|
สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เขียนได้ต้อนรับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (ท่านสุรพล สายพันธ์) เมื่อเช้าวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ในโครงการรับมอบจักรยานจากผู้อำนวยการสำนึกรักบ้านเกิด (DTAC) และได้ทราบจากท่านผู้ว่าฯ ว่าสถานการณ์ระดับแม่น้ำมูลนั้นเริ่มจะทรงตัวและลดลง ทั้งนี้ จังหวัดอุบลราชธานีได้ดำเนินการสูบน้ำที่แก่งสะพือให้ไหลสู่แม่น้ำโขงให้เร็วขึ้น เนื่องจากที่แก่งตะนะนั้นการไหลของน้ำค่อนข้างจะเร็วการไปสูบ ณ แก่งตะนะ จะไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด นอกจากนั้น ยังมีการสูบน้ำจากลำน้ำมูลเข้าสู่พื้นที่นาที่ทำการเก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้วพร้อมทั้งนำน้ำจากลำน้ำมูลไปสู่พื้นที่ที่เป็นหนองน้ำตามลำน้ำมูลเพื่อใช้ในฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึง ดังนั้น จึงทำให้สถานการณ์อุทุกภัยลำน้ำมูลของจังหวัดอุบลราชธานีจะไม่รุนแรงมาก และเช่นเดียวกัน ท่านผู้ว่าฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้จังหวัดอุบลราชธานีช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในเขตตลิ่งชัน (ผู้เขียนเข้าใจว่ารัฐบาลคงจะมอบหมายให้จังหวัดต่างๆ ที่ไม่ได้รับผลกระทบอุทกภัยรุนแรงช่วยเหลือเขตต่างๆ ในกรุงเทพมหานครซึ่งมีจำนวน ๕๐ เขต) และก่อนที่ท่านผู้ว่าฯ จะกลับได้นำเรียนถึงเรื่อง "คจภ" ซึ่งท่านให้ความกรุณาและยินดีที่จะลงนามในประกาศของจังหวัดอุบลราชธานี ในการแต่งตั้งคณะกรรมการ คจภ. เพื่อเป็นระดมสัพกำลังด้านต่างๆ ในช่วยเหลือเพื่อนๆ คนไทยที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติเท่าที่เราจะทำได้โดยเน้นการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนต่างๆ โดยในเรื่องนี้เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ก็เป็นที่น่าดีใจที่ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (รศ.ดร.นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข) ได้เห็นชอบในหลักการสำหรับการเปลี่ยนโครงสร้างกองกลาง (สำนักงานอธิการบดี) ที่ให้เพิ่มเติมจากเดิม "งานประชาสัมพันธ์" เป็น "งานประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์" อันจะทำให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจะต้องให้ความสำคัญกับงานชุมชนสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในทุกระดับ
สำหรับภัยพิบัตินั้นเป็นสิ่งที่เราทุกคนล้วนไม่ต้องการพบเจอ หลายๆ ประเทศเจอกับภัยพิบัติด้านแผ่นดินไหว ภัยพิบัติด้านอากาศ (ทั้งร้อนและหนาว) ภัยพิบัติด้านน้ำ (ทั้งน้ำมากและน้ำน้อย) ประเทศไทยของเราเราคนไทยควรจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆ เพราะเป็นเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยภัยพิบัตินั้นเกิดจากธรรมชาติ และธรรมชาตินี้แหละก็เกิดจากการกระทำของมนุษย์ทั้งนั้น เราทำลายป่า เราทำลายธรรมชาติโดยการใช้สารเคมี ด้วยเหตุนี้ คจภ. เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔) ที่ว่า "ภูมิปัญญาแห่งภูมิภาคลุ่มน้ำโขง" โดยภูมิปัญญาดังกล่าวจะต้องเกิดจากการเรียนรู้ทั้งที่มาจากผู้รู้ผู้มีภูมิปัญญาของชุมชนที่มีอยู่แล้ว จากคนโบร่ำโบราณมีภูมิปัญญาที่อยู่กับธรรมชาติต่อสู้กับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
ดังนั้น หากเมื่อเกิดภัยพิบัติไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตามแต่ แล้ว ม.อุบลฯ ควรจะต้องดึงเอาอัตลักษณ์ของนักศึกษา และเอกลักษณ์ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกำหนดไว้ออกมาช่วยเหลือชุมชนสังคม ทั้งนี้ ผู้บริหาร (ทุกระดับ) อาจารย์ คณาจารย์ บุคลากรและเจ้าหน้าที่ ควรจะต้องทำเป็นตัวอย่างให้กับนักศึกษาเพื่อที่จะให้นักศึกษาเป็นผู้มีส่วนร่วมกับในการช่วยเหลือชุมชนสังคม สมกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่ว่า "เป็นสติและปัญญาแก่สังคม บนพื้นฐานความพอเพียง" และหาก ม.อุบลฯ สามารถทำให้อัตลักษณ์และเอกลักษณ์เป็นจริงได้ โดยหากนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีประมาณ ๑๘,๐๐๐ คน ศิษย์เก่าอีกประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน และ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีประมาณ ๑,๖๐๐ คน ลงมือปฏิบัติลองดู เราจะสามารถต่อสู้กับภัยพิบัติต่างๆ ได้อย่างแน่นอนครับ
นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ต้องการเป็นอาสาสมัคร เชิญเข้าไปที่ คจภ.
Facebook : เครือข่ายอีสานใต้ จัดการรับมือภัยพิบัติ
หรือ Facebook : ubon flood
หรือ ติดต่องานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี (หลังเก่า) ชั้น ๑